เอแบคโพลล์: ภาพลักษณ์ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยปัจจุบัน

ข่าวผลสำรวจ Thursday December 8, 2005 11:04 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
ในปัจจุบันอัตราการหย่าร้างหรือแยกทางกันของคู่สมรสมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการหย่าร้างที่เกิดขึ้นในครอบครัว โดยเฉพาะ
ครอบครัวที่มีลูก ส่งผลให้ผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกเพียงลำพัง ซึ่งเรียกว่า “ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว” ครอบครัวเหล่านี้ต้องการการเอาใจ
ใส่ดูแลจากสังคมเป็นพิเศษ การสร้างความเข้าใจและมีมุมมองที่ถูกต้องต่อครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อนำไปสู่การพิจารณา
สาเหตุที่ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว รวมทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเหล่านี้
สามารถดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุขต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของ
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยการสำรวจความคิดเห็น มุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในมิติต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคม
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายแก้ปัญหาครอบครัวของรัฐบาลและภาคเอกชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ภาพลักษณ์ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย
ปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 3 — 7 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,402 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.9 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 46.1 เป็นเพศชาย โดยตัวอย่างร้อย
ละ 24.8 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.5 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 24.0 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 22.4 มีอายุระหว่าง
40-49 ปี และร้อยละ 4.3 มีอายุระหว่าง 18-19 ปี ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 52.9 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ
24.4 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 13.5 ระบุ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 43.3 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว ร้อยละ 18.5 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6 ประกอบ
อาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 8.4 เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 8.1 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเกษียณอายุ ร้อยละ 5.4 ประกอบอาชีพรับ
ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.4 ประกอบอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
เมื่อพิจารณาสถานภาพสมรสของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.9 ระบุสมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 32.4 มีสถานภาพโสด และ
ตัวอย่างร้อยละ 13.7 มีสถานภาพม่าย/หย่า/แยกกันอยู่
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ภาพลักษณ์ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยปัจจุบัน :
กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,402 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3 — 7 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการ
สำรวจ มีดังนี้
จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกเพียงลำพังส่วนใหญ่จะเป็นแม่ (ร้อยละ 59.0) มากกว่าพ่อ
(ร้อยละ 17.9) ที่ต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพัง นอกจากนั้นจะเป็นลูกที่ถูกเลี้ยงมาในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ร้อยละ 23.1) โดยกลุ่มตัวอย่างได้ระบุ
ว่า ผู้เป็นลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด (ร้อยละ 50.1) มากกว่าพ่อหรือแม่ที่รับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง (ร้อยละ 34.1)
ในแง่ของปัญหาสังคมกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จากการสำรวจมุมมองของประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นเหตุให้เกิด
ปัญหาสังคม (ร้อยละ 53.7) โดยให้เหตุผลว่า เพราะครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดที่พึ่ง (ร้อยละ 38.3) ดูแลไม่ทั่วถึง ไม่มีเวลาให้ลูก (ร้อยละ
17.9) และทำให้ลูกมีปมด้อย ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา (ร้อยละ 16.3) ส่วนผู้ที่เห็นว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวไม่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม (ร้อยละ
28.9) ให้เหตุผลว่า ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ของพ่อแม่ (ร้อยละ 56.3) ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล (ร้อยละ 33.3) และยังมีครอบครัวญาติพี่น้องคน
อื่นๆ ดูแลอยู่ (ร้อยละ 4.0)
อย่างไรก็ตาม ประชาชนครึ่งหนึ่งได้แสดงความเป็นห่วงต่อครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวว่า เป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ถึงร้อยละ 50.1
โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น (ร้อยละ 25.9) ทำให้ลูกขาดการอบรม ได้รับเอาใจใส่ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 22.2) และทำให้ลูก
กลายเป็นเด็กมีปัญหา ลูกโตมาเจอกับปัญหาครอบครัว (ร้อยละ 17.7) ส่วนผู้ที่เห็นว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวไม่เป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ (ร้อยละ
25.5) เนื่องจากขึ้นอยู่กับตัวพ่อ แม่ และเด็ก (ร้อยละ 34.8) ครอบครัวยังให้ความอบอุ่นอยู่ (ร้อยละ 28.5) และอยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่
(ร้อยละ 25.7)
เมื่อพิจารณาในแง่ของปัญหาสังคมกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญและ
แสดงความเป็นห่วงต่อผู้ที่เป็นลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นพิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจข้างต้นที่ได้ระบุว่า ประชาชนเหล่านี้เห็นว่า ผู้เป็น
ลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะได้รับผลกระทบมากกว่าพ่อหรือแม่ที่รับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนั้น ผลการสำรวจในภาพรวมพบว่า เกิดจากสาเหตุพ่อแม่ไม่เข้าใจกัน ไม่คุยกัน คุยกันไม่รู้
เรื่อง ทะเลาะกัน (ร้อยละ 38.7) พ่อแม่แยกทางกัน หย่าร้าง (ร้อยละ 23.8) และเกิดจากความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจการเงิน เงินไม่เพียงพอ
(ร้อยละ 21.3) แต่เมื่อสำรวจในมิติต่างๆ จากทั้งผู้ที่เป็นพ่อ แม่ ลูก บุคคลรอบข้าง และสังคม ถึงพฤติกรรมหรือสิ่งที่คนเหล่านี้กระทำจนเป็นสาเหตุทำ
ให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย พบว่า พฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นพ่อและแม่กระทำจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะมีลักษณะคล้าย
คลึงกันอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การมีคู่สมรสหรือแฟนใหม่ และความเจ้าชู้ของพ่อและแม่ (ร้อยละ 42.1 เป็นของพ่อ และร้อยละ
22.2 เป็นของแม่) การดื่มเหล้า ยาเสพติด ติดการพนัน เล่นหวยของพ่อและแม่ (ร้อยละ 34.1 เป็นของพ่อ และร้อยละ 21.0 เป็นของแม่) และ
ความไม่รับผิดชอบ ไม่เอาใจใส่ครอบครัวของพ่อและแม่ (ร้อยละ 21.4 เป็นของพ่อ และร้อยละ 15.7 เป็นของแม่) ในมิติของบุคคลรอบข้างที่มีส่วน
ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ การยุแหย่ คำพูด และการดูถูกจากบุคคลรอบข้าง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากที่สุด (ร้อย
ละ 81.8) ชวนเที่ยว ติดเพื่อน (ร้อยละ 8.2) และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบในสังคม (ร้อยละ 6.2) ในมิติของสังคมที่มีส่วนทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยง
เดี่ยว ได้แก่ สังคมขาดระเบียบวินัย (ร้อยละ 22.3) การยุแหย่ คำพูด และการดูถูกจากสังคมรอบข้าง (ร้อยละ 15.9) และสังคมมีความเจริญ
ทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ (ร้อยละ 13.5)
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่พบจากการสำรวจ คือ ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้ระบุถึงข้อดีของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวว่า ทำให้ลูกมีความกล้า
ตัดสินใจ รู้จักช่วยเหลือตัวเอง มีความเข้มแข็งขึ้น (ร้อยละ 23.5) ทำให้มีความใกล้ชิด มีความอบอุ่น และมีความสุขในครอบครัวมากขึ้น (ร้อยละ
22.2) และพ่อแม่รักลูกเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องอยู่กันตามลำพัง ทำให้ลูกๆ ได้รับความรักอย่างเต็มที่ สามารถดูแลลูกๆ ได้เต็มที่ (ร้อยละ 19.1) ส่วน
ข้อเสียของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น ดูแลไม่ทั่วถึง (ร้อยละ 38.6) ทำให้พ่อแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกเพียงคน
เดียว ต้องทำงานและรับภาระมากขึ้น (ร้อยละ 23.5) และทำให้ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา มีปมด้อย และไม่มีแบบอย่างที่ดี (ร้อยละ 21.7)
สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้ครอบครัวเกิดความแตกแยกหรือทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทยที่ได้จากการสำรวจ
ครั้งนี้ ได้แก่ ให้คุยกันในครอบครัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีเวลาคุยกันให้มากขึ้น (ร้อยละ 46.3) ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกให้มาก สร้างความ
อบอุ่นในครอบครัว ดูแลเอาใจใส่กันให้มากขึ้น (ร้อยละ 27.4) และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ให้เวลากันมากขึ้น (ร้อยละ 9.9)
ส่วนผลสำรวจเกี่ยวกับแนวนโยบายแก้ปัญหาครอบครัวของรัฐบาลและภาคเอกชน ในประเด็นของการที่รัฐบาลประกาศให้วันอาทิตย์เป็นวัน
ครอบครัวนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.0) เห็นด้วย โดยมีการเสนอให้รัฐบาลจัดกิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไปสำหรับครอบครัวในวันอาทิตย์
ได้แก่ ให้มีกิจกรรมครอบครัวที่สวนสาธารณะ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา (ร้อยละ 46.6) จัดแคมป์เป็นครอบครัว พาไปเที่ยว จัดทัวร์ครอบครัว รับ
ประทานอาหาร (ร้อยละ 35.7) และจัดให้มีการเล่นเกมส์ นันทนาการ กิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน (ร้อยละ 17.5)
สำหรับประเด็นของการที่ให้ห้างสรรพสินค้าทั่วไปควรมีพื้นที่ให้ลูกค้าที่มาห้างกันเป็นครอบครัวทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันนั้น ประชาชนส่วน
ใหญ่ (ร้อยละ 81.8) เห็นด้วย อีกร้อยละ 10.7 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 7.5 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้าย คือ การสำรวจความคิดเห็นต่อการที่รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนตอบแทนภาคเอกชนที่ส่งเสริมนโยบายแก้ปัญหาสังคม
ของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.1) เห็นด้วยที่รัฐบาลควรช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านนี้ ในขณะที่ ส่วนน้อย (ร้อยละ 6.7) ไม่เห็นด้วย
และอีกร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานภาพของครอบครัว
ลำดับที่ สถานภาพของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 29.1
2 ไม่เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 70.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
โดยผู้ที่ระบุว่า เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว สามารถจำแนกสถานภาพได้ ดังนี้
1. เป็นพ่อที่เลี้ยงดูลูกตามลำพัง ร้อยละ 17.9
2. เป็นแม่ที่เลี้ยงดูลูกตามลำพัง ร้อยละ 59.0
3. เป็นลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ร้อยละ 23.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ ที่รู้จัก
ลำดับที่ ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ ที่รู้จัก ค่าร้อยละ
1 มี 48.4
2 ไม่มี 51.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่รู้จักโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ครอบครัว
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
ลำดับที่ บุคคลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ค่าร้อยละ
1 พ่อหรือแม่ที่รับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง 34.1
2 ลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว 50.1
3 ไม่มีความเห็น 15.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม 53.7
2 ไม่เป็น 28.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. ขาดความอบอุ่น / ขาดที่พึ่ง ร้อยละ 38.3
2. ดูแลไม่ทั่วถึง / ไม่มีเวลาให้ลูก ร้อยละ 17.9
3. ลูกมีปมด้อย / ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา ร้อยละ 16.3
4. ขาดการอบรม / ขาดการดูแลเอาใจใส่ ร้อยละ 9.3
5. เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.0
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ไม่ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ของพ่อแม่ ร้อยละ 56.3
2. ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ร้อยละ 33.3
3. มีครอบครัว ญาติพี่น้องคนอื่น คอยดูแลอยู่ ร้อยละ 4.0
4. มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เป็นอยู่ คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ร้อยละ 4.0
5. ครอบครัวมีฐานะดี ร้อยละ 2.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ ค่าร้อยละ
1 ใช่ 50.1
2 ไม่ใช่ 25.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่ง (5 อันดับแรก) ได้แก่
1. ขาดความอบอุ่น / ไม่อบอุ่น ร้อยละ 25.9
2. ขาดการอบรม / ไม่มีการอบรม / เอาใจใส่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 22.2
3. ลูกเป็นเด็กมีปัญหา / ลูกโตมาเจอกับปัญหาครอบครัว ร้อยละ 17.7
4. เกิดความยากจน / ว่างงาน / เศรษฐกิจ ร้อยละ 8.4
5. ครอบครัวไม่สมดุล ร้อยละ 6.3
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวไม่ใช่ปัญหาสังคม(5 อันดับแรก) ได้แก่
1. ขึ้นอยู่กับตัวพ่อ / แม่ / เด็ก ร้อยละ 34.8
2. ครอบครัวยังให้ความอบอุ่นอยู่ ร้อยละ 28.5
3. อยู่ที่การดูแล เอาใจใส่ เลี้ยงดูของพ่อแม่ ร้อยละ 25.7
4. เป็นครอบครัวมีฐานะสามารถเลี้ยงดูโดยไม่เกิดปัญหาสังคม ร้อยละ 4.7
5. สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 4.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ค่าร้อยละ
1 พ่อแม่ไม่เข้าใจกัน/ไม่คุยกัน/คุยกันไม่รู้เรื่อง/ทะเลาะกัน 38.7
2 พ่อแม่แยกทางกัน/หย่าร้าง 23.8
3 ความยากจน/ปัญหาเศรษฐกิจ การเงิน/เงินไม่เพียงพอ 21.3
4 พ่อแม่เสียชีวิต/อุบัติเหตุ/โรคภัยไข้เจ็บ 12.2
5 พ่อมีภรรยาน้อย/แม่มีสามีใหม่/พ่อแม่มีครอบครัวใหม่ 12.1
6 พ่อแม่ไม่รับผิดชอบ/พ่อแม่เห็นแก่ตัว 7.1
7 ศีลธรรมเสื่อม/วัฒนธรรมเสื่อม/สังคมไม่มีระเบียบ / สภาพสังคมปัจจุบัน 6.0
8 พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัด/สภาพการทำงานไม่เอื้ออำนวย 5.7
9 มีครอบครัวเร็วเกินไป/มีครอบครัวเมื่อยังไม่พร้อม / มีลูกมาก 5.3
10 พ่อแม่กินเหล้าเมายา/ติดยาเสพติด /เที่ยวกลางคืน 5.1
11 อื่นๆ อาทิ ไม่สนใจลูก/พ่อแม่ไม่มีเวลา/การฝากลูกให้ญาติเลี้ยง/ให้คนอื่นเลี้ยงลูกให้ เป็นต้น 8.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อดีของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดีของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ค่าร้อยละ
1 ทำให้ลูกมีความกล้าตัดสินใจ / ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเอง / มีความเข้มแข็งขึ้น 23.5
2 มีความสุข / อบอุ่นในครอบครัว / มีความใกล้ชิดกันในครอบครัวมากขึ้น 22.2
3 พ่อ/แม่รักลูกเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องอยู่กันลำพัง / ลูกๆได้รับความรักเต็มที่ / ดูแลลูกได้เต็มที่ 19.1
4 มีอิสระในการปกครองลูก / มีอิสระในการครองตน 13.7
5 ไม่ต้องแบ่งค่าใช้จ่ายกัน / ลดภาระลง 10.0
6 พ่อแม่มีความรับผิดชอบมากขึ้น / ขยันทำงานมากขึ้น 8.9
7 สบายใจดี / สบายกายดี 8.0
8 อื่นๆ อาทิ หลีกเลี่ยงความรุนแรง ลูกเชื่อฟังพ่อ / แม่มากขึ้น 5.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสียของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสียของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ค่าร้อยละ
1 ครอบครัวขาดความอบอุ่น / ดูแลไม่ทั่วถึง 38.6
2 ต้องรับภาระเลี้ยงลูกเพียงคนเดียว / ทำงานเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว / ต้องรับภาระมากขึ้น 23.5
3 ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา / มีปมด้อย / ไม่มีแบบอย่างที่ดี 21.7
4 พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดู / ไม่มีเวลาให้ลูก 12.5
5 ครอบครัวไม่สมบูรณ์ / ไม่เข้าใจกัน / ปัญหาครอบครัว 9.3
6 เกิดความท้อแท้ / หมดกำลังใจ / ขาดที่ปรึกษา 7.3
7 เป็นปัญหาสังคม 5.5
8 ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว / ไม่มีเวลาให้ลูก 5.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นพ่อกระทำ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิด
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นพ่อกระทำ ค่าร้อยละ
1 มีภรรยาใหม่ / เจ้าชู้ 42.1
2 กินเหล้า / ยาเสพติด 34.1
3 ไม่รับผิดชอบ 21.4
4 ติดการพนัน / หวย 15.4
5 แยกทางกัน / ไม่เข้าใจกัน 5.3
6 ติดเพื่อน 5.1
7 ไม่มีเวลาให้ครอบครัว 5.0
8 อื่นๆ อาทิ เสียชีวิตก่อน เข้ากับลูกไม่ได้ เป็นต้น 10.9
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นแม่กระทำ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิด
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นแม่กระทำ ค่าร้อยละ
1 มีสามีใหม่ / เจ้าชู้ 22.2
2 เล่นการพนัน / หวย 21.0
3 ไม่รับผิดชอบ / ไม่ทำมาหากิน / ไม่เอาใจใส่ 15.7
4 ขี้บ่นจุกจิก 8.5
5 ชอบออกสังคม / เที่ยว 7.2
6 ไม่เข้าใจกัน / ทะเลาะกัน 6.8
7 ขาดความเป็นแม่ / ทำตัวไม่ดี 6.7
8 ไม่มีเวลาให้ครอบครัว 6.1
9 กินเหล้า 5.0
10 เห็นแก่ตัว 4.5
11 อื่นๆ อาทิ ทำงานนอกบ้าน มีความอดทนน้อย เป็นต้น 14.2
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นลูกกระทำ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิด
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้ที่เป็นลูกกระทำ ค่าร้อยละ
1 เกเร / ดื้อด้าน 42.3
2 คบเพื่อนไม่ดี / ติดเพื่อน 27.2
3 ขาดความรัก / ความอบอุ่น / มีปมด้อย 16.6
4 ก้าวร้าว / พ่อแม่ทะเลาะกันทำให้ลูกเกิดความไขว้เขว 15.9
5 ห่วงเล่นมากกว่าเรียน / ไม่รับรู้ปัญหาสนุกไปวันๆ 10.2
6 ความรู้สึกนึกคิดของเด็ก 5.8
7 เก็บกด 3.2
8 อื่นๆอาทิ สังคมพาไป ค่านิยมที่ผิด เป็นต้น 1.8
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมหรือสิ่งที่บุคคลรอบข้างกระทำ จนเป็นสาเหตุทำให้
เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมหรือสิ่งที่บุคคลรอบข้างกระทำ ค่าร้อยละ
1 การยุแหย่จากคนรอบข้าง / คำพูดของคนรอบข้าง / ชอบซ้ำเติม / การดูถูกของคนในสังคมรอบข้าง 81.8
2 ชวนเที่ยว / ติดเพื่อน 8.2
3 เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในสังคม 2.6
4 ไม่กล้าช่วยเหลือเพราะกลัวมีปัญหาตามมา 1.8
5 ไม่มีบุคคลที่คอยให้คำปรึกษา / แนะนำในสิ่งที่ดีหรือทางออกที่ดี 1.6
6 อื่นๆอาทิ เป็นสังคมที่ต้องแข่งขันกันมากขึ้น สังคมขาดระเบียบวินัย เป็นต้น 6.8
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมหรือสิ่งที่สังคมทำให้เกิด จนเป็นสาเหตุทำให้เกิด
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมหรือสิ่งที่สังคมทำให้เกิด ค่าร้อยละ
1 สังคมขาดระเบียบวินัย 22.3
2 การยุแหย่จากคนรอบข้าง / คำพูดของคนรอบข้าง / ชอบซ้ำเติม / การดูถูกของคนในสังคมรอบข้าง 15.9
3 วัตถุเจริญมากกว่าจิตใจ / มีความเจริญเร็วมากเกินไป 13.5
4 สภาพเศรษฐกิจ 13.0
5 เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในสังคม 11.1
6 เป็นสังคมที่ต้องแข่งขันกันมากขึ้น 9.8
7 สถานบันเทิงมีมาก มีผลทำให้อยากไปเที่ยว 7.4
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ