พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 มีนาคม 2560 - 26 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday March 20, 2017 14:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 มีนาคม 2560 - 26 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในวันที่ 26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 16-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • เกษตรกร เนื่องจากอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในตอนกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-สัตว์เลี้ยง สำหรับกสภาพอากาศที่แตกต่างกันมากในช่วงกลางวันและกลางคืน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว หากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ โดยสามารถนำออกมาตากแดดได้ในระยะนี้ เพื่อป้องกันผลผลิตอับชื้นและเน่าเสียในโรงเก็บ
  • ผลผลิตการเกษตร สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้กับพืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • พื้นที่การเกษตร ระยะที่ผ่านมาแม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณยังน้อยกว่าปริมาณน้ำระเหยทำให้ความชื้นในดินมีค่าน้อย เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมี ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

-สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ในระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์นน้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้มีแดดจัดประกอบกับอุณหภูมิอากาศศสูงทำให้อุณหภูมิผิวดินสูง ส่งผลให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อรักษาอุณหภูมิดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • การจัดการน้ำระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และให้น้ำพืชอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้น ก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าในโรงเก็บ

-พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกัน การระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

-พื้นที่การเกษตร เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ และควรลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหยโดยให้น้ำในช่วงเย็น รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • การจักการน้ำ สำหรับทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะประสบสภาวะแล้งก่อนเนื่องจากความชื้นบริเวณผิวดินจะลดลงก่อน
  • ยางพารา เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟ ในแปลงปลูกหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟในพืชต้นอ่อน และเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมและตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 20-21 และ 26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • การจัดการน้ำ สำหรับทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะประสบสภาวะแล้งก่อนเนื่องจากความชื้นบริเวณผิวดินจะลดลงก่อน
  • ยางพารา เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟ ในแปลงปลูกหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟในพืชต้นอ่อน และเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมและตายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ