พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 กันยายน 2558 - 10 กันยายน 2558

ข่าวทั่วไป Friday September 4, 2015 15:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กันยายน 2558 - 10 กันยายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ความชื้นในดินและในอากาศเพิ่มขึ้น ชาวสวนไม้ผล ควรตัดแต่งกิ่ง ให้มีทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. จะมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป จากสภาวะฝนตกหนักอาจทำให้เกิดความเสียหาย กับพืชผลทางการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตราย จากสภาวะดังกล่าว และควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เมื่อต้องเดินลุยน้ำ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • ส่วนผู้ที่เลี่ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย.จะมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืช แต่จะทำให้วัชพืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรควรสำรวจแปลงปลูกและกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืช รวมทั้งควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรในระยะต่อไป
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หากโรงเรือนอับชื้น จะทำให้สัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-ในช่วงนี้มีฝนตกติดต่อกันทำให้อากาศมีความชื้นสูงไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งที่ฉีกขาดและมีโรคหรือแมลงทำลายทิ้ง นอกจากนี้ควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชผัก หากพบหนอนเข้าทำลายควรรีบป้องกันกำจัด

  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. จะมีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4- 5 ก.ย. และ 9-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 6 - 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมแก่พืช เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงได้
  • นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและพืชผักซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหาย และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะและกัดกินผล ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4 - 5 ก.ย. และ 9-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 8 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมแก่พืช เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงได้
  • นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและพืชผักซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหาย และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะและกัดกินผล ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ