เอแบคโพลล์: สำรวจพฤติกรรมการซื้อและใช้สมาร์ทโฟนของกลุ่มเฟสบุ๊คลิซึ่ม (Facebooklism)

ข่าวผลสำรวจ Thursday March 15, 2012 08:22 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สำรวจพฤติกรรมการซื้อและใช้สมาร์ทโฟนของกลุ่มเฟสบุ๊คลิซึ่ม (Facebooklism) ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 641 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1—14 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลฟรีได้ที่ www.abacpolldata.au.edu

ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างที่มีพฤติกรรมติดเฟสบุ๊คหรือชาวเฟสบุ๊คลิซึ่มส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ใช้เฟสบุ๊คผ่านคอมพิวเตอร์ (PC) รองลงมาคือ ร้อยละ 65.9 ผ่านโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 43.3 ผ่านแล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊ค และร้อยละ 6.9 ผ่านแท็บเล็ต ที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.8 มีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง

เมื่อสอบถามถึงประเภทของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 62.7 ใช้สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ ซัมซุงกาแลคซี่ รองลงมาคือร้อยละ 37.3 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี (ไม่ใช่สมาร์ทโฟน) ร้อยละ 7.7 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม และร้อยละ 5.8 ใช้โทรศัพท์มือถือประเภท หน้าจอขาว-ดำ ตามลำดับ และราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 9,272 บาท

ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.2 มีแผนจะซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยร้อยละ 97.5 ตั้งใจจะซื้อสมาร์ทโฟน โดยร้อยละ 45.7 เตรียมเงินไว้สำหรับซื้อสมาร์ทโฟนกว่า 15,000 บาทขึ้นไป

          ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สิ่งที่ชาวเฟสบุ๊คลิซึ่มมักทำเป็นอันดับแรกเมื่อเข้าเฟสบุ๊ค  คือ การเช็คดูว่ามีเพื่อน/คนรู้จักมา Comment หรือกด Like ข้อความหรือรูปภาพที่ตนอัพเดทไว้หรือไม่ หลังจากนั้น จึงไปดูที่หน้า Home เพื่ออัพเดทข่าวสารของเพื่อน/คนรู้จัก        หากเพื่อน/คนรู้จัก ได้อัพเดท Status หรือรูปภาพที่น่าสนใจ ก็มักจะคลิก Like หรือ Comment ในทันที และเมื่อสอบถามถึงการตอบรับเป็นเพื่อน (Add Friend) พบว่า ส่วนใหญ่มักดูว่ารู้จักผู้ที่มาขอเป็นเพื่อนหรือไม่ หากเป็นเพื่อน/คนรู้จัก ก็จะรับ หากไม่รู้จักก็จะพิจารณาที่หน้าตาว่าน่าสนใจหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาจำนวนเพื่อนในเฟสบุ๊คของคนที่ถูกศึกษากลับพบว่ามีมากเฉลี่ยอยู่ที่ 300 คน แต่ในชีวิตจริงมีเพื่อนสนิทที่พบปะสังสรรค์กันอยู่น้อยกว่า 15 คน แสดงให้เห็นว่า เพื่อนในโลกความเป็นจริงไม่ได้มีอยู่ในจำนวนมากเท่ากับโลกเฟสบุ๊ค และเมื่อสอบถามถึงความกังวลต่อปัญหาการล่อลวง หรืออาชญากรรม   ที่เกิดจากเฟสบุ๊ค พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้กังวลใจอะไร เนื่องจากมั่นใจว่าสามารถดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ แต่มีบางส่วนที่กังวลในเรื่องของข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล
          ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง           ร้อยละ 45.2 เป็นชาย

และร้อยละ 54.8 เป็นหญิง

                              โดยตัวอย่าง           ร้อยละ 48.7 มีอายุระหว่าง 15 — 24 ปี

ร้อยละ 29.8 มีอายุระหว่าง 25 — 33 ปี

ร้อยละ 9.6 มีอายุระหว่าง 34 — 39 ปี

และร้อยละ 11.9 มีอายุระหว่าง 40 — 50 ปี

สำหรับรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0 ระบุรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท

ร้อยละ 36.2 ระบุรายได้ 20,000-39,999 บาท

ร้อยละ 9.9 ระบุรายได้ 40,000-49,999 บาท

และร้อยละ 25.9 ระบุรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป

ด้านการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 44.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 45.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 10.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเฟสบุ๊ค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          อุปกรณ์ที่ใช้เข้าเฟสบุ๊ค            ค่าร้อยละ
1          คอมพิวเตอร์ (PC)                    70.9
2          โทรศัพท์มือถือ                        65.9
3          แล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊ค                   43.3
4          แท็บเล็ต                             6.9

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุจำนวนโทรศัพท์มือถือที่มี
ลำดับที่          จำนวนโทรศัพท์มือถือที่มี     ค่าร้อยละ
1          1 เครื่อง                    74.2
2          2 เครื่อง                    21.9
3          มากกว่า 2 เครื่อง              3.9
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้                         ค่าร้อยละ
1          สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ ซัมซุงกาแลคซี่          62.7
2          โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี แต่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน            37.3
3          โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม                             7.7
4          โทรศัพท์มือถือประเภท หน้าจอขาว-ดำ                      5.8

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละ ของตัวอย่าง ที่ระบุราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้
ลำดับที่          ราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้                          ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 5,000 บาท                                  24.2
2          5,000 บาท ถึง ไม่เกิน 10,000 บาท                    38.5
3          10,000 บาท ถึง ไม่เกิน 15,000 บาท                   21.2
4          15,000 บาท ถึง ไม่เกิน 20,000 บาท                    9.6
5          20,000 บาท ขึ้นไป                                   6.5
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0
          *หมายเหตุ          ราคาโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่เฉลี่ย 9,272 บาท

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการมีแผนจะซื้อโทรศัพท์มือถือในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่          การมีแผนจะซื้อโทรศัพท์มือถือในอีก 3 เดือนข้างหน้า     ค่าร้อยละ
1          มีแผน                                             31.2
2          ไม่มีแผน                                           68.8
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุประเภทโทรศัพท์มือถือที่ตั้งใจจะซื้อ (เฉพาะตัวอย่างที่มีแผนจะซื้อโทรศัพท์มือถือ ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประเภทโทรศัพท์มือถือที่ใช้                        ค่าร้อยละ
1          สมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ ซัมซุงกาแลคซี่          97.5
2          โทรศัพท์มือถือประเภท 2 ซิม                             1.3
3          โทรศัพท์มือถือประเภทหน้าจอสี แต่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน             1.3

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละ ของตัวอย่าง ที่ระบุจำนวนเงินที่เตรียมไว้สำหรับซื้อสมาร์ทโฟน (เฉพาะตัวอย่างที่มีแผนจะซื้อโทรศัพท์มือถือ)
ลำดับที่          จำนวนเงินที่เตรียมไว้สำหรับซื้อสมาร์ทโฟน            ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 5,000 บาท                                   8.6
2          5,000 บาท ถึง ไม่เกิน 10,000 บาท                    30.9
3          10,000 บาท ถึง ไม่เกิน 15,000 บาท                   14.8
4          15,000 บาท ขึ้นไป                                  45.7
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0
          *หมายเหตุ          จำนวนเงินที่เตรียมไว้สำหรับซื้อสมาร์ทโฟนเฉลี่ย 15,699 บาท

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ