พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 กันยายน 2559 - 04 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday September 28, 2016 13:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 กันยายน 2559 - 04 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. -4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ฝนตกต่อเนื่อง : พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศหายใจ เน่า และตายได้
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง: ควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดและโรคสนิม ในกวางตุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร แพะ และแกะ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ฝนตกต่อเนื่อง : พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศหายใจ เน่า และตายได้
  • ข้าว สภาพอากาศชื้น : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคไหม้ และหนอนกระทู้คอรวง
  • สัตว์น้ำ(ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรคและเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง เป็นต้น
  • ไม้ผล สภาพอากาศชื้น : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในพืชตระกูลส้มและโรคแอนแทรกโนสในฝรั่งและมะม่วง เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง (ปลาในกระชัง) ฝนตกต่อเนื่อง : ตะกอนแขวนลอยซึ่งเกิดจากการชะดินของน้ำฝน ซึ่งสร้างปัญหาเกี่ยวกับเหงือกสัตว์น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สัตว์น้ำจะกินอาหารลดลง เครียด อ่อนแอ และตายได้ เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หากปลาโตได้ขนาดควรรีบจับขาย เพื่อลดความเสี่ยง

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ และเพิ่มออกซิเจน
  • ยางพารา ฝนตกต่อเนื่อง :โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • พืชไร่ สภาพอากาศชื้นสูง : ควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรกโนสในมันสำปะหลังและโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง :เกษตรกรระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ
  • ยางพารา ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรค ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือตลอดสัปดาห์ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในระยะ 7 วันข้างหน้า

ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (วันที่ 1 – 27 ก.ย.) ที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมอยู่ระหว่าง 100-300 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนสะสมเกิน 300 มม. สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสม ต่ำกว่า 50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสมอยู่ระหว่าง 10-40 มม. ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณฝนสะสมอยู่ระหว่าง 40-100 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนสะสมเกิน 100 มม. ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ระยะที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ระหว่าง 20-25 มม.เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ระหว่าง 25-35 มม.

สมดุลน้ำ ระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำส่วนใหญ่เป็นบวกอยู่ระหว่าง 10-100 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบอยู่ระหว่าง (-1) - (-30) มม. ส่วนภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำเกิน 100 มม.

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่สมดุลน้ำมีค่าเป็นบวก และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนต่อไปอีก ซึ่งจะเป็นผลดีแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่เกษตรกรควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออก อย่าให้น้ำขังในแปลงปลูกนาน เพราะจะทำ ให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ