เอแบคโพลล์: เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจฯ และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ : อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด

ข่าวผลสำรวจ Thursday October 6, 2005 13:50 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเกิดขึ้นแทบทุกสัปดาห์ มีทั้งเยาวชนที่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับสังคม แกงค์รถซิ่งกวนเมือง การทะเลาวิวาทของนักเรียนอาชีวะจนถึงขั้นเสียชีวิต การ รุมข่มขืน และข่าวคราวที่เยาวชนเป็นผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงก็มีเกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วยเช่นกัน เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ดูเหมือนว่ากำลังทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นทุกขณะทั้งที่ได้มีการพยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถยุติความรุนแรงลงได้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรร่วมกันพิจารณาอย่างเร่งด่วนในสภาวการณ์เช่นนี้ ก็คือการค้นหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เด็กใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ด้วยการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อที่เราจะสามารถลดความรุนแรง ในสังคมลงได้อย่างแท้จริง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลทำให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่รุนแรง โดยได้เริ่มดำเนินการศึกษากลุ่มเยาวชนชายในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย 1. เพื่อสำรวจการทำกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชนก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ 2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในสถานพินิจฯ ต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน 3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในสถานพินิจฯ เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทยในปัจจุบัน 4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไประเบียบวิธีการทำโพลล์ โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจและเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ :อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด” โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กันยายน -5 ตุลาคม 2548 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เยาวชนชายในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงตัวอย่างเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 609 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้ดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นผู้สนับสนุนลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 93.3 ระบุอายุระหว่าง 15-25 ปี ร้อยละ 6.7 ระบุอายุระหว่าง 7- 14 ปี คณะผู้วิจัยทำการสำรวจเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนโดยแยกเป็น 2 ส่วน คือเก็บข้อมูลจากสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน คิดเป็นร้อยละ 81.5 และจากสถานีตำรวจคิดเป็นร้อยละ 18.5 ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 93.3 ระบุระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดคือต่ำกว่า ม.3 ร้อยละ 5.1 ระบุระดับการศึกษา ม.6/ปวช. ร้อยละ 1.3 ระบุระดับการศึกษา ป.ว.ส./อนุปริญญา และร้อยละ 0.3 ระบุการศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ศาสนาที่เด็กและเยาวชนนับถือ พบว่า ร้อยละ 91.7 ระบุนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 7.9 ระบุนับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.4 ระบุนับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 40 ระบุบิดา/ผู้นำครอบครัวของตนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/รายย่อย ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 7.8 ระบุอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพผู้ประกอบการ/เจ้าชองกิจการ ร้อยละ 2.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.2 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพอื่น ๆ บทสรุปผลสำรวจ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจและเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ :อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด” ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากเยาวชนอายุ 7-25 ปี ในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นผู้ก่อคดีเกี่ยวกับความรุนแรง เช่น การฆ่าคนตาย การพยายามฆ่า การก่อเหตุทะเลาะวิวาท คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ และคดีเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวนทั้งสิ้น 609 ตัวอย่าง มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กันยายน- 5 ตุลาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้ ผลการสำรวจการพักอาศัยของตัวอย่างก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.6 ระบุพักอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ รองลงมาคือร้อยละ 19.7 พักอาศัยอยู่กับญาติ/พี่น้อง ร้อยละ 18.8 พักอยู่กับแม่ ร้อยละ 12.9 อยู่กับพ่อ และร้อยละ 7.1 ระบุพักอาศัยอยู่กับเพื่อน ตามลำดับ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเข้าร่วมกิจกรรมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ตัวอย่างระบุได้เข้าร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ การเล่นกีฬา (ร้อยละ 88.1) ทำงานหารายได้พิเศษ (ร้อยละ 71.3) และ ทานอาหารร่วมกันกับคนในครอบครัวบ่อยๆ ประมาณ 4 วันขึ้นไปใน 1 สัปดาห์ (ร้อยละ 69.3) ในขณะที่กิจกรรมไม่สร้างสรรค์ที่ตัวอย่างระบุเข้าร่วมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้แก่ เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 89.7) สูบบุหรี่ (ร้อยละ 85.1) การเที่ยวกลางคืน (ร้อยละ 78.3) ดูหนังสือ/อินเตอร์เน็ต/ภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศหรือสื่อลามก (ร้อยละ 76.9) และการดื่มเหล้า (ร้อยละ 64.8) ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงพฤติกรรมการดื่นเหล้าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเคยดื่มเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้วต่อวัน) ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุไม่เคย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมุ่งประเด็นถึงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง คณะผู้วิจัยได้สอบถามข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป โดยได้เริ่มจากคำถามเกี่ยวกับระดับผลการเรียนของตัวอย่างในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.7 ระบุเกรดเฉลี่ยไม่เกิน 2.00 ร้อยละ 25.1 ระบุเกรดเฉลี่ย 2.01-2.99 มีเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 40.4 ไม่ได้เรียนหนังสือและเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ พบว่าร้อยละ 61.4 ระบุปัญหาเรื่องครอบครัว ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุปัญหาเรื่องแฟน/คู่รัก ร้อยละ 29.7 ปัญหาเรื่องเพื่อน ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงวิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.9 หาทางออกด้วยการฟังเพลง ร้อยละ 57.9 ปรึกษาพ่อแม่/ญาติผู้ใหญ่ ร้อยละ 54.8 ปรึกษาเพื่อน ร้อยละ 50.6 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา และร้อยละ 50.3 ระบุอยู่ตามลำพังคนเดียว เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการพบเห็นการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงภายในครอบครัวนั้นพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 ระบุพบเห็นมากที่สุด/มาก ร้อยละ 7.3 ระบุพบเห็นค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุค่อนข้างน้อย และ ร้อยละ 58.4 ระบุน้อย/ไม่มีเลย ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการถูกจับกุมดำเนินคดีของกลุ่มคนที่รู้จัก/สนิทสนมพบว่า “เพื่อน” คือคนใกล้ชิดที่ถูกจับกุมดำเนินคดีมากที่สุด โดยร้อยละ 64.2 มีเพื่อนถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 53.0 คดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 50.9 คดีเกี่ยวกับการพกพาอาวุธ และร้อยละ 36.1 คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง สื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงของวัยรุ่นได้ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.1 ระบุการชักจูงจากเพื่อน ร้อยละ 56.1 ระบุ ภาพยนตร์ร้อยละ 40.6 ระบุข่าวความรุนแรงที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ร้อยละ 32.7 ระบุรายการทีวี ร้อยละ 31.9 ระบุอินเตอร์เน็ต และร้อยละ 17.0 ระบุหนังสือนิยาย/การ์ตูน ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ การพบเห็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนพกพาอาวุธเข้ามาในโรงเรียน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกมีดปลายแหลมมาโรงเรียน ร้อยละ 34.4 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกปืนมาโรงเรียน ร้อยละ 19.9 เคยเห็นเพื่อนพกระเบิดมาโรงเรียน และร้อยละ25.0 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกอาวุธอื่น ๆ มาโรงเรียน เช่น คัตเตอร์/สนับมือ/ไม้หน้าสาม เป็นต้น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุคิดว่าสามารถหามาได้ ในขณะที่ ร้อยละ 38.1 ระบุคิดว่าหาไม่ได้ และร้อยละ 5.9 ไม่แน่ใจว่าจะสามารถหาได้หรือไม่ ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อถึงความคิดเห็นกรณี จากข่าวนักเรียนใช้อาวุธปืนยิงคนอื่นที่ปรากฏออกมาในขณะนี้ มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ ก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.2 ระบุมีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุไม่มีผล (ดำเนินชีวิตปกติเหมือนเดิม) และร้อยละ 4.3 ไม่ระบุความคิดเห็นตามลำดับ ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อชุมชนที่ตนเองพักอาศัยอยู่ในแง่มุมต่างๆ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นคำถามจากความคิดเห็นต่อฐานะทางการเงินของคนในชุมชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.5 ระบุยากจน/ค่อนข้างยากจน ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุค่อนข้างร่ำรวย/ร่ำรวย ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 17.7 ระบุมีการให้ความช่วยเหลือกันมาก ร้อยละ 26.2 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 27.7 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 28.4 ระบุน้อย/ไม่ช่วยเหลือกันเลย สำหรับความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 19.3 ระบุมีความเป็นมิตรต่อกันมาก ร้อยละ 27.1 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.4 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 18.2 ระบุน้อย/ไม่เป็นมิตรกันเลย สำหรับการรับรู้ของตัวอย่างต่อการกระทำผิดกฎหมายของผู้ใหญ่ในชุมชน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ75.2 ระบุมีพบเห็นการทำผิดบ่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุไม่บ่อย ทั้งนี้ เรื่องที่ผู้ใหญ่ในชุมชนทำผิดกฎหมายได้แก่ ยาเสพติด (ร้อยละ69.4 ) ลักทรัพย์ (ร้อยละ 26.7) และคดีการใช้ความรุนแรง (ร้อยละ55.8 ) และที่สำคัญ คือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความยากง่ายในการหายาเสพติดจากคนในชุมชนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 13.7 ระบุหาซื้อค่อนข้างง่าย ในขณะที่ร้อยละ 19.5 ระบุหาซื้อค่อนข้างยาก และร้อยละ 27.5 ระบุหาซื้อได้ยาก โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการใช้ยาเสพติดในช่วง 12เดือนก่อนเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ ก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 ระบุใช้ยาบ้า ร้อยละ 45.2 ระบุใช้กัญชา และร้อยละ 22.4 ระบุใช้สารระเหย/กาว/แล็ก ตามลำดับ โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/ ก่อนที่จะถูกจับกุมลำดับที่ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม ค่าร้อยละ1 อยู่กับพ่อและแม่ 28.62 อยู่กับญาติ/พี่น้อง 19.73 อยู่กับแม่ 18.84 อยู่กับเพื่อน 12.95 อยู่กับพ่อ 7.16 อยู่คนเดียว 2.27 อยู่กับคนรู้จักที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องและไม่ใช่เพื่อน 10.7 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะ เข้ามาอยู่ที่สถานพินิจฯ /ก่อนที่จะถูกจับกุม กิจกรรมที่ทำในช่วง 12 เดือนก่อนเข้ามาอยู่ที่นี่ ทำ ไม่ได้ทำ รวมทั้งสิ้น1. เล่นกีฬา 88.1 11.9 100.02. ทำงานหารายได้พิเศษ 71.3 28.7 100.03. ทานอาหารร่วมกันกับคนในครอบครัวบ่อยๆ (ประมาณ 4 วันขึ้นไปใน 1 สัปดาห์) 69.3 30.7 100.04. ทำบุญ 64.5 35.5 100.05. ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ่อยๆ (ประมาณ 4 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์) 59.0 41.0 100.06. ตักบาตร 52.4 47.6 100.07. เรียนหนังสือ 47.7 52.3 100.08. เข้าห้องสมุด 45.6 54.4 100.09. ทำงานช่วยเหลือสังคม 45.3 54.7 100.010. เข้าวัดฟังธรรม 32.3 67.7 100.0ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ในช่วง 12 เดือน ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ที่สถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม กิจกรรมที่ทำในช่วง 12 เดือนก่อนเข้ามาอยู่ที่นี่ ทำ ไม่ได้ทำ รวมทั้งสิ้น1. เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า 89.7 10.3 100.02. สูบบุหรี่ 85.1 14.9 100.03. เที่ยวกลางคืน 78.3 21.7 100.04. ดูหนังสือ/อินเตอร์เน็ต/ภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ (สื่อลามก) 76.9 23.1 100.05. ดื่มเหล้า 64.8 35.2 100.06. ใช้ยาเสพติด 64.8 35.2 100.07. ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้กำลังตบ ตี ต่อย 56.6 43.4 100.08. เล่นเกมออนไลน์ 51.8 48.2 100.09. เล่นการพนัน 48.9 51.1 100.010. ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ / สิ่งของ 47.1 52.9 100.011. ขาดเรียนเพราะเบื่อการเรียนหนังสือ 41.7 58.3 100.012. มีเพศสัมพันธ์กับหลายคน (โดยฝ่ายหญิงไม่ยินยอม) 31.8 68.2 100.013. ลักทรัพย์ 26.0 74.0 100.014. คิดจะฆ่าตัวตาย 17.8 82.2 100.015. ขว้างปา ทำลายสิ่งของสาธารณะต่างๆ 12.6 87.4 100.0ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยดื่นเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้ว)ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาลำดับที่ การดื่นเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้ว) ค่าร้อยละ1 เคย 52.52 ไม่เคย 47.5 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลการเรียนของตนในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะเข้ามา อยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุมลำดับที่ ระดับผลการเรียน ค่าร้อยละ1 เกรดเฉลี่ยไม่เกิน 2.00 26.72 2.01-2.50 16.13 2.51-2.99 9.04 3.00 ขึ้นไป 7.85 ไม่ได้เรียนหนังสือ 40.4 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ลำดับที่ ปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ ค่าร้อยละ1 เรื่องครอบครัว 61.42 เรื่องแฟน/คู่รัก 39.43 เรื่องเพื่อน 29.74 เรื่องการเรียน 28.65 เรื่องการเงิน 25.56 เรื่องสุขภาพ 17.4ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ลำดับที่ วิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจ ค่าร้อยละ1 ฟังเพลง 73.92 ปรึกษาพ่อแม่/ญาติผู้ใหญ่ 57.93 ปรึกษาเพื่อน 54.84 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 50.65 อยู่ตามลำพังคนเดียว 50.36 ดูทีวี 50.07 เล่มเกมคอมพิวเตอร์ 37.38 ไปเที่ยวสถานบันเทิง 36.19 ไปดูภาพยนตร์ 33.910 ปรึกษาครู-อาจารย์ 29.711 อ่านหนังสือ 28.512 เล่นอินเตอร์เน็ต 24.513 นั่งสมาธิ/ไปวัด 10.6ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็นการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงภายในครอบครัวลำดับที่ การพบเห็นการทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง ค่าร้อยละ1 มากที่สุด/มาก 3.72 ค่อนข้างมาก 7.33 ค่อนข้างน้อย 30.64 น้อย/ไม่มีเลย 58.4 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการถูกจับกุมดำเนินคดีของกลุ่มคนที่รู้จัก/สนิทสนม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเภทคดี กลุ่มคนที่รู้จักสนิทสนมที่ถูกจับกุมดำเนินคดี เพื่อน พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนบ้าน1.คดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย 53.0 1.8 0.6 3.9 5.2 7.92.คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ 36.1 0.3 0.3 2.7 2.1 6.13. คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 64.2 1.8 2.4 9.4 8.5 9.44.คดีเกี่ยวกับการพกพาอาวุธ 50.9 0.6 - 4.2 3.3 6.1ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่ รุนแรงของวัยรุ่นได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ลำดับที่ สื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงของวัยรุ่นได้ ค่าร้อยละ1 การชักจูงจากเพื่อน 76.12 ภาพยนตร์ 56.13 รายการทีวี 32.74 อินเตอร์เน็ต 31.95 หนังสือนิยาย/การ์ตูน 17.06 ข่าวความรุนแรงที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ 40.6ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนพกพาอาวุธเข้ามาในโรงเรียน อาวุธที่พกพามาโรงเรียน เคยเห็น ไม่เคยเห็น รวมทั้งสิ้น1. เคยเห็นเพื่อนพกปืนมาโรงเรียน 34.4 65.6 100.02. เคยเห็นเพื่อนพกระเบิดมาโรงเรียน 19.9 80.1 100.03. เคยเห็นเพื่อนพกมีดปลายแหลมมาโรงเรียน 54.1 45.9 100.04. เคยเห็นเพื่อนพกอาวุธอื่น ๆ มาโรงเรียน เช่น คัตเตอร์/ สนับมือ/ไม้หน้าสาม เป็นต้น 25.0 75.0 100.0ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการลำดับที่ ความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการ ค่าร้อยละ1 คิดว่าสามารถหามาได้ 55.92 คิดว่าหาไม่ได้ 38.13 ไม่แน่ใจ 6.0 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี จากข่าวนักเรียนใช้อาวุธปืนยิงคนอื่นที่ ปรากฏออกมาในขณะนี้ มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ1 มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้น 60.22 ไม่มีผล (ดำเนินชีวิตปกติเหมือนเดิม) 35.53 ไม่มีความเห็น 4.3 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อฐานะทางการเงินของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยลำดับที่ ฐานะทางการเงินของคนในชุมชนโดยส่วนใหญ่ ค่าร้อยละ1 ร่ำรวย 4.02 ค่อนข้างร่ำรวย 41.53 ค่อนข้างยากจน 45.84 ยากจน 8.7 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยลำดับที่ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน ค่าร้อยละ1 มาก 17.72 ค่อนข้างมาก 26.23 ค่อนข้างน้อย 27.74 น้อย/ไม่ช่วยเหลือกันเลย 28.4 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยลำดับที่ ความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชน ค่าร้อยละ1 มาก 19.32 ค่อนข้างมาก 27.13 ค่อนข้างน้อย 35.44 น้อย/ไม่เป็นมิตรกันเลย 18.2 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความบ่อยในการพบเห็นผู้ใหญ่ในชุมชนกระทำผิดกฎหมายลำดับที่ ความบ่อยในการพบเห็นผู้ใหญ่ในชุมชนกระทำผิดกฎหมาย ค่าร้อยละ1 บ่อย 75.22 ไม่บ่อย 24.8 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ผู้ใหญ่ในชุมชนทำผิดกฎหมาย (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)ลำดับที่ เรื่องที่ทำผิดกฎหมาย ค่าร้อยละ1 การทะเลาะวิวาท 70.02 ยาเสพติด 69.43 การใช้ความรุนแรง 55.84 ทำร้ายร่างกาย 54.85 ฆ่าคนตาย 29.7 (ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ