พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 02 ตุลาคม 2560 - 08 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday October 2, 2017 15:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 ตุลาคม 2560 - 08 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมหนาวโกรกโรงเรือน ทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็นในช่วงที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ซึ่งจะพัดเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมา
  • เกษตรกร เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของเดือนจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรจึงควรจัดเตรียม วัสดุและอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่นแก่ตนเองเอาไว้ให้พร้อม รวมทั้งดูแลสภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • ข้าวนาปี ระยะนี้บางพื้นที่จะมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้ เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปครึ่งหลังของเดือนหน้าจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • เกษตรกร เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน ในบางพื้นที่อาจมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสภาพโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนทางตอนล่างของภาคจะยังคงมีฝนตก ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เป็นต้น
  • เกษตรกร เนื่องจากระยะต่อไปครึ่งหลังของเดือนหน้าจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมกระโชกแรง บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบน ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมจากมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล ระยะนี้ในบางช่วงจะมีฝนตก ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในสวน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากต้นพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิด เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมจากมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล ระยะนี้ในบางช่วงจะมีฝนตก ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในสวน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากต้นพืชที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิด เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ออกประกาศ 02 ตุลาคม 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ