พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 พฤษภาคม 2559 - 02 มิถุนายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday May 27, 2016 16:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 พฤษภาคม 2559 - 02 มิถุนายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ค. – 2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน สภาพอากาศจะแปรปรวนโดยมีอากาศร้อนกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลและผลแก่ เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง และลำไย เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบผลที่ เน่าเสีย หรือมีศัตรูพืชทำลายควรรีบปลิดออก ไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจน เปลือกผลไม้ กองอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัด โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและดินมีความชื้นเพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรสามารถลงมือปลูกพืชได้ แต่ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย เนื่องจากในระยะปลายเดือนหน้าอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ และพืชผัก ในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป และหากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกอาจทำให้น้ำในชั้นบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และการเปิดเครื่องตีน้ำจะเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ป้องกันสัตว์น้ำขาดอากาศ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 30 พ.ค. – 2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากน่าโคนเน่าในไม้ผล
  • สำหรับในช่วงฤดูฝน ผู้ที่ปลูกส้มโอควรดูแลสวนให้โปร่งอากาสถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ โรคใบแก้ว และโรคราสีชมพู เป็นต้น หากพบควรตัดส่วนที่เป็นโรคไปทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-29 พ.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 30 พ.ค. – 2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. – 2 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูฝน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงเป็นบางช่วงซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เช่น เงาะ และทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสีย ตลอดจนเปลือกผลไม้ กองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดโดยเผาหรือฝังดินให้ลึก เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. – 2มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกฉียงใต้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงทำให้มีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉลับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู ในยางพารา โรคใบจุดสนิมในกาแฟเป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. – 2 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกฉียงใต้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงทำให้มีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉลับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู ในยางพารา โรคใบจุดสนิมในกาแฟเป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ