พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 มิถุนายน 2559 - 28 มิถุนายน 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday June 22, 2016 14:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 มิถุนายน 2559 - 28 มิถุนายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ลิ้นจี่ (เก็บเกี่ยวแล้ว) : ใบจุดสนิม
  • ลำไย (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) : มวนลำไย แมลงค่อมทอง
  • ผักตระกูลกะหล่ำ : โรคเน่าดำ หนอน ใยผัก หมั่นสำรวจหากพบนำไปทำลาย
  • กาแฟ: โรคราสนิม โรครากขาว และ โ รคใบจุด (ต้นอ่อน)
  • สัตว์ปีก : ดูแลโรงเรือนให้โปร่ง เพื่อลด ความชื้นป้องกันสัตว์ป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี (ด้านตะวันออกของภาค) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • มะขามหวาน (ติดฝัก) : หนอนเจาะฝัก โรคราสีชมพู โรคราแป้ง
  • ผักตระกูลพริก – มะเขือ : โรครากเน่า- โคนเน่า หนอนเจาะผล
  • สัตว์เท้ากีบ : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควร ปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ส้มโอ :โรครากเน่า โรคแคงเกอร์ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว
  • ข้าวนาปี : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • องุ่น : หนอนกระทู้หอม โรคราสนิม
  • กล้วยไม้ : โรคราสนิม โรคยอดเน่า
  • พืชผักชนิดต่างๆ : หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 24-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส

  • สับปะรด : โรคยอดเน่า,โรคต้นเน่า
  • พริกไทย : โรครากเน่า
  • สละ : โรคผลเน่า โรคใบจุด
  • ไม้ผล (เงาะ มังคุด ทุเรียนและลองกอง ที่เก็บเกี่ยวแล้ว) : ตัดแต่งกิ่ง ลดความชื้นภายในสวน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เก็บผลที่ร่วงหล่น ตามโคนต้นไปทำลายนอกสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากในช่วงวันที่ 25-28 มิ.ย. ในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 24-28 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • ทุเรียน (ผลเจริญ เติบโต) : หนอนเจาะผล รากเน่าโคนเน่า ดูแลสวนให้โปร่งลดความชื้นภายในสวน
  • เงาะ (ผลเจริญเติบโต) : โรคราแป้ง หนอนเจาะขั้วผล
  • ลองกอง : หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือก
  • มังคุด : ผลแตกเนื้อแก้วและยางไหล
  • ยางพารา : โรครากขาวโรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ : โรคราสนิม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ทุเรียน (ผลเจริญ เติบโต) : หนอนเจาะผล รากเน่าโคนเน่า ดูแลสวนให้โปร่งลดความชื้นภายในสวน
  • เงาะ (ผลเจริญเติบโต) : โรคราแป้ง หนอนเจาะขั้วผล
  • ลองกอง : หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือก
  • มังคุด : ผลแตกเนื้อแก้วและยางไหล
  • ยางพารา : โรครากขาวโรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ : โรคราสนิม

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนมิถุนายน ฝนที่ตกสะสมในเดือนนี้ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนภาคกลางตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันออก ยังคงมีฝนน้อย

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกส่วนมากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณการระเหยของน้ำมาก โดยบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำจากดินและพืชมากกว่าบริเวณอื่น โดยมีค่าอยู่ในช่วง 30-35 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าปริมาณน้ำที่ระเหยจากดินและการคายน้ำของพืช ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก โดยจะมีสมดุลน้ำสะสมสูงสุดบริเวณจังหวัดเชียงราย กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ตราด และพังงา

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก แต่ในบางพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัด ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ลพบุรี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาและปัตตานี มีฝนน้อย ส่วนในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่กำลังเจริญเติบโต แต่ในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักในช่วง 7 วันที่ผ่านมา เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและปรับปรุงระบบระบายน้ำให้ใช้การได้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชบางชนิดที่มักเข้าทำลายพืชในช่วงที่พื้นดินมีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ