พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 ธันวาคม 2557 - 25 ธันวาคม 2557

ข่าวทั่วไป Friday December 19, 2014 16:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 ธันวาคม 2557 - 25 ธันวาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-6 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส

  • สำหรับสภาพอากาศที่หนาวเย็นในระยะนี้ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและอาจมีน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดิน
  • ระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือน และไม่ควรปล่อยให้ลมหนาวโกรกบริเวณโรงเรือน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะสัตว์ที่ไม่แข็งแรงอาจเจ็บป่วยและ ตายได้
  • เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายเสียหาย เนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. อากาศหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ รวมทั้งควรลดอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิน้ำที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ ในโรงเรือนควรเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือน โดยนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปวางไว้ในบริเวณโรงเรือน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนและอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลง หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิต โดยสิ้นเชิง
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • พื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงนี้ บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนเกษตรกรควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นซัดฝั่งด้วย อนึ่งในช่วงวันที่ 17-19 ธันวาคม 2557 เรือเล็กตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค.จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • พื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงนี้ บริเวณทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ