เอแบคโพลล์: ประมาณการตัวเลขนักเรียน นักศึกษาผู้ใช้ยาเสพติด

ข่าวผลสำรวจ Wednesday December 22, 2010 11:39 —เอแบคโพลล์

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจต่อเนื่องภายใต้

โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย

เรื่องประมาณการตัวเลขนักเรียน นักศึกษาผู้ใช้ยาเสพติด:

จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกใน 76 จังหวัดทั่วประเทศและ ปัญหาอาวุธประจำกายของข้าราชการตำรวจในการต่อสู้กับขบวนการค้ายาเสพติดกรณีศึกษา 612 สถานีตำรวจ ทั่วประเทศ

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้าน การพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เปิดเผยผลวิจัยเชิง สำรวจต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย เรื่อง ประมาณการ ตัวเลขนักเรียน นักศึกษาผู้ใช้ยาเสพติด จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 21,572 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนพฤศจิกายน — 21 ธันวาคม 2553 พบว่านักเรียนนักศึกษาชายมีสัดส่วนของคนที่สูบบุหรี่และดื่มเหล้าสูงกว่านักเรียนนักศึกษาหญิงคือ ร้อยละ 15.8 ต่อร้อยละ 5.1 สูบบุหรี่ ในขณะที่ร้อยละ 33.8 ต่อร้อยละ 27.9 ดื่มเหล้า เมื่อทำการประมาณการจำนวนตัวเลขนักเรียน/นักศึกษาที่ดื่มเหล้าจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนเก้าล้านสองแสนกว่า คนหรือ 9,240,981 คน พบว่ามีนักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปริญญาเอกดื่มเหล้า สามล้าน หกแสนกว่าคนหรือ 3,631,706 คน และจำนวนเด็กนักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปริญญาเอก สูบบุหรี่หนึ่งล้านกว่าคนหรือ 1,090,436 คน แต่ที่น่าเป็นห่วงต่อคุณภาพเด็กและเยาวชนของประเทศคือ จำนวนเด็กนักเรียน/นักศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 5 จนถึงปริญญาเอกที่ใช้ยาเสพติด ไม่นับรวมเหล้าบุหรี่ ยานอนหลับ ไม่นับรวมยาแก้ปวด พบว่า มีนักเรียนนัก ศึกษาที่ใช้ยาเสพติดจำนวน เจ็ดแสนหนึ่งหมื่นกว่าคน หรือ 711,556 คน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกตามประเภท ตัวยาเสพติดที่ใช้กันในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปริญญาเอก พบว่า มีจำนวนสามแสน กว่าคนหรือ 316,110 ใช้กัญชา มีจำนวนเกือบสามแสนเช่นกันคือ 298,480 คน ใช้กระท่อม มีสองแสนหนึ่งหมื่น กว่าคนหรือ 214,020 คน ใช้สารระเหย มีหนึ่งแสนสี่หมื่นกว่าคนหรือ 148,010 คนใช้ยาบ้า มีจำนวนหนึ่งแสน สามหมื่นกว่าคนหรือ 134,480 คนใช้สี่คูณร้อย มีประมาณหนึ่งแสนคนหรือ 100,040 คน ใช้ยาไอซ์ มีจำนวนหก หมื่นกว่าคนหรือ 63,550 คน ใช้ยาอี เอ็กซ์ตาซี ยาเลิฟ และกว่าห้าหมื่นคนหรือ 53,300 คนใช้ยาเค เคตามีน ตามลำดับ ที่เหลืออีกหกหมื่นกว่าคนคือ 65,880 คนใช้ยาเสพติดอื่นๆ เช่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ผลการใช้หลักสถิติวิจัยพบว่า นักเรียน/นักศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่5 จนถึง ปริญญาเอก ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดสูงกว่าเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 9 เท่า หรือ 9.052 เท่า และเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้ามีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดสูงกว่าเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่ไม่ดื่มสูงถึง 4 เท่าหรือ 4.413 เท่า

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ทำการสำรวจกลุ่มข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับ รองผู้กำกับและ สารวัตรหัวหน้าสถานีตำรวจจำนวน 612 แห่งทั่วประเทศ พบว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.0 บอกว่าอาวุธของขบวนการค้ายาเสพติดมีประสิทธิภาพมากกว่า อาวุธประจำกายของตำรวจ ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุว่า อาวุธประจำกายของตำรวจมีประสิทธิภาพมากกว่า ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ถ้าตำรวจประสบเหตุต่อสู้กับขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 34.4 ระบุมีปัญหาประสาน งานล่าช้าจากทหารในการเข้าถึงที่เกิดเหตุ ในขณะที่ร้อยละ 32.6 ระบุมีการประสานงานล่าช้าในการเข้าถึง ที่เกิดเหตุจากฝ่ายปกครอง ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุมีปัญหาประสานงานล่าช้าเข้าถึงที่เกิดเหตุจากทั้งฝ่าย ทหารและฝ่ายปกครอง และร้อยละ 21.9 ไม่คิดเช่นนั้น

สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 ระบุงบประมาณในการปราบปรามขบวน การค้ายาเสพติด รองลงมาคือ ร้อยละ 39.1 ระบุอุปกรณ์การตรวจสารเสพติด อาวุธประจำกาย ร้อยละ 14.9 ระบุความทันสมัยของเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ร้อยละ 13.5 ระบุการเลื่อนขั้น เพิ่มสวัสดิการ รองๆ ลงไปคือ การปรับปรุงกฎหมาย สนับสนุนการปราบปรามยาเสพติดมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วเมื่อประสบ เหตุ และกำลังพลในการปฏิบัติหน้าที่จากฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง ยานพาหนะ ค่าน้ำมัน การอบรมด้านการใช้ อาวุธ ให้ความสำคัญเด็ดขาดกับผู้ค้ายาเสพติด และวางนโยบายหลักในการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด อย่างจริงจัง เป็นต้น

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า “รั้วโรงเรียน” ตามแนวนโยบายของรัฐบาลอาจได้รับความ พึงพอใจตามความรู้สึกของสาธารณชน แต่ในข้อเท็จจริงที่ปรากฏของผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า รั้วโรงเรียนยังมี ปัญหาเพราะปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษายังมีให้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก และการทำงานเชื่อม ประสานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็มีปัญหา มีช่องว่างเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ วัสดุอุปกรณ์ อาวุธ ประจำกายของเจ้าหน้าที่ก็ได้รับการยืนยันจากผู้ปฏิบัติว่าด้อยประสิทธิภาพกว่าอาวุธของขบวนการค้ายาเสพติด การเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงไปถึงมือผู้ใต้บังคับบัญชาต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มข้นว่า พวกเขาที่เสี่ยงภัยในพื้น ที่เหล่านั้นได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ตกค้างในมือของผู้บังคับบัญชาระดับสูง

“ดังนั้น รัฐบาลและกลไกของรัฐในทุกระดับต้องกระชับลดช่องว่างในการปฏิบัติการตามแนวนโยบาย โดยในระยะสั้นน่าจะเร่งสนับสนุนการทำงานเต็มรูปแบบไปยังสถานีตำรวจทุกสถานีให้พร้อมรองรับการร้องเรียน จากสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อ “เคลียร์” ให้จบในระดับพื้นที่ไม่ปล่อยให้ลุกลามปานปลาย เพราะปัญหายาเสพติด มันเกินขอบเขตความสามารถของผู้บริหารสถาบันการศึกษาจะแก้ไขได้เพียงลำพัง สุดท้าย รัฐบาลน่าจะลองพิจารณา ให้การสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานของรัฐอย่างเข้มข้นอีกชั้นหนึ่ง” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 58.1 เป็นชาย ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15 - 20 ปี ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21 - 25 ปี และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 21.2 กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ ในระดับ ปวช. ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี

ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์หรือของมึนเมา จำแนกตามเพศ
    ลำดับที่          ความถี่ในการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์หรือของมึนเมา  เพศชาย        เพศหญิง

ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ

1          ดื่มเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์                            15.8          5.1
2          ดื่มบ้างในบางสัปดาห์/แล้วแต่เทศกาล/เฉพาะเวลาที่มีงานสังสรรค์           33.8          27.9


ตารางที่ 2 แสดงผลประมาณการนักเรียน-นักศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5—ปริญญาเอกที่มีประสบการณ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ประสบการณ์ของนักเรียนนักศึกษาในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์          ผลประมาณการ (คน)
เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์                                         3,631,706
ผลประมาณการจากฐานข้อมูลจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 — ปริญญาเอก จำนวน 9,240,981 คน

ตารางที่ 3  แสดงผลประมาณการนักเรียน-นักศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5—ปริญญาเอกที่มีประสบการณ์เคยสูบบุหรี่
ประสบการณ์ของนักเรียนนักศึกษาในการสูบบุหรี่                       ผลประมาณการ (คน)
เคยดื่มสูบบุหรี่                                                  1,090,436
ผลประมาณการจากฐานข้อมูลจำนวนนักเรียน-นักศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 5 — ปริญญาเอก จำนวน 9,240,981 คน
ตารางที่ 4  แสดงผลประมาณการนักเรียน-นักศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5—ปริญญาเอกที่มีประสบการณ์เคยใช้สิ่งเสพติด

(ไม่นับรวม เหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด และยาแก้ปวด)

ประสบการณ์ของนักเรียน-นักศึกษาที่มีประสบการณ์เคยใช้สิ่งเสพติด                                          ผลประมาณการ (คน)
เคยใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ  (ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สปาย ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด ยาแก้ปวด )       711,556
ผลประมาณการจากฐานข้อมูลจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 — ปริญญาเอก จำนวน 9,240,981 คน

ตารางที่ 5 ผลประมาณการการใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ของนักเรียน-นักศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5—ปริญญาเอก
ลำดับที่      สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ                  ผลประมาณการ

(จำนวน)

1          กัญชา                                316,110
2          กระท่อม                              298,480
3          สารระเหย/ กาว/ แล็ค                  214,020
4          ยาบ้า                                148,010
5          สี่คูณร้อย                              134,480
6          ยาไอซ์                               100,040
7          ยาอี/เอ็กซ์ตาซี /ยาเลิฟ                   63,550
8          ยาเค/เคตามีน                          53,300
9          อื่นๆ อาทิ มอร์ฟีน/ฝิ่น/โคเคน/เฮโรอีน        65,880
ผลประมาณการจากฐานข้อมูลจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 — ปริญญาเอก จำนวน 9,240,981 คน

ตารางที่ 6  แสดงค่าอิทธิพลของการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

ระดับชั้นประถม 5—นักศึกษาระดับปริญญาเอก

ลำดับที่          ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติด
                  ในกลุ่มเด็กและเยาวชน          Odds Ratio   ค่านัยสำคัญ

(95% C I ) p-value

1                     สูบบุหรี่                   9. 052       0.001
                      สูบบุหรี่                    อ้างอิง

ไม่สูบ

2          ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ สปาย
                      ดื่ม                       4.413        .000
                     ไม่ดื่ม                      อ้างอิง

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพระหว่างอาวุธประจำกายของตำรวจในสถานี กับอาวุธของขบวนการค้ายาเสพติด
ลำดับที่                  ความคิดเห็น                            ค่าร้อยละ
1          อาวุธของขบวนการค้ายาเสพติดมีประสิทธิภาพมากกว่า           69.0
2          อาวุธประจำกายของตำรวจในสถานีมีประสิทธิภาพมากกว่า        31.0
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0


ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อปัญหาเรื่องการประสานงานกับทหารและฝ่ายปกครองถ้าหากตำรวจประสบเหตุต่อสู้กับขบวนการค้ายาเสพติด
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                ค่าร้อยละ
1          คิดว่ามีปัญหาเรื่องประสานงานล่าช้ากับฝ่ายทหาร            34.4
2          คิดว่ามีปัญหาเรื่องประสานงานล่าช้ากับฝ่ายปกครอง          32.6
3          คิดว่าล่าช้าทั้งสองฝ่าย                               11.1
4          ไม่คิดเช่นนั้น                                      21.9
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0


ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างตำรวจที่ระบุเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งสนับสนุนการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด                       (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สิ่งที่ต้องการ                                                            ค่าร้อยละ
1          งบประมาณในการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด                                      61.1
2          อุปกรณ์การตรวจสารเสพติด/อาวุธประจำกาย                                          39.1
3          ความทันสมัยของเครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างๆ                                        14.9
4          การเลื่อนขั้น/เพิ่มรางวัล/เพิ่มสวัสดิการ ให้แก่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการปราบปรามยาเสพติด      13.5
5          การปรับปรุงกฎหมาย / แก้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด/ มีบทกฎหมายที่เด็ดขาด 13.3
6          เพิ่มความรวดเร็วเมื่อประสบเหตุและกำลังพลในการปฏิบัติหน้าที่จากฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง         11.0
7          ยานพาหนะ/ ค่าน้ำมันในการปฏิบัติหน้าที่                                               7.8
8          การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อาวุธ /การฝึกอบรมปฏิบัติ /ฝึกฝนกำลังพล                    4.3
9          ให้ความสำคัญในเรื่องการปราบปรามยาเสพติดและตั้งกฎหมายให้เด็ดขาดกับการจัดการกับผู้ค้ายาเสพติด 4.3
10          วางนโยบายหลักในการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดอย่างจริงจัง                         4.1
11          อื่น ๆ อาทิ ให้มีข้อกฎหมายที่ป้องกันเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่ให้มากกว่านี้การแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ระหว่างหน่วยงานทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง เป็นต้น                                                3.0

ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

โทรศัพท์ 0-27191546 - 7 โทรสาร 0-2719-1955

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ