เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ของคนไทยวันนี้

ข่าวผลสำรวจ Monday March 5, 2012 07:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยา ลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง แนวโน้มความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ของคนไทยวันนี้ กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อ่างทอง ระยอง ราชบุรี นนทบุรี แพร่ พิษณุโลก เชียงใหม่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น สตูล นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,247 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ — 3 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนตัวอย่างระดับครัวเรือน พบว่า

ความสุขมวลรวมของคนไทยเมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน ล่าสุดลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 6.66 ในช่วงเดือนมกราคม เหลือ 6.42 โดยปัจจัยสำคัญที่ฉุดความสุขมวลรวมของคนไทยให้ต่ำลงเป็นเรื่องของปัญหาค่าครองชีพ รายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้ที่เท่าเดิมหรือลดลง และฐานะ เศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่มั่นคง นอกจากนี้ยังรับรู้ถึงความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายการเมือง นักการเมืองที่แก่ง แย่งอำนาจมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของกันและกัน ส่งผลทำให้ความสุขของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมมีเพียง 4.35 คะแนนและ ความสุขต่อรายได้ของตนเองในปัจจุบันอยู่ที่ 4.78 คะแนนเท่านั้นจากคะแนนเต็ม 10

อย่างไรก็ตาม ความสุขของประชาชนสูงสุดใน 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่หนึ่งของความสุขของประชาชนสูงสุดถึง 9.49 คะแนนเมื่อ เห็นคนไทยเป็นหนึ่งเดียวกันแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน อันดับที่สอง ได้แก่ ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวอยู่ที่ 8.07 คะแนน อันดับที่สามได้แก่ ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น การช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ที่ 7.93 คะแนน อันดับที่สี่ ได้แก่ สุขภาพใจ อยู่ที่ 7.79 คะแนน และอันดับที่ห้า ได้แก่ สุขภาพกาย อยู่ที่ 7.38 ตามลำดับ

เมื่อจำแนกความสุขของประชาชนออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ชายมีความสุขมากกว่ากลุ่มผู้หญิง คือผู้ชายมี ความสุขอยู่ที่ 6.53 ในขณะที่ผู้หญิงมีความสุขอยู่ที่ 6.36 โดยเป็นความแตกต่างที่เคยพบในช่วงรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์นั้นผู้หญิงมีความสุขมากกว่าผู้ชาย แต่ในช่วงรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์กลับพบว่าผู้หญิงมีความสุขน้อยกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ภาวะความยากลำบากของผู้หญิงที่ต้องทำงาน หนักในยุคปัจจุบัน การดูแลภาระต่างๆ ในครอบครัว และปัญหาคนรักนอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน โดยเสนอแนะให้มีการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงและลดทอน ปัญหาภาระความยากลำบากต่างๆ ในกลุ่มผู้หญิงเช่นกัน

นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไปเป็นกลุ่มคนไทยที่มีความสุขต่ำสุดคือ 6.34 คะแนน และกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนเป็นกลุ่มคนที่มีความสุขเป็นอันดับรองสุดท้ายคือมีความสุขอยู่ที่ 6.41 คะแนน และที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขสูงสุดคืออยู่ที่ 6.65 รองลงมาคือประชาชนในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 6.54 คนในภาคเหนืออยู่ที่ 6.50 คนในภาค กลางอยู่ที่ 6.40 และต่ำสุดคือคนในภาคใต้อยู่ที่ 5.71 ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ “ในจอทีวีกับในบ้าน” ของ ประชาชนยังไม่ตรงกัน กล่าวคือ ในจอทีวีระบุกันว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจระดับครัวเรือน ในบ้านของประชาชนกำลังมีปัญหา รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้เท่าเดิมหรือลดลง จึงน่าเป็นห่วงเรื่องการคำนวนค่าจีดีพีที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ แท้จริง แต่มาจากข้อมูลที่สะท้อนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มบนยอดปิระมิดของสังคมและเคยเกิดขึ้นในบางประเทศที่ค่าจีดีพีไม่ ได้อยู่บนความเป็นจริงจนส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง โดยภาครัฐจะโหมใช้มาตรการ “ธงฟ้า” ช่วยลดรายจ่ายอาจ ไม่ครอบคลุมพื้นที่และไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน

“นอกจากนี้ที่น่ากังวลต่อประเด็นร้อนทางการเมืองที่ในจอทีวีกับหน้าบ้านและในบ้านของประชาชนจะตรงกันคือ ความขัดแย้งในหมู่ ประชาชนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจลุกลามจากหน้าจอทีวีไปยังแต่ละครัวเรือนและในชุมชน ทำลายบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของประชาชน ตรงตามที่อยู่ในกระแสข่าว ดังนั้นทางออกต่อทั้งสองปัญหาข้างต้น ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องทำให้การแก้ปัญหาปากท้อง เช่น ราคาสินค้าและบริการ ที่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน และต้องทำให้นโยบายการกระจายทรัพยากรไปยังครัวเรือนต่างๆ เป็นไปอย่างทั่วถึง ส่วนความขัดแย้งในหมู่ ประชาชนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องพยายามทำให้เป็นเรื่องของเหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึกและการใช้ความรุนแรง ฝ่ายการเมืองต้องไม่ทำ ให้รู้สึกว่า รัฐธรรมนูญทำให้พวกเขาเจ็บปวดเพราะระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ แต่ต้องทำให้สาธารณชนเห็นว่า แก้ไขแล้วคุณภาพชีวิตของ ประชาชนแต่ละคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศจะดีอย่างไร ประเทศชาติโดยส่วนรวมจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง แก้ไขแล้วจะไปเพิ่มความสุขให้กับประชาชนได้ อย่างไร แต่ข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงนี้กลับทำให้ประชาชนเป็นสุขน้อยลงและกำลังเกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง” ดร.นพดล กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 เป็นชาย ร้อยละ 50.7 เป็นหญิง ร้อยละ 5.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 15.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 30.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 85.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 12.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.3 สำเร็จ การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 34.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 6.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/ พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 2.2 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10

มี.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ต.ค. พ.ย. ม.ค. ก.ค. ก.ย. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. มี.ค. ต้นก.ค. ปลายก.ค. ม.ค. ก.พ.

ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย         52     52     52     52     52     52     53     53     53     53     53     54     54      54        54      55     55
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)  6.18   7.15   5.92   7.18   6.83   7.52   6.52   6.77   6.57   5.42  8.37   5.28   6.61     7.55     6.80     6.66   6.42

หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                        ค่าเฉลี่ย
1          เห็นคนไทยเป็นหนึ่งเดียวแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน                9.49
2          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                         8.07
3          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน      7.93
4          สุขภาพทางใจ                                              7.79
5          สุขภาพทางกาย                                             7.38
6          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์           7.24
7          ระบบการศึกษาของประเทศ                                    6.89
8          หน้าที่การงาน  อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน                           6.84
9          วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                                 6.73
10          การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ได้รับ                      6.62
11          ความเป็นธรรมในสังคม/ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ            5.83
12          การทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประสบพบเห็นในช่วง 30 วัน          5.67
13          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                                  5.37
14          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                         4.99
15          รายได้ของตนเองในปัจจุบัน                                   4.78
16          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                               4.35
          ความสุขมวลรวม ของคนไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555              6.42

ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศโดยภาพรวม จำแนกตามเพศ
                                                  เพศชายค่าเฉลี่ย          เพศหญิงค่าเฉลี่ย
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness)                             6.53                 6.36

ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศโดยภาพรวม จำแนกตามอาชีพ
            ทัศนคติ                          ข้าราชการ    พนักงาน    ค้าขาย   นักเรียน   รับจ้าง    แม่บ้าน
    ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย        รัฐวิสาหกิจ    เอกชน     ส่วนตัว   นักศึกษา  เกษตรกร  เกษียณอายุ
 ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness)     6.45        6.41      6.45    6.46     6.34     6.44

ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศโดยภาพรวม จำแนกตามภูมิภาค
            ทัศนคติ                                  เหนือ    กลาง   ตะวันออกเฉียงเหนือ   ใต้      กทม.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
 ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness)            6.50    6.40        6.65        5.71    6.54

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ