พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 25 กันยายน 2560 - 01 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday September 25, 2017 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 กันยายน 2560 - 01 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรที่ปลูก พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ทางตอนบนของภาคฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรอย่างเหมาะสมในช่วงแล้ง รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้ทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกชุก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือเป็นต้น อาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย.- 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืช ควรมีน้ำสำรองให้กับพืชในช่วงที่มี ฝนตกน้อย เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอในระยะเจริญเติบโต และช่วงผลิดอกออกผล จะทำให้ผลผลิตลดลง หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ในระยะนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศมีความชื้นสูงในช่วงฤดูฝน หากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 29-30 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 ก.ย.- 1 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ในไม้ผล โรคใบติดในทุรียน เป็นต้น โดยดูแลพื้นที่การเกษตรให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาคโดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29-30 ก.ย. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 27 ก.ย.- 1 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • กาแฟ ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน และควรเก็บกวาดเศษใบและกิ่ง ที่เป็นโรคไปทำลาย ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ชาวเรือและชาวประมง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จ.ระนองขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนตั้งแต่ จ.พังงาลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 ก.ย.- 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • กาแฟ ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน และควรเก็บกวาดเศษใบและกิ่ง ที่เป็นโรคไปทำลาย ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ชาวเรือและชาวประมง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 25-26 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ออกประกาศ 25 กันยายน 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ