พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 พฤศจิกายน 2559 - 07 ธันวาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday November 30, 2016 15:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 พฤศจิกายน 2559 - 06 ธันวาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.- 4 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 1-3 ธ.ค.จะมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 5-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ช่วงนี้มีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในพืชผัก นอกจากนี้ ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ และในช่วงวันที่ 1-3 ธ.ค.บริเวณเทือกเขาและยอดดอย อาจมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สัตว์น้ำ เนื่องจากอากาศจะเย็นลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพราะอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากอากาศจะเย็นลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.- 2 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส กับมี ลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ปลาในกระชัง ช่วงที่อากาศหนาวเย็นจะทำให้อุณหภูมิน้ำลดลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้ปลาน๊อกน้ำตายได้ เกษตรกรควรลดจำนวนปลาลง หากปลาโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายเพื่อลดความเสี่ยง
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภุมิดิน แต่ไม่ควรคลุมให้ชิดโคนต้นพืชเกินไป ป้องกันเชื้อโรคและศัตรูพืชจากวัสดุคลุมดินแพร่ไปสู่ต้นพืช

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.- 3 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่าง ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน ไม่ควรปล่อยให้ลมหนาวโกรกภายในโรงเรือน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.- 3 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม การผลิดอกออกผลลดลง
  • พื้นที่การเกษตร ระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 -6 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร ช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีลงไป จะมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักสะสม
  • สัตว์เลี้ยง ฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกต การเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ และโรคหวัดในสัตว์ปีก หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 1 – 4 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร ช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีลงไป จะมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักสะสม
  • สัตว์เลี้ยง ฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกต การเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ และโรคหวัดในสัตว์ปีก หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน(1-29) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบริเวณจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ปราจีนบุรี จันทบุรีและตราด ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. ส่วนบริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนตกสะสม 100-200 มม. เป็นส่วนใหญ่ และบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสม 200-400มม. ได้แก่ จังหวัดพังงา ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 40 มม.เป็นส่วนใหญ่ บริเวณจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด มีปริมาณฝนสะสมระหว่าง 40-70 มม. บริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนตกสะสม 10-70 มม. เป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสม 70-150 มม. ได้แก่ จังหวัดพังงา นครศรีธรรมราช และพัทลุง

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง (-1)-(-30) ยกเว้นบริเวณจังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราดที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 10-40 มม. สำหรับมีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกส่วนมาก โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 1-70 มม. ยกเว้นบริเวณ ภาคใต้ตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง (-10)-(-20) คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีฝนตกน้อยทำให้สมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนมาก ยกเว้นบริเวณจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ปราจีนบุรี จันทบุรีและตราด และภาคใต้ตอนกลางที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก และในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนไม่มีฝน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและควรระวังการป้องกันการระบาดศัตรพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืชทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ