เอแบคโพลล์: ความพอใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วม

ข่าวผลสำรวจ Sunday December 11, 2011 21:12 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความพอใจของสาธารณชนต่อรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วม กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี อยุธยา ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลย มหาสารคาม ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,154 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 8 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา

เมื่อสอบถามถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 56.2 รับรู้รับทราบข่าวยุทธศาสตร์ พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 43.8 ไม่ทราบ โดยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 90.9 คนที่รับทราบรับรู้ผ่านทางโทรทัศน์ รองลงมาคือร้อยละ 22.0 รับรู้จาก หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 20.0 รับรู้จากวิทยุ แต่ที่น่าสังเกตคือที่เหลือไม่ถึงร้อยละ 10 รับรู้จากแหล่งอื่นๆ เช่น จากผู้นำชุมชน วิทยุชุมชน การประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่รัฐ การประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน และเพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่รับรู้ผ่านการจัดประชาคมหมู่บ้าน ตามลำดับ

โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 รับรู้เรื่องความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด รองลงไปคือร้อยละ 59.6 รับรู้เรื่องการปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติด ร้อยละ 56.3 รับรู้การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 51.6 รับรู้เรื่องกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชน รองๆลงไปคือ การรณรงค์ปรับเจตคติเพื่อยอมรับผู้เสพ/ ผู้ติดยาเสพติด การกำจัดแหล่งมั่วสุม และการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดให้มีอาชีพ เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 23.2 ระบุสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนอยู่ในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 28.2 ระบุค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 22.3 ไม่ค่อยรุนแรง และร้อยละ 26.3 ไม่รุนแรงถึงไม่มีปัญหาเลย และที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 คิดว่าการลักทรัพย์ของประชาชนที่ประสบอุทกภัย มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติด

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความพอใจของประชาชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติดของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำท่วม พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 80.0 พอใจในการดำเนินงานแก้ปัญหายาเสพติดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองลงมาคือร้อยละ 79.4 พอใจเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ร้อยละ 77.4 พอใจกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 75.1 พอใจ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 74.1 พอใจทหาร /กองทัพ ร้อยละ 73.6 พอใจสำนักงาน ป.ป.ส. ร้อยละ 73.0 พอใจ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ร้อยละ 73.0 พอใจแกนนำชุมชน ร้อยละ 70.8 พอใจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร้อยละ 70.6 พอใจ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ

และเมื่อสอบถามความพอใจโดยภาพรวมต่อการแก้ปัญหายาเสพติดโดยรัฐบาลในช่วงเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.3 พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 23.7 ไม่พอใจ

แต่เมื่อสอบถามถึงปัญหาเดือดร้อนที่ประชาชนกำลังประสบอยู่และอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขนั้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.5 กำลังเป็นทุกข์ เรื่องปากท้อง ค่าครองชีพของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 62.2 เดือดร้อนเรื่องปัญหาอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 59.7 เดือดร้อน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 51.4 เดือดร้อนปัญหายาเสพติด และร้อยละ 37.8 เดือดร้อนปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม รองๆ ลงไปคือ ปัญหาแกงค์รถซิ่ง เด็กเยาวชนมั่วสุม ภาระหนี้สิน ปัญหาแรงงานต่างด้าว และความรุนแรงในเด็กผู้หญิง ตามลำดับ

สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหายาเสพติด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.1 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราอย่างเข้มงวด ไม่ปล่อยปละละเลย ตรวจค้นอย่างจริงจังต่อเนื่อง รองลงมาคือร้อยละ 54.4 เร่งปราบปรามจับกุมผู้ค้าผู้มีอิทธิพลที่อยู่ในหมู่บ้านชุมชน ร้อยละ 38.4 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มากขึ้น และรองๆลงไปที่น่าเป็นห่วงคือ เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด ขอให้แก้ปัญหาว่างงาน มีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น และช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ผ่านการ บำบัดให้สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินของรัฐบาลในการเอาชนะปัญหายาเสพติดเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วน และจุดตั้งต้นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นจังหวะเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการและความพอใจของสาธารณชน อย่างไรก็ตาม เมื่อผลสำรวจพบว่า ข่าวสารที่ประชาชนได้รับส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดมาเป็นอันดับแรกจึงอาจยังไม่เพียงพอ เพราะถ้ามีความรู้แต่ไม่ตระหนัก ไม่ยึดมั่นผูกพันจนถึงขั้นยอมเสียสละ การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนก็จะไม่เกิดขึ้น และอาจไม่บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสำรวจพบว่า ไม่ถึงร้อยละ 5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รับทราบยุทธศาสตร์นี้ผ่านการจัดประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน นั่นมีนัยสำคัญว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหายาเสพติดยังต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อลดช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและภาคประชาชนต่อไป

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า     ตัวอย่าง    ร้อยละ 44.6 เป็นชาย

ร้อยละ 55.4 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.3 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 24.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 62.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 19.4 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 12.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 4.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 ระบุมีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท

ร้อยละ 30.9 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 14.7 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 11.5 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 38.0 ระบุมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”ในช่วงเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา
ลำดับที่          การรับรู้/รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ“ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”          ค่าร้อยละ
1          รับรู้ / รับทราบ                                                               56.2
2          ไม่เคยรับรู้ / ไม่เคยรับทราบ                                                     43.8
          รวมทั้งสิ้น                                                                    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่องทางการรับรู้/รับทราบเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” (เฉพาะผู้ที่รับรู้/รับทราบ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ช่องทางการรับรู้/รับทราบเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”          ค่าร้อยละ
1          โทรทัศน์                                                                  90.9
2          หนังสือพิมพ์                                                                22.0
3          วิทยุ                                                                     20.0
4          ผู้นำในชุมชน / แกนนำชุมชน                                                    6.6
5          วิทยุชุมชน / เสียงตามสาย / หอกระจายข่าว                                       6.5
6          การประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่รัฐ                                                5.8
7          ป้ายประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน / ชุมชน                                              5.8
8          การบอกเล่าของคนในหมู่บ้าน                                                    5.7
9          เอกสาร / สิ่งพิมพ์ / นิตยสาร / แผ่นพับ / จดหมายข่าว                              5.5
10          การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในหมู่บ้าน / ชุมชน                                    5.1
11          คนในครอบครัว                                                             3.9
12          การจัดประชาคมหมู่บ้าน                                                       3.7

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติดในหมู่บ้าน /ชุมชน ในช่วงเดือน  ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา
ลำดับที่          ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน                              รับรู้ / รับทราบ(ค่าร้อยละ)     ไม่รับรู้ / ไม่เคยรับทราบ(ค่าร้อยละ)     รวมทั้งสิ้น
1          การให้ข่าวสารความรู้เรื่องยาเสพติดแก่ประชาชน                                          62.8                       37.2                    100.0
2          การปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติด                                                     59.6                       40.4                    100.0
3          การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด                56.3                       43.7                    100.0
4          การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชน                                     51.6                       48.4                    100.0
5          การรณรงค์ปรับเจตคติเพื่อการยอมรับผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้เลิกยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับสู่สังคม         46.0                       54.0                    100.0
6          การกำจัดแหล่งมั่วสุมเสพยาเสพติด                                                     44.3                       55.7                    100.0
7          การนำผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา                                        42.6                       57.4                    100.0
8          การช่วยเหลือให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้วมีอาชีพ /มีรายได้                                      38.1                       61.9                    100.0
9          การติดตามช่วยเหลือและให้คำปรึกษาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดแล้ว                    35.5                       64.5                    100.0
10          การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด                              33.4                       66.6                    100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรุนแรงของ “สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม”ในหมู่บ้าน/ชุมชน
ลำดับที่          สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม              ค่าร้อยละ
1          รุนแรง-รุนแรงมากที่สุด                              23.2
2          ค่อนข้างรุนแรง                                    28.2
3          ไม่ค่อยรุนแรง                                     22.3
4          ไม่รุนแรง-ไม่มีปัญหาเลย                             26.3
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพยาเสพติด (ผู้เสพ/ผู้ค้า) ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักทรัพย์ของประชาชนที่ประสบอุทกภัย
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                 ค่าร้อยละ
1          คิดว่ามี                                          91.4
2          ไม่มี                                             8.6
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของบุคคล / หน่วยงานต่างๆ
ลำดับที่          ความพึงพอใจ                                      ค่าร้อยละ
1          นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี                       80.0
2          เครือข่ายภาคประชาชน / ภาคเอกชน                         79.4
3          กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด                       77.4
4          พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ          75.1
5          ทหาร / กองทัพ                                         74.1
6          สำนักงาน ป.ป.ส. / สำนักงาน ปปส.ภาค                     73.6
7          พล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  รมว.กระทรวงยุติธรรม             73.0
8          แกนนำชุมชน / กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน                             73.0
9          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ  อบจ. /อบต.                  70.8
10          ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี                     70.6

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม ในช่วง เดือนตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน
ลำดับที่          ความพึงพอใจ          ค่าร้อยละ
1          พอใจ                    76.3
2          ไม่พอใจ                  23.7
          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ด้านอาชญากรรรมและสังคมของประเทศที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขอย่างเร่งด่วน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน                                 ค่าร้อยละ
1          ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้อง ค่าครองชีพของประชาชน                   65.5
2          ปัญหาอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน           62.2
3          ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น                                              59.7
4          ปัญหายาเสพติด                                                    51.4
5          ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม/การเลือกปฏิบัติ                     37.8
6          ปัญหาแกงค์รถซิ่ง                                                   24.9
7          ปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน/การมั่วสุมในสถานที่ต่างๆ                      19.3
8          ปัญหาภาระหนี้สินของประชาชน                                         15.6
9          อื่นๆ อาทิ ปัญหาแรงงานต่างด้าว /การใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและเด็ก           11.5

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด                                                       ค่าร้อยละ
1          ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจตราอย่างเข้มงวด/ไม่ปล่อยปละละเลย /ลงพื้นที่ตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือสถานบริการ/สถานประกอบการอย่างจริงจังต่อเนื่อง    73.1
2          เร่งปราบปรามจับกุม ผู้ค้าผู้มีอิทธิพลที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนให้หมดไป                                                                                54.4
3          เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินงานป้องกันปัญหา ยาเสพติดมากขึ้น                                                        38.4
4          ตรวจสอบและดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนพัวพันกับยาเสพติด                                                               32.3
5          แก้ไขปัญหาการว่างงาน /ส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ /ส่งเสริมอาชีพให้คนในหมู่บ้าน-ชุมชนเพื่อสร้างรายได้                                                    24.1
7          เปิดช่องทางให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติด                                                                                        20.9
8          มีบทลงโทษที่รุนแรง /บังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด                                                                                              9.9
9          ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนทำกิจกรรมร่วมกัน                                                                                          7.7
10          การดูแลช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ                                                                         2.7
11          อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับครอบครัว /ให้มีอาสาสมัครทำหน้าที่ตรวจตราในหมู่บ้าน/ชุมชนในช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น                                   1.9

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ