พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 กันยายน 2558 - 06 ตุลาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday September 30, 2015 15:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 กันยายน 2558 - 06 ตุลาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชุ่มชื้นข้าวนาปีที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูข้าวจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ที่จะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหาย โดยเฉพาะในแปลงนาที่ปลูกข้าวหนาแน่น

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ในช่วงวันที่ 5 – 6 ต.ค. จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ตลอดจนข้าวนาปี เป็นต้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ส่วนปริเวณที่มีน้ำขังเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยโดยเฉพาะในโคและกระบือ

ในช่วงวันที่ 5 – 6 ต.ค. จะมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ระยะนี้ยังมีฝนตกต่อเนื่องพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ฝนที่ตกจะทำให้น้ำแยกชั้นระหว่างผิวน้ำกับน้ำในระดับที่ลึกลงไป เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน

สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และไม้ผลในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายกับพื้นที่การเกษตร โดยจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียกองอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

อนึ่งในช่วงวันที่ 5 – 6 ต.ค. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายกับพื้นที่การเกษตร โดยจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียกองอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

อนึ่งในช่วงวันที่ 5 – 6 ต.ค. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ