เอแบคโพลล์: นโยบายต่างประเทศของสหประชาชาติและประเทศมหาอำนาจ ในทรรศนะของประชาชนคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Friday March 9, 2007 10:40 —เอแบคโพลล์

          ดร. สตีเวน โคล (Dr.Steven Kull) ผู้อำนวยการโครงการศึกษานโยบายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (The 
Program on International Policy Attitudes, the University of Maryland) ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอ
แบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business
Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “นโยบายต่างประเทศของสหประชาชาติและประเทศมหาอำนาจ ในทรรศนะของประชาชนคนไทย: กรณี
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,558 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2549 ถึง 7 มีนาคม 2550 ประเด็นสำคัญ
ที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.7 ระบุสนใจติดตามข่าวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
18.2 ระบุไม่ค่อยสนใจ และร้อยละ 6.1 ระบุไม่สนใจติดตาม
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติ พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 48.3 ระบุว่า
ประเทศไทยควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับสหประชาชาติ ถึงแม้ว่าบางครั้งประเทศไทยจะไม่เห็นด้วยกับนโนบายหลักของสหประชาชาติก็ตาม ใน
ขณะที่ ตัวอย่าง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 26.7 ระบุไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นการเพิ่มสิทธิและอำนาจให้กับสหประชาชาติ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.4 ระบุเห็นด้วยที่จะเพิ่มสิทธิและอำนาจ
ให้กับสหประชาชาติในการคัดเลือก ฝึกอบรม และบังคับบัญชาจัดตั้งกองกำลังประจำรักษาความสงบ ร้อยละ 52.4 ระบุเห็นด้วยที่จะเพิ่มสิทธิและอำนาจ
ให้กับสหประชาชาติในการเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ร้อยละ 48.4 ระบุเห็นด้วยที่จะเพิ่มสิทธิและอำนาจให้กับสห
ประชาชาติในการจัดเก็บภาษีจากการค้าน้ำมันหรืออาวุธข้ามชาติเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ และร้อยละ 44.2 เห็นด้วยที่จะเพิ่มสิทธิและอำนาจให้กับสหประชา
ชาติในการบัญญัติกฎหมายเรื่องการค้าอาวุธข้ามชาติ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 54.5 มีความเห็นว่า ประเทศไทยควรจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังประจำ
รักษาความสงบของสหประชาชาติเช่นเดียวกับประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบทั้งหลาย ในขณะที่ ร้อยละ 22.9 ระบุไม่ควรเข้าร่วม โดยให้เหตุผลว่า
เป็นหน้าที่ของประเทศอื่น และร้อยละ 22.6 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.7 ระบุเห็นด้วยที่จะให้
สิทธิและอำนาจแก่องค์การอนามัยโลกในการเข้าแทรกแซงประเทศที่มีภาวะโรคระบาด เพื่อระงับไม่ให้คุกคามต่อสุขภาพของคนทั่วโลก ถึงแม้ว่าประเทศ
นั้นๆ จะไม่เห็นด้วยก็ตาม ในขณะที่ร้อยละ 12.9 และ 14.4 ระบุไม่เห็นด้วย และไม่ทราบ /ไม่มีความคิดเห็น ตามลำดับ
ตัวอย่างร้อยละ 71.1 ระบุสมควรให้สิทธิแก่สภาความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติในการสั่งใช้กองกำลังทหาร เพื่อยับยั้งประเทศที่
สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย ร้อยละ 67.5 ระบุสมควรให้สิทธิเพื่อปกป้องประเทศที่โดนโจมตี ร้อยละ 62.5 ระบุสมควรให้สิทธิ เพื่อป้องกันความ
รุนแรงที่อาจเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ร้อยละ 59.3 ระบุสมควรให้สิทธิ เพื่อป้องกันประเทศที่ไม่มีอาวุธปรมาณู (นิวเคลียร์) ไม่ให้ผลิตพลังงาน
เชื้อเพลิงปรมาณู ที่นำมาใช้ในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ร้อยละ 59.3 ระบุสมควรให้สิทธิ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศที่ไม่มีอาวุธปรมาณู
(นิวเคลียร์) นำเข้าอาวุธนิวเคลียร์จากประเทศอื่น และร้อยละ 46.4 ระบุสมควรให้สิทธิ เพื่อก่อตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยที่โดนล้มล้างขึ้นมาใหม่
สำหรับความคิดเห็นต่อคำกล่าวที่ว่า “ในอดีต ประชาคมระหว่างประเทศได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า “ทุกประเทศ” มีสิทธิ์ที่จะผลิตพลังงาน
เชื้อเพลิงปรมาณูเพื่อสันติวิธี แต่ปัจจุบัน “บางประเทศ” ได้ถูกจำกัดไม่ให้ผลิตพลังงานเชื้อเพลิงปรมาณูขึ้น เนื่องจากอาจนำไปใช้ในการพัฒนาทำระเบิด
ปรมาณูได้” ตัวอย่างร้อยละ 40.9 ระบุเห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 33.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 25.8 ไม่ทราบ /
ไม่มีความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 76.1 ระบุว่าในยุคโลกาภิวัฒน์การเจริญความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเป็นเรื่องดี
ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ8.5 ระบุว่าไม่ดี และร้อยละ 15.4 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการค้าระหว่างประเทศว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไรนั้น ผลการ
สำรวจพบว่า ร้อยละ 79.2 ระบุส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ร้อยละ 74.8 ระบุส่งผลดีต่อการสร้างงานในประเทศไทย ร้อยละ
70.3 ระบุส่งผลดีต่อบริษัทของคนไทย ร้อยละ 65.8 ระบุส่งผลดีต่อผู้บริโภค ร้อยละ 64.6 ระบุส่งผลดีต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของ
พนักงาน / ลูกจ้างไทย ร้อยละ 59.3 ระบุส่งผลดีต่อมาตาฐานการครองชีพของตน และร้อยละ 45.5 ระบุส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม ตามลำดับ
ตัวอย่าง 2 ใน 3 หรือร้อยละ 69.0 ระบุว่าโดยภาพรวมแล้ว กลุ่มประเทศที่มีข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศควรถูกกำหนดให้รักษา
มาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ ร้อยละ 10.2 ระบุว่าไม่ควรถูกกำหนด และร้อยละ 20.8 ระบุไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น นอกจากนี้
ตัวอย่าง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.2 ระบุว่ากรณีที่มีประเทศใดประเทศหนึ่งยื่นร้องเรียนประเทศไทยต่อองค์การการค้าโลก ประเทศไทยควรปฏิบัติตาม
ข้อบังคับ นั้นๆ ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยก็ตาม ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ระบุว่าไม่ควรปฏิบัติตาม ร้อยละ 24.7 ระบุว่าแล้วแต่สมัครใจ และ
ร้อยละ 24.0 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น
เป็นที่น่าสนใจว่า ตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 60 มีความเห็นว่าประเทศไทยควรมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ เพื่อลดอัตราภาษีด่าน
ศุลกากร กับประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สำหรับประเทศอินเดียนั้น มีตัวอย่างร้อยละ 44.2 ควรมีการทำข้อตกลงดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีโลกร้อนขึ้น ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 42.8 ระบุว่า ปัญหาโลกร้อนขึ้นเป็นปัญหาที่ควรถูกพิจารณา เพราะ
ค่อยๆ ได้รับผลกระทบทีละเล็กทีละน้อย ดังนั้น เราควรดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ ตัวอย่างเกือบ 1
ใน 3 หรือร้อยละ 28.0 ระบุว่า ปัญหาโลกร้อนขึ้นถือเป็นปัญหาที่สำคัญร้ายแรงและเร่งด่วน เราจึงควรดำเนินการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะ
ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากก็ตาม และร้อยละ 7.5 ระบุว่า ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า ปัญหาโลกร้อนขึ้นเป็นปัญหาสำคัญ เราก็ไม่ควรที่จะดำเนิน
การแก้ไข เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และร้อยละ 21.7 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 49.3 ระบุว่า ถ้าประเทศพัฒนาแล้วยินดีที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ประเทศ
กำลังพัฒนาควรทำข้อตกลงที่จะจำกัดการแผ่รังสีเชื้อเพลิง ที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 8.8 ระบุว่าไม่ควร
ทำข้อตกลง ร้อยละ 18.7 ระบุแล้วแต่สมัครใจ และร้อยละ 23.2 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการเจริบเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศจีนนั้นพบว่า ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.4 ระบุว่าจะมี
ผลดีมากกว่าผลเสียถ้าประเทศจีนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทัดเทียมสหรัฐอเมริกา
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อจำนวนฐานทัพของสหรัฐอเมริกานั้น พบว่า ตัวอย่าง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.1 ระบุว่าควรลด
จำนวนฐานทัพกองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาแบบระยะยาวในต่างประเทศลง ร้อยละ 16.3 ระบุว่าควรเพิ่มจำนวน ในขณะที่ ร้อยละ
18.3 ระบุว่าไม่ลด ไม่เพิ่ม คงจำนวนไว้เท่ากับจำนวนในปัจจุบัน และ ร้อยละ 40.3 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการประจำการของฐานทัพกองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกนั้น พบว่า
ตัวอย่าง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.4 ระบุว่าช่วยเพิ่มความมั่นคงของภูมิภาค ร้อยละ 16.1 ระบุว่า ลดความมั่นคงของภูมิภาคลง ร้อยละ 19.0 ระบุ
ว่าไม่ส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาคแต่อย่างไร และร้อยละ 39.5 ระบุไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น
สำหรับประเด็นบทบาทของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ตัวอย่างร้อยละ 47.3 ระบุประเทศสหรัฐอเมริกาควรร่วมมือกับประเทศอื่นในการ
แก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 18.0 ระบุว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ ร้อยละ 8.3 ระบุในฐานะที่เป็น
ประเทศมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียว ประเทศสหรัฐอเมริกาควรแสดงตนเป็นผู้นำโลกในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ และร้อยละ 26.4 ระบุไม่
ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการให้สิทธิและอำนาจแก่ประเทศไทยในการมีส่วนร่วมตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศ พบว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็น
ประเทศที่ให้สิทธิและอำนาจแก่ประเทศไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.8 รองลงมา คือประเทศอินเดีย ร้อยละ 51.5 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ร้อยละ 49.3 และประเทศจีน ร้อยละ 42.0 ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงระดับอิทธิพลของประเทศต่างๆที่มีอิทธิพลต่อโลก เมื่อพิจารณาจากคะแนนเต็ม 10 คะแนนนั้นพบ
ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกามีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 8.32 คะแนน รองลงมา คือ ประเทศญี่ปุ่น มีคะแนนเฉลี่ย 6.93 คะแนน และ
ประเทศจีน มีคะแนนเฉลี่ย 6.89 คะแนน ซึ่งเป็นประเทศในแถบเอเชีย
เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายต่างประเทศที่ประเทศไทยอาจกำหนดในอนาคตนั้น ตัวอย่างให้ความสำคัญกับการปกป้องอาชีพคนงานไทยมากที่
สุด คิดเป็นร้อยละ 85.4 รองลงมา คือการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 84.5 การรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจไทยใน
ต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 84.4 การแก้ไขสภาพแวดล้อมโลกคิดเป็นร้อยละ 83.4 และการปกป้องประเทศที่อ่อนแอไม่ให้ถูกต่างประเทศรุกราน คิด
เป็นร้อยละ 83.0
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีประเทศที่ชื่นชอบ ซึ่งพบว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีคนชื่นชอบมากที่สุด
โดยมีคะแนนเฉลี่ย 73.36 จาก 100 คะแนน รองลงมา คือประเทศจีน มีคะแนนเฉลี่ย 72.55 คะแนนประเทศอังกฤษ 69.50 คะแนน และประเทศ
สหรัฐอเมริกา 68.80 คะแนนตามลำดับ
รายละเอียดโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายต่างประเทศ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการความร่วมมือระหว่าง โครงการศึกษานโยบายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ กับศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม
การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง“นโยบายต่างประเทศของสหประชาชาติและประเทศมหาอำนาจ ในทรรศนะของประชาชนคนไทย:
กรณีประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ” มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2549 ถึง 7 มีนาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
จำแนกเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง เชียงใหม่ กำแพงเพชร ขอนแก่น สกลนคร ชุมพร
และนครศรีธรรมราช
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,558 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 50.8 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุอายุ 18-24 ปี
ร้อยละ 47.6 ระบุอายุ 25-44 ปี
ร้อยละ 31.9 ระบุอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 1.9 ไม่ระบุ
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.9 ไม่ระบุ
เมื่อพิจารณาอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.1 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.1 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสนใจในการติดตามข่าวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น
ลำดับที่ ความสนใจในการติดตามข่าวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ค่าร้อยละ
1 สนใจมาก 20.6
2 ค่อนข้างสนใจ 55.1
3 ไม่ค่อยสนใจ 18.2
4 ไม่สนใจติดตาม 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเทศไทยกรณีการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับ
สหประชาชาติเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติขึ้น (ถึงแม้ว่าบางครั้งประเทศไทยจะไม่เห็นด้วยกับ
นโยบายหลักของสหประชาชาติก็ตาม)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 48.3
2 ไม่เห็นด้วย 25.0
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 26.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเพิ่มสิทธิและอำนาจให้กับสหประชาชาติในประเด็นต่างๆ
ประเด็นต่างๆ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. การบัญญัติกฎหมายเรื่องการค้าอาวุธข้ามชาติ 44.2 36.7 19.1 100.0
2. การคัดเลือก ฝึกอบรม และบังคับบัญชาจัดตั้งกองกำลังประจำ รักษาความสงบ 73.4 12.1 14.5 100.0
3. การจัดเก็บภาษีจากการค้าน้ำมันหรืออาวุธข้ามชาติเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ 48.4 29.2 22.4 100.0
4. การเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ 52.4 26.1 21.5 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังประจำ
รักษาความสงบของสหประชาชาติ เช่นเดียวกับประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบอื่นๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเข้าร่วม 54.5
2 ไม่ควรเข้าร่วม ซึ่งการเข้าร่วมถือว่าเป็นหน้าที่ของประเทศอื่น 22.9
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 22.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้สิทธิและอำนาจแก่องค์การอนามัยโลกในการเข้า
แทรกแซงประเทศที่มีภาวะโรคระบาดเพื่อระงับไม่ให้คุกคามต่อสุขภาพของคนทั่วโลก (ถึงแม้ว่าประเทศนั้นๆ
จะไม่เห็นด้วย)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.7
2 ไม่เห็นด้วย 12.9
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 14.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสภาความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติในการมีสิทธิอำนาจ
สั่งใช้กองกำลังทหาร ในสถานการณ์ต่างๆ
สถานการณ์ต่างๆ สมควร ไม่เห็นสมควร ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศที่ไม่มีอาวุธปรมาณู(นิวเคลียร์)นำเข้าอาวุธนิวเคลียร์จากประเทศอื่น 51.8 30.7 17.5 100.0
2. เพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ 62.5 22.8 14.7 100.0
3. เพื่อยับยั้งประเทศที่สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย 71.1 16.0 12.9 100.0
4. เพื่อก่อตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยที่โดนล้มล้างขึ้นมาใหม่ 46.4 29.5 24.1 100.0
5. เพื่อปกป้องประเทศที่โดนโจมตี 67.5 14.1 18.4 100.0
6. เพื่อป้องกันประเทศที่ไม่มีอาวุธปรมาณู (นิวเคลียร์) ไม่ให้ผลิตพลังงานเชื้อเพลิงปรมาณู
ที่นำมาใช้ในการสร้างอาวุธ นิวเคลียร์จากประเทศอื่น 59.3 20.5 20.2 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อความ “ในอดีต ประชาคมระหว่างประเทศได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า
“ทุกประเทศ” มีสิทธิ์ที่จะผลิตพลังงานเชื้อเพลิงปรมาณูเพื่อสันติวิธี แต่ปัจจุบัน “บางประเทศ” ได้ถูกจำกัดไม่ให้
ผลิตพลังงานเชื้อเพลิงปรมาณูขึ้น เนื่องจากอาจนำไปใช้ในการพัฒนาทำระเบิดปรมาณูได้”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว 40.9
2 ไม่เห็นด้วย 33.3
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 25.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเทศไทยในการเจริญความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในยุคโลกาภิวัฒน์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ดี 76.1
2 ไม่ดี 8.5
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อผลของการทำการค้าระหว่างประเทศในด้านต่างๆ
ประเด็นต่างๆ ส่งผลดี ไม่ส่งผลดี ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. เศรษฐกิจของประเทศไทย 79.2 9.8 11.0 100.0
2. บริษัทของคนไทย 70.3 12.9 16.8 100.0
3. ผู้บริโภค 65.8 19.2 15.0 100.0
4. การสร้างงานในประเทศไทย 74.8 12.7 12.5 100.0
5. สภาพแวดล้อม 45.5 35.1 19.4 100.0
6. ความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน/ลูกจ้างไทย 64.6 19.7 15.7 100.0
7. มาตรฐานการครองชีพของท่าน 59.3 23.5 17.2 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกลุ่มประเทศที่มีข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ
กรณีการกำหนดให้รักษามาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาสิ่งแวดล้อม
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรถูกกำหนดให้รักษามาตรฐานขั้นต่ำ 69.0
2 ไม่ควรถูกกำหนด 10.2
3 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเทศไทยในการปฏิบัติตามข้อบังคับขององค์การ
การค้าโลก เมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งยื่นข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบกับประเทศไทย ต่อองค์การการค้าโลก
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทยควรปฏิบัติตาม 34.2
2 ไม่ควรปฏิบัติตาม 17.1
3 แล้วแต่สมัครใจ 24.7
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ เพื่อลดอัตราภาษีด่านศุลกากร
ของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
ประเทศต่างๆ ควรมี ไม่ควร ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. สหรัฐอเมริกา 60.6 15.7 23.7 100.0
2. ญี่ปุ่น 63.8 13.6 22.6 100.0
3. จีน 61.6 14.0 24.4 100.0
4. อินเดีย 44.2 23.0 32.8 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่โลกร้อนขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า ปัญหาโลกร้อนขึ้นเป็นปัญหาสำคัญ เราก็ไม่ควรที่จะดำเนินการแก้ไข
เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย 7.5
2 ปัญหาโลกร้อนขึ้นเป็นปัญหาที่ควรถูกพิจารณา เพราะค่อยๆ ได้รับผลกระทบที่ละเล็กทีละน้อย ดังนั้น
เราควรดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เพื่อลดค่าใช้จ่าย 42.8
3 ปัญหาโลกร้อนขึ้นถือเป็นปัญหาที่สำคัญร้ายแรงและเร่งด่วน เราจึงควรดำเนินการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ตอนนี้
ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากก็ตาม 28.0
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเทศกำลังพัฒนาในการทำข้อตกลงจำกัดการแผ่รังสี
เชื้อเพลิง ที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น เมื่อประเทศพัฒนาแล้วยินดีที่จะให้การ
สนับสนุนอย่างจริงจัง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรทำข้อตกลง 49.3
2 ไม่ควรทำข้อตกลง 8.8
3 แล้วแต่สมัครใจ 18.7
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีผลที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศจีนเจริญเติบโต
ทัดเทียมเท่ากับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลดีมากกว่า 34.4
2 มีผลเสียมากกว่า 9.9
3 มีผลดีและผลเสียเท่ากัน 25.0
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจำนวนฐานทัพกองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา
แบบระยะยาวในต่างประเทศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเพิ่มจำนวนฐานทัพกองกำลังทหาร 16.3
2 ควรลดจำนวนลง 25.1
3 ไม่ลด ไม่เพิ่ม คงจำนวนไว้เท่ากับจำนวนในปัจจุบัน 18.3
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น 40.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อมีการประจำการ
ของฐานทัพกองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ในเขตภูมิภาคนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เพิ่มความมั่นคงของภูมิภาค 25.4
2 ลดความมั่นคงของภูมิภาคลง 16.1
3 ไม่ส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาคแต่อย่างไร 19.0
4 ไม่ทราบ / ไม่มีความคิดเห็น 39.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ