ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ประจำ สถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิด เผยผลสำรวจ เรื่อง ที่สุดปิดท้ายปีเสือ และความสุขมวลรวมต้อนรับปีใหม่ (ปีเถาะ) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ชลบุรี นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,047 ตัวอย่าง โดยดำเนินการวิจัยข้อมูลในช่วง 25 — 30 ธันวาคม 2553 พบว่า
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดแห่งปีเสือที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 51.3 ได้แก่ การจลาจล ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง อันดับสองหรือ ร้อยละ 23.1 ได้แก่ยาเสพติดและอาชญากรรม และอันดับสามหรือร้อยละ 18.4 ได้แก่ ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว
ข่าวฉาวที่เสื่อมเสียที่สุดแห่งปีเสือที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 33.8 ได้แก่ ข่าวล็อบบี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ อันดับสองหรือ ร้อยละ 22.4 ได้แก่ คลิปฉาวนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่กับตำรวจหญิงผู้ใต้บังคับบัญชา และอันดับสามหรือร้อยละ 18.2 ได้แก่ ชิงรักหักสวาท ตรวจดีเอ็น เอ ดารานักแสดง
สำหรับเหตุการณ์ที่ค้างคาใจประชาชนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 47.2 ได้แก่ การเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน อันดับที่สองหรือ ร้อยละ 30.6 ได้แก่ การเสียชีวิตของคนไทยกลุ่มผู้ชุมนุม และอันดับที่สามหรือร้อยละ 12.9 ได้แก่ ชาวต่างชาติ เช่น นักข่าวญี่ปุ่น เสียชีวิตใน เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานรัฐที่ได้รับการยกย่องจากประชาชนในปีเสือที่ผ่านมา 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 36.9 ได้แก่ ศาลปกครอง อันดับที่สองหรือร้อยละ 23.6 ได้แก่ ศาลฎีกา และอันดับที่สามหรือร้อยละ 21.1 ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด ตามลำดับ
เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากเห็นจากคนไทยด้วยกันในปีใหม่ (ปีเถาะ) นี้ 3 อันดับแรก พบว่า อันดับที่หนึ่งหรือร้อยละ 50.8 ได้แก่ ความจงรัก ภักดี การช่วยกันรักษาสถาบันหลักของประเทศ อันดับสองหรือร้อยละ 17.7 ได้แก่ ไมตรีจิต มีน้ำใจ เกื้อกูลต่อกัน ความรักความสามัคคีของคนใน ชาติ และอันดับสามหรือร้อยละ 14.3 ได้แก่ คนไทยหันมาใช้ชีวิตพอเพียงอย่างจริงจังต่อเนื่อง
เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากเห็นจากนักการเมืองในปีใหม่นี้ 3 อันดับแรก พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 33.1 ได้แก่ เลิกทะเลาะกัน อันดับ สองหรือร้อยละ 20.4 ได้แก่ ซื่อสัตย์สุจริต และอันดับสามหรือร้อยละ 18.1 ได้แก่ ช่วยกันแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
ที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบแนวโน้มความรู้สึกของประชาชนระหว่างความหวัง กับ ความกลัวในปีใหม่ 2554 (ปีเถาะ) นี้ พบว่า ประชาชนที่มีความหวังจะก้าวต่อไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 53.2 ในเดือนพฤศจิกายน มาอยู่ที่ร้อยละ 64.4 ในเดือนธันวาคม ขณะที่ความรู้สึก กลัวและกังวลต่อเหตุการณ์ข้างหน้าลดลงจากร้อยละ 46.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 35.6 ในการสำรวจล่าสุด
เมื่อถามถึงระดับความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศโดยภาพรวมช่วงปลายเดือนธันวาคมพบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชน เพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความสุขมวลรวมช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจาก 8.37 มาอยู่ที่ 8.41
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 53.7 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นเพศชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 อายุไม่เกิน 20 ปี
ร้อยละ 19.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 30.7 อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 27.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 4.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 35.8 เป็นผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป/เกษตรกร/ประมง
ร้อยละ 20.5 มีอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ
ร้อยละ 14.4 เป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.7 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 5.7 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
มี.ค. มิ.ย.52 ก.ค. ส.ค.52 ต.ค. พ.ย.52 ธ.ค.52 ม.ค.53 ก.ค.53 ก.ย. พ.ย. ต้นธ.ค. ปลาย
52 52 52 53 53 53 ธ.ค.53 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม 6.18 7.15 5.92 7.18 6.83 7.52 7.26 6.52 6.77 6.57 5.42 8.37 8.41 ของคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness)หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
--เอแบคโพลล์--