เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบความนิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ข่าวผลสำรวจ Monday September 26, 2011 08:37 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เปรียบเทียบความ นิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี น่าน เชียงราย เชียงใหม่ อำนาจ เจริญ ศรีสะเกษ เลย สกลนคร อุดรธานี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ยะลา และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,028 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวัน ที่ 10 - 24 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 48.5 ไม่นิยมใครเลย ในขณะที่ร้อยละ 38.6 นิยมศรัทธาต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในตำแหน่งนายก รัฐมนตรี และร้อยละ 12.9 นิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เมื่อจำแนกตามเพศ พบความแตกต่างเล็กน้อยโดยผู้ชายร้อยละ 39.7 ผู้หญิงร้อยละ 37.5 นิยมนางสาวยิ่งลักษณ์ ในขณะที่ ผู้ชายร้อย ละ 12.8 และผู้หญิงร้อยละ 13.1 นิยมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ร้อยละ 47.5 ของผู้ชายและร้อยละ 49.4 ของผู้หญิงไม่นิยมใครเลย

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างอย่างชัดเจนในกลุ่มคนที่นิยมนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยกลุ่มคนที่มีช่วงอายุ 40 — 49 ปี ร้อย ละ 43.0 และกลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 43.3 นิยมนางสาวยิ่งลักษณ์ มากกว่ากลุ่มคนอายุระหว่าง 20 — 29 ปีร้อยละ 33.9 ที่นิยมนางสาว ยิ่งลักษณ์

ที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีกว่าร้อยละ 50 ไม่นิยมใครเลย คือ ร้อยละ 52.7 ของกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อย ละ 50.8 ของคนที่อายุ 20 — 29 ปี และร้อยละ 51.6 ของคนที่อายุ 30 — 39 ปี ไม่นิยมศรัทธาใครเลย

เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า คนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีจำนวนคนที่นิยมชอบนางสาวยิ่งลักษณ์มากกว่ากลุ่มคนที่มีการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรี โดยร้อยละ 39.7 ของคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีนิยมศรัทธานางสาวยิ่งลักษณ์ ในขณะที่ร้อยละ 32.6 ของคนที่มีการศึกษาสูง กว่าปริญญาตรีนิยมศรัทธานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่เกือบครึ่งของทุกกลุ่มการศึกษาคือ ร้อยละ 48.8 ของคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อย ละ 47.2 ของคนปริญญาตรี และร้อยละ 48.5 ของคนที่สูงกว่าปริญญาตรีไม่นิยมศรัทธาใครเลย

ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า กลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 43.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 42.2 และกลุ่มคนว่างงานไม่มีอาชีพ ร้อยละ 43.1 เป็นกลุ่มที่นิยมศรัทธานางสาวยิ่งลักษณ์มากที่สุด ในขณะที่กลุ่มนักเรียน/นักศึกษากลายเป็นกลุ่มที่มีคนนิยมศรัทธาต่อนางสาวยิ่งลักษณ์น้อยที่ สุดคือร้อยละ 28.7 เท่านั้น ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 ของกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาไม่นิยมศรัทธาใครเลย และที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มข้า ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 39.2 นิยมนางสาวยิ่งลักษณ์ ร้อยละ 16.7 นิยมนายอภิสิทธิ์ แต่ร้อยละ 44.1 ไม่นิยมใครเลย และที่น่าเป็น ห่วงเช่นกันคือ กลุ่มอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัวเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.0 ไม่นิยมศรัทธาใครเลย

อย่างไรก็ตาม หลังจำแนกตามเขตที่พักอาศัย พบความแตกต่างชัดเจนระหว่างคนในเขตเทศบาลกับนอกเขตเทศบาล โดยร้อยละ 43.2 ของคนนอกเขตเทศบาล และร้อยละ 32.2 ของคนในเขตเทศบาล นิยมศรัทธานางสาวยิ่งลักษณ์ ในขณะที่ร้อยละ 52.9 ของคนในเขตเทศบาลและ ร้อยละ 45.1 ของคนนอกเขตเทศบาลที่ไม่นิยมศรัทธาใครเลย สำหรับกลุ่มคนที่นิยมศรัทธานายอภิสิทธิ์อยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 14.9 และนอกเขต เทศบาลร้อยละ 11.7 ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวว่า ค่าคะแนนนิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อนางสาวยิ่งลักษณ์โดยภาพรวมทั้งประเทศเกือบร้อยละ 40 นั้นตกอยู่ในโซน C หมายความว่า คะแนนนิยมศรัทธาต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ยังเพียงพอในการทำงานแต่จะมีแรงเสียดทานมาก ถ้าผู้ใหญ่ในสังคมไม่สนับสนุนเธอ ก็จะยิ่งซ้ำ เติมความยากลำบากในการคงอยู่ของสถานะความเป็นผู้นำประเทศนี้ไปอีก ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความเป็นนักธุรกิจของนายกรัฐมนตรี เพราะโดยปกติกลุ่มนักธุรกิจมักจะอยู่เบื้องหลังและคอยกดดันผู้นำประเทศให้ออกนโยบายสนองตอบต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของพวกเขา แต่เมื่อนัก ธุรกิจมาเป็นผู้นำประเทศเสียเองจึงถูกตั้งคำถามจากประชาชนได้ง่ายว่า กำลังเป็นทั้ง ฝ่ายต้องการหรือ Demand และ ฝ่ายตอบสนอง หรือ Supply ในตัวคนเดียวกันหรือไม่ จึงมีปัญหาที่เป็นความเคลือบแคลงสงสัยหรือที่เรียกว่า มีปัญหาด้าน Accountability หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ใน สายตาประชาชนทั่วไปนายกรัฐมนตรีหญิงผู้นี้มีความรวดเร็วฉับไวสูงตามสไตล์ของนักธุรกิจหรือที่เรียกว่ามี Responsiveness สูงต่อการลำดับความ สำคัญของปัญหาเดือดร้อนในหมู่ประชาชน

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สังคมที่มีลักษณะเช่นนี้ก็จะทำให้คนเก่งที่เป็นนักธุรกิจประสบความสำเร็จสูงไม่อยากทำงานทางการเมืองเพื่อใช้ ความสามารถทำงานให้กับสาธารณชน สังคมที่มีความระแวงระวังแบบนี้จึงเปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่เป็นนักการเมืองอาชีพแต่ไม่มีความสามารถด้านการ บริหารจัดการเพียงพอเข้ามาทำงานและตกอยู่ภายใต้การครอบงำของ “อคติแห่งนครา” ที่ถูกกดดันให้ออกนโยบายสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของคนชน ชั้นนำ ผลที่ตามมาคือ ประชาชนทั่วๆ ไปตกอยู่ในสภาวะท่ามกลางเขาควาย (Dilemma) ที่อยากได้คนเก่งแต่ก็มีเรื่องเคลือบแคลงสงสัย หันไปหาคนดี แต่ก็ไม่มีความสามารถตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มนายทุนเฉพาะกลุ่ม

“ทางออกมีอย่างน้อยสองทางคือ ที่ดีที่สุดได้แก่ นายกรัฐมนตรีต้องชี้แจงให้เห็นกันชัดๆ ว่า “ไม่ได้” รับผลประโยชน์ใดๆ เลย จากนโยบายสาธารณะที่ถูกมองว่านโยบายของรัฐบาลไปเอื้อต่อกลุ่มธุรกิจของตนเอง การออกนโยบายสาธารณะแต่ละครั้งมีหลักเกณฑ์และคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอิสระร่วมพิจารณาอย่างโปร่งใส ในขณะที่ทางออกอันดับรองลงมาคือ มุ่งมั่นทำงานหนักเพื่อสาธารณชน ส่วนความเคลือบแคลงสงสัยที่ เกิดขึ้นก็ชี้แจงถึงความไม่เกี่ยวข้องแยกส่วนกันออกไป และดำรงตนอยู่ในความโปร่งใส มีเหตุมีผลในการชี้แจงให้เกิดความกระจ่างและความชอบธรรม ในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศและประชาชนทุกคน พื้นที่ไหนตกระกำลำบากก็แสดงความเป็นผู้นำลงพื้นที่โดยไม่เลือกสี ไม่เลือกปฏิบัติแต่แสดงความ รักความห่วงใยต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม” ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นชาย ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.0 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อย ละ 33.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 70.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 34.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อย ละ 8.4 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.5 เป็นแม่ บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา          ค่าร้อยละ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร          38.6
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ           12.9
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย             48.5
          รวมทั้งสิ้น                      100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  กับ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา          ชายค่าร้อยละ     หญิงค่าร้อยละ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร          39.7          37.5
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ           12.8          13.1
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย             47.5          49.4
          รวมทั้งสิ้น                      100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  กับ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จำแนกตามอายุ
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา      ต่ำกว่า 20 ปีค่าร้อยละ   20-29 ปีค่าร้อยละ  30-39 ปีค่าร้อยละ   40-49 ปีค่าร้อยละ  50 ปีขึ้นไปค่าร้อยละ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร          37.4             33.9            35.0              43.0            43.3
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ            9.9             15.3            13.4              12.9            11.1
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย             52.7             50.8            51.6              44.1            45.6
          รวมทั้งสิ้น                      100.0            100.0           100.0             100.0           100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  กับ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจำแนกตามการศึกษา
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา      ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ  ปริญญาตรีค่าร้อยละ   สูงกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร         39.7             33.2              32.6
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ          11.5             19.6              18.9
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย            48.8             47.2              48.5
          รวมทั้งสิ้น                     100.0            100.0             100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  กับ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา   ข้าราชการ/  พนักงาน/   ค้าขาย/    นักเรียน/  เกษตรกร/ พ่อบ้าน/แม่บ้าน/  ว่างงาน/
                              รัฐวิสาหกิจ    เอกชน   ธุรกิจส่วนตัว   นักศึกษา   รับจ้าง     เกษียณอายุ    ไม่มีอาชีพ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  39.2      39.4      34.0       28.7    43.0        42.2        43.1
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   16.7      14.2      14.0       14.3    10.8        12.1        16.2
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย     44.1      46.4      52.0       57.0    46.2        45.7        40.7
          รวมทั้งสิ้น              100.0     100.0     100.0      100.0   100.0       100.0       100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  กับ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จำแนกตามเขตที่พักอาศัย
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธา         ในเขตเทศบาล   นอกเขตเทศบาล
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร          32.2           43.2
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ           14.9           11.7
3          ไม่นิยมศรัทธาใครเลย             52.9           45.1
          รวมทั้งสิ้น                      100.0          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ