ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำ สถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิด เผยผลสำรวจ เรื่อง ที่สุดแห่งปี 2553 ด้านข่าวและการสวดมนต์ข้ามปี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 17 จังหวัดของ ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ชลบุรี นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,071 ตัวอย่าง โดยดำเนินการวิจัยข้อมูลในช่วง 15 -25 ธันวาคม 2553 พบว่า
ข่าวที่ประชาชนสนใจติดตามมากที่สุดในปี 2553 พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 54.6 ได้แก่ ข่าวการเมือง อันดับที่สองหรือร้อยละ 12.0 ได้แก่ ข่าวน้ำท่วม ภัยธรรมชาติ อันดับที่สามหรือร้อยละ 10.7 ได้แก่ ข่าวยาเสพติดและอาชญากรรม อันดับที่สี่หรือ ร้อยละ 6.4 ได้แก่ ข่าวบันเทิง อันดับที่ห้าหรือร้อยละ 4.4 ได้แก่ ข่าวเศรษฐกิจ รองๆ ลงไปคือ ข่าวกีฬา ข่าวอุบัติเหตุ และอื่นๆ เช่น การปรับขึ้นเงินเดือนข้า ราชการ ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
สำหรับข่าวที่ทำให้ประชาชนสุขใจมากที่สุดแห่งปี 2553 พบว่าอันดับแรกหรือร้อยละ 62.6 ได้แก่ ข่าวแสดงความจงรักภักดี อันดับที่สอง หรือร้อยละ 7.3 ได้แก่ ข่าวดารา ทำกิจกรรมสาธารณะช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและชาวบ้าน อันดับที่สามหรือร้อยละ 4.8 ได้แก่คนไทยช่วยเหลือ กันและกันในช่วงน้ำท่วม อันดับที่สี่หรือร้อยละ 3.8 ได้แก่ นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ช่วยชาวบ้าน อันดับที่ห้าหรือร้อยละ 3.5 ได้แก่ นักกีฬาไทยคว้า เหรียญในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศจีน รองๆ ลงไป คือ เศรษฐกิจ การบริหารงานของรัฐบาล การเมือง การปรับขึ้นเงินเดือน เช่น ข้าราชการ เอกชน ประชาชนทั่วไป
ส่วนข่าวที่ทำให้ประชาชนทุกข์ใจมากที่สุดแห่งปี 2553 พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 40.1 ได้แก่ ข่าวความแตกแยกของคนในชาติ การ จลาจล เผาบ้านเผาเมือง อันดับที่สองหรือร้อยละ 17.2 ได้แก่ ข่าวภัยพิบัติน้ำท่วม อันดับที่สามหรือร้อยละ 17.0 ได้แก่ ข่าวการทำแท้ง อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 4.4 ได้แก่ ข่าวราคาสินค้าที่สูงขึ้น เศรษฐกิจแย่ อันดับที่ห้าหรือร้อยละ 4.2 ได้แก่ ข่าวการแพร่ระบาดของยาเสพติด และรองๆ ลงไป คือ ข่าวเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข่าวอุบัติเหตุ และอาชญากรรมอื่นๆ เป็นต้น
เมื่อถามถึงบุคคลที่น่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ด้านต่างๆ พบว่า ร้อยละ 69.2 ระบุ พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา เป็นบุคคล น่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ในฐานะข้าราชการวีรบุรุษผู้เสียสละชีวิตเพื่อแผ่นดินไทย ร้อยละ 61.8 ระบุ สรยุทธ สุทัศน-จินดา เป็นบุคคลที่น่าชื่น ชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ด้านพิธีกรเล่าข่าว ร้อยละ 57.3 ระบุ น้องหยิน สริตา ผ่องศรี เป็นบุคคลที่น่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ด้านนักกีฬาไทย กวางโจวเกมส์ ร้อยละ 55.9 ระบุ นายธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นบุคคลที่น่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ด้านนักธุรกิจ และร้อยละ 52.1 ระบุนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลที่น่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2553 ด้านนักการเมือง ตามลำดับ
เมื่อถามถึงการสวดมนต์ในชีวิตประจำวัน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.2 สวดมนต์เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยในกลุ่มคนที่ สวดมนตร์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.4 สวดมนต์เพื่อครอบครัวเป็นสุข รองลงมาคือร้อยละ 69.7 สวดมนต์เพื่อความสบายใจ คลายเครียด ร้อยละ 52.0 สวดมนต์เพื่อความสำเร็จในชีวิต ร้อยละ 48.8 สวดมนต์เพื่อลดความเจ็บไข้ได้ป่วย และรองๆ ลงไปคือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต เพื่อประเทศชาติสงบสุข เพื่อคนรัก คนรู้จักใกล้ชิด เพื่อป้องกันภัยพิบัติ เพื่อโชคลาภและความร่ำรวย และเพื่อขับไล่ผี สิ่งอัปมงคล ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.9 สนใจจะเข้าร่วมโครงการ สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่ ในขณะที่ร้อย ละ 46.1 ไม่สนใจ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่สนใจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.8 ยังไม่ทราบสถานที่ที่จะไปร่วมสวดมนต์ข้ามปี และเช่นกัน ร้อยละ 87.0 ไม่ทราบข้อมูลจากวัดใกล้บ้านว่าจะมีการสวดมนต์ข้ามปี
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า กระแสข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องสำคัญซึ่งมักจะมีอิทธิพลเชิงจิตวิทยาและปฏิกิริยาทางสังคมในหมู่ ประชาชน ข่าวที่ทำให้ประชาชนมีความสุขก็มักจะทำให้ประชาชนแสดงออกได้โดยง่าย แต่ข่าวที่ทำให้ประชาชนเป็นทุกข์ก็มักจะทำให้ประชาชนเกิดความ กังวลและเรียกร้องให้รัฐบาลทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อลดความทุกข์ลงไป ในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจเกิดขึ้นได้จากการ กำหนดทิศทางของข้อมูลข่าวสารของสถาบันสื่อสารมวลชน เช่น การรณรงค์ให้คนไทยในแต่ละชุมชนตื่นตัวออกมาแสดงพลังต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ การ ไม่เคารพกฎหมาย และความไม่มีวินัยของคนไทย เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ก็จะส่งผลต่อการแสดงออกในหมู่ประชาชน ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแสดงความจงรักภักดี ความเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น โดยรัฐบาลและกลไกของรัฐต้องมีมาตรการสนับสนุนการ แสดงออกของสาธารณชนรองรับกับทิศทางของข้อมูลข่าวสาร เพราะข่าวสารอาจกลายเป็นเพียง “กระแส” อย่างเดียว ข้อเสนอคือ ปีใหม่ พ. ศ.2554 นี้รัฐบาลน่าจะวางแนวทางรณรงค์ 12 เดือนแห่งคุณธรรมและความดีเอาไว้ล่วงหน้าว่า เช่น เดือนมกราคมเป็นเดือนแห่งการให้อภัย เริ่มต้น ทำความดีใน ปีใหม่ และเดือนกุมภาพันธ์แห่งความรักความสามัคคี และควรคิดถึงเดือนแห่งการรณรงค์ด้านการมีวินัย ความเสียสละ จิตอาสา เป็น ต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 54.5 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 45.5 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.9 อายุไม่เกิน 20 ปี
ร้อยละ 16.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 30-39 ปี
และร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.2 อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 34.9 สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 32.2 เป็นผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป/เกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 21.3 มีอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 13.0 เป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.9 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตาราง
--เอแบคโพลล์--