เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขของประชาชนในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันของประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Monday January 24, 2011 07:31 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบัน คอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ (Cornell Institute for Public Affairs) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เปิดเผยผล วิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง แนวโน้มความสุขของประชาชนในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันของประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนระดับครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 2,218 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 22 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา พบว่า

สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัจจัยสำคัญฉุดความสุขมวลรวมของประชาชนตกต่ำลงจาก 8.37 คะแนนในเดือน ธันวาคมปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 5.28 คะแนนในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยเมื่อประชาชนนึกถึงสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประชาชนมีความ สุขเพียง 1.04 คะแนนเท่านั้นจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรยากาศทางการเมืองโดยรวม เช่น ความขัด แย้งของฝ่ายการเมืองเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรง ส่งผลให้คนไทยมีความสุขเพียง 4.96 คะแนน โดยปัจจัยทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งสำคัญต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยความสุขของประชาชนครั้งนี้ยังพบปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความสุขอยู่ ได้แก่ ความจงรักภักดีของประชาชนมี ความสุขอยู่ที่ 9.13 บรรยากาศภายในครอบครัวของประชาชนมีความสุขอยู่ที่ 7.48 สุขภาพใจอยู่ที่ 7.45 สุขภาพทางกายอยู่ที่ 7.39 วัฒนธรรม ประเพณีไทยอยู่ที่ 7.14 และหน้าที่การงาน อาชีพของประชาชนมีระดับความสุขอยู่ที่ 7.06 คะแนน ตามลำดับ

สำหรับกลุ่มปัจจัยที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้คนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้นได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของประชาชนที่มี ความสุขอยู่ที่ 5.25 ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ อยู่ที่ 5.63 ความเป็นธรรมทางสังคมอยู่ที่ 6.06 และบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ อยู่ที่ 6.30 เช่นเดียวกับเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ที่คนไทยมีความสุขอยู่ที่ 6.32 และบรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัยของคนไทยมีความสุขอยู่ที่ 6.64

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า คนไทยกำลังทุกข์เสียใจกับปัญหาชายแดนใต้และไม่เป็นสุขเรื่องการเมือง ปัญหาความไม่สงบในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาสำคัญที่หลายหน่วยงานกำลังพยายามเร่งแก้ไขอยู่อย่างต่อเนื่อง จากการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พบ สาเหตุสำคัญสามมิติ คือ ความขัดแย้งในพื้นที่ การมุ่งทำลายอำนาจรัฐ และการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้า หน้าที่รัฐ และระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันเอง ข้อเสนอแนะ คือ การก่อตั้งสถาบันผลิตบุคลากรป้องกันและแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียน รู้ด้านประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม ความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักศาสนา และสร้างเครือข่ายกับมูลนิธิต่างๆ องค์กรภาคเอกชน เกาะติดการใช้จ่ายงบประมาณและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.1 เป็นหญิง

ร้อยละ 47.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.2 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.9 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.0 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 30.8 อายุ 50 ขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 63.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.1 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                                  ค่าเฉลี่ยความสุข
1          ความจงรักภักดี                                                          9.13
2          บรรยากาศภายในครอบครัว                                                 7.48
3          สุขภาพใจ                                                              7.45
4          สุขภาพทางกาย                                                          7.39
5          วัฒนธรรมประเพณีไทย                                                     7.14
6          หน้าที่การงาน /อาชีพ                                                     7.06
7          สิ่งแวดล้อม  อาทิ น้ำ สภาพอากาศ                                           6.89
8          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัย                                  6.64
9          สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (สาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์)        6.32
10          บริการทางการแพทย์ที่ได้รับ                                                6.30
12          ความเป็นธรรมทางสังคม                                                  6.06
13          ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ                                    5.63
11          สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน                                                 5.25
14          บรรยากาศทางการเมืองโดยรวม                                            4.96
15          สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้                                       1.04
          ความสุขมวลรวม ของคนไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน                                  5.28

ตารางที่ 2 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10

มีค.52 มิย.52 กค.52 สค.52 ตค.52 พย.52 มค.53 กค.53 กย.53 พย.53 ธค.53 มค.54 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ของคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) 6.18 7.15 5.92 7.18 6.83 7.52 6.52 6.77 6.57 5.42 8.37 5.28

หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ