พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 สิงหาคม 2560 - 27 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday August 21, 2017 15:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 21 สิงหาคม 2560 - 27 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-23 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

-ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว โดยเฉพาะลำไย เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน เพื่อเตรียมแตกตาดอกในฤดูต่อไปเมื่อมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและยาวนานเพียงพอในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้

-พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝน วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและปุ๋ยจากต้นพืชที่ปลูก นอกจากนี้ยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-เกษตรกร สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม เช่นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น โดยรับประทานอาหารที่สะอาด และรักษาสุขอนามัย

-ข้าวนาปี พื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อไม่ให้หอยดังกล่าวเข้ามาแพร่พันธุ์ภายในแปลงนาและกัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม และดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการเกษตรให้อยู่ในสภาพดีไม่ชำรุดเสียหาย

-สัตว์เลี้ยง ระยะนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ หลังคาไม่รั่วซึม แผงกันฝนสาดไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้น หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

-ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นพื้นตัว รวมทั้งกำจัด เปลือกและผลไม้ที่เน่าเสียไม่ให้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

-พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นฤดูฝนในบางช่วงอาจมีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเป็นเวลานาน ส่งผลให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

-พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงจะทำให้ปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-ยางพารา สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

-พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงจะทำให้ปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-ยางพารา สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

-ชาวเรือและชาวประมง ในระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ