พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 สิงหาคม 2560 - 17 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday August 11, 2017 15:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 สิงหาคม 2560 - 17 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะแตกกอ ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบไหม้ เป็นต้น หากพบการระบาดของโรคควรรีบกำจัด นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูกเพื่อลดความชื้นและไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช
  • พืชไร่เนื่องจากระยะนี้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในข้าวโพด โรครากเน่าโคนเน่าในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้นโดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และและมีแสงแดดส่องถึงพื้นดิน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรสำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวน และแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พืชไร่เนื่องจากระยะนี้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง และโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีแสงแดดส่องถึงพื้นดิน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส ณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พืชผักระยะนี้จะยังคงมีฝนตก เกษตรกรที่ปลูกผักชนิดต่างๆควรระวังความเสียหายเนื่องจากฝนที่จะตก รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดินและโรคราน้ำค้าง เป็นต้น โดยหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัด
  • สัตว์เลี้ยงเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนสลับกับมีฝนตกจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดโรคระบาดได้ง่าย ซึ่งโรคที่มักระบาดของช่วงฤดูฝน เช่น โรคหวัด โรคคอบวม และโรคปากและเท้าเปื่อย ในสัตว์ประเภทโคและกระบือ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค.จะมีมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • พืชไร่สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่าในสัปปะรด และโรคแอนแทรกโนสในมันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ รวมทั้งควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในแปลงปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผลไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผลไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ