พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 กุมภาพันธ์ 2560 - 26 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Monday February 20, 2017 14:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 กุมภาพันธ์ 2560 - 26 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-25 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ กับมีฝนบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 25–26 ก.พ.60อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส โดยบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส โดยบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร เนื่องจากในช่วงปลายฤดูหนาว อุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกร ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อแป้องกันการเจ็บป่วย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พืชไร่/ไม้ดอก/พืชผัก ในช่วงนี้บางพื้นที่อาจมีหมอกในตอนเช้า สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สัตว์น้ำ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรรักษาสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 60 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • พื้นที่การเกษตรเนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย ปริมาณน้ำ ระเหยมีมากทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นลบ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต อย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 23-26 ก.พ. 60 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ยางพารา เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกัน อัคคีภัย โดยหลีกเลี่ยงการจุดไฟในพื้นที่เพาะปลูก หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนกลายเป็นอัคคีภัย และควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตรด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • เกษตรตรกร ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • พื้นที่การเกษตรทางตอนบนของภาค ทางตอนบนของภาคปริมาณฝนมีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งไม่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ
  • ยางพารา เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะสวนยางพารา เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร และอาคารบ้านเรือน
  • ไม้ผล สำหรับสวนผลไม้ที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดด สามารถส่องได้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ดินแห้งเร็ว ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 20-24 ก.พ. 60 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • เกษตรตรกร ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • พื้นที่การเกษตรทางตอนบนของภาค ทางตอนบนของภาคปริมาณฝนมีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งไม่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ
  • ยางพารา เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะสวนยางพารา เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร และอาคารบ้านเรือน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ