เอแบคโพลล์: รายงานดัชนีความสุขมวลรวมภายในประเทศของคนไทย ประจำเดือนกรกฎาคม

ข่าวผลสำรวจ Tuesday August 15, 2006 09:08 —เอแบคโพลล์

          โพลล์ระบุความสุขมวลรวมคนไทยประจำเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนมิถุนายน เหตุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
ปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเป็นตัวฉุดความสุขมวลรวมของคนไทยให้ลดลง แต่ดัชนีด้านวัฒนธรรมประเพณี และความจงรักภักดี
ของประชาชนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้ความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคมยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ชี้หลังศาลฎีกาเข้าแก้
วิกฤตการเมืองพบดัชนีความสุขต่อการเมืองไทยหลายตัวขยับเพิ่มขึ้น แต่ถ้าวุฒิสภาไม่ดึงความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับคืนมาให้ได้ในเดือนสิงหาคม
นี้ เชื่อว่าความสุขคนไทยจะลดกลับไปอยู่จุดวิกฤตเช่นเดิมเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฏาคม: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 26 จังหวัดของประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 4,533 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 — 12 สิงหาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศลดลงจาก 9.21 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 7.29 ในเดือนกรกฎาคม ถือได้ว่ายังอยู่ใน
เกณฑ์ที่ดี แต่จากการทดสอบค่าทางสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูลวิจัย พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงคือ ความทุกข์ใจของ
ประชาชนต่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.9 ในเดือนพฤษภาคม เป็นร้อยละ 67.4 ในเดือนมิถุนายน และเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 89.3 ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ดัชนีความสุขของคนไทยเรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระจากคะแนน -5 ถึง +5 อยู่ที่ -1 สภาวะ
เศรษฐกิจอยู่ที่ -2 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัญอยู่ที่ 0 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ไม่น่าพอใจกลายเป็นปัจจัยร่วมในการฉุดให้ความสุขของคนไทยลดต่ำลง” ดร.
นพดล กล่าว
นอกจากนี้ กลุ่มตัวชี้วัดความสุขคนไทยที่สำรวจพบไม่แตกต่างไปจากเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมามีอยู่สองด้านด้วยกันคือ
1) ดัชนีความสุขของคนไทยต่อระบบการศึกษาประจำเดือนกรกฎาคม ไม่พบความแตกต่างไปจากผลสำรวจในเดือนพฤษภาคมและเดือน
มิถุนายน แต่ที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษคือเรื่องการสนับสนุนด้านการศึกษาแก่ผู้มีรายได้น้อย มาตรฐานทดสอบทางการศึกษา และคุณภาพบุคลากรทางการ
ศึกษา เพราะมีคนไทยที่มีความสุขต่อเรื่องเหล่านี้เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น
2) ความสุขของคนไทยต่อธรรมชาติประจำเดือนกรกฎาคม ไม่แตกต่างไปจากเดือนมิถุนายนและเดือนพฤษภาคมเท่าใดนัก แต่ที่ควรแก้ไข
คือ เรื่องโอกาสของคนไทยที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และความรู้สึกปลอดภัยจากภัยธรรมชาติที่ผลสำรวจพบว่าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดความสุขคนไทยประจำเดือนกรกฎาคมมีหลายตัวด้วยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ได้แก่
1) ความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่พบว่า คนไทยเกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงมีความสุขกับการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60
ปีของในหลวง มีความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่าน คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.2 มีความสุขกับเทศกาลรื่นเริงต่างๆ ร้อยละ
75.3 มีความสุขกับงานบุญงานบวช ร้อยละ 88.8 มีความสุขกับวัฒนธรรมค่านิยมประเพณีไทยโดยรวม ในขณะที่ร้อยละ 75.6 สุขกับความรักความ
สามัคคีของคนในชาติ
2) สุขภาพกาย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 มีความสุขต่อความเพียงพอของอาหาร ร้อยละ 74.3 สุขกับเครื่องนุ่งห่ม เสื้อ
ผ้า ร้อยละ 73.2 สุขกับการบริการของรัฐด้านระบบสาธารณสุข ร้อยละ 66.4 สุขกับที่อยู่อาศัย ร้อยละ 64.6 สุขกับความแข็งแรงของร่างกาย ใน
ขณะที่ร้อยละ 49.2 ที่สุขกับความมีอยู่ของยารักษาโรคประจำบ้าน
3) สุขภาพใจ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.4 มีความสุขด้านศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา ร้อยละ 70.6 สุขใจกับ
ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้ให้ผู้อื่น ร้อยละ 63.2 สุขกับความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้รับจากผู้อื่น ร้อยละ 14.5 มีความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด และที่น่า
สนใจคือคนที่มีความเครียดมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 40.5 ในเดือนพฤษภาคม เหลือร้อยละ 26.2 ในเดือนกรกฎาคม
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือ ความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวซึ่งเป็นตัวชี้วัดตัวใหม่ที่ถูกนำมาศึกษาความสุขคนไทย พบว่า
เกือบทุกตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือประมาณร้อยละ 70 ขึ้นไป เช่นการเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจเห็นอกเห็นใจกัน การร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การอยู่ร่วม
กันของคนในครอบครัว การช่วยเหลือกันแก้ไขปัญหา การรับฟังปัญหาของกันและกัน ความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก และความเป็นประชาธิปไตยของคน
ในครอบครัว แต่ที่น้อยที่สุดคือร้อยละ 59.7 เป็นเรื่องการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้ความสุขมวลรวมด้านครอบครัวของคน
ไทยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ซึ่งผลสำรวจความสุขด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเป็นเช่นนี้เพราะเป็นการศึกษาวิจัยภาพรวมทั้งประเทศซึ่งครอบครัวที่
ถูกศึกษาส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาล ถ้าจำแนกออกมาให้เห็นภาพของคนในเขตเมืองอาจพบความแตกต่างของผลสำรวจได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จุดที่น่าเป็นห่วงต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม คือ
1) ความสุขด้านสภาพแวดล้อมลดลงเกือบทุกตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคมที่ผ่านมา เช่นด้านคมนาคม ถนนหนทาง
ลดลงจากร้อยละ 76.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 47.6 ด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ อากาศ ดิน ลดลงจากร้อยละ 73.1 เหลือร้อยละ 53.4 ด้านการบริการไฟฟ้า
ลดลงจากร้อยละ 60.8 เหลือร้อยละ 43.4 ด้านน้ำปะปาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ลดลงจากร้อยละ 45.7 เหลือร้อยละ 37.4
2) ความสุขด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัย พบว่า ดัชนีความสุขต่อสภาพชุมชนที่ลดลงได้แก่ ความสุขเรื่องการช่วยเหลือกันและกันของคนใน
ชุมชนลดลงจากร้อยละ 74.6 ในเดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 66.2 ในเดือนกรกฎาคม ความสุขต่อการช่วยกันสอดส่องดูแลของคนในชุมชนลดลงจากร้อย
ละ 72.1 ในเดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 65.9 ในเดือนกรกฎาคม ความสุขต่อการช่วยกันทำความสะอาดของคนในชุมชนลดลงจากร้อยละ 62.5 ใน
เดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 55.9 ในเดือนกรกฎาคม ความสุขต่อบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนลดลงจากร้อยละ 67.8 ในเดือนพฤษภาคมเหลือร้อยละ
60.5 ในเดือนกรกฎาคม ความสุขต่อการช่วยกันรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของคนในชุมชนลดลงจากร้อยละ 61.3 ในเดือนพฤษภาคมเหลือร้อยละ
56.2 ในการสำรวจล่าสุด ขณะที่ความสุขต่อการแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชน มีอยู่ประมาณร้อยละ 50 เท่านั้น
3) ดัชนีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของคนไทยที่พบว่าทั้งคนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลล้วนแล้วแต่มีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจ
ลดลงในทุกตัวชี้วัด ได้แก่ ความพอใจต่อราคาสินค้าทั่วไปความสุขลดลงจากร้อยละ 44.8 ในเดือนมิถุนายนเหลือเพียงร้อยละ 17.0 ในเดือน
กรกฎาคม ความพอใจต่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงจากร้อยละ 15.3 ในเดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 6.4 ในเดือนกรกฎาคม ความพอใจต่อรายได้ลด
ลงจากร้อยละ 54.9 ในเดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 23.8 และการเก็บออมลดลงจากร้อยละ 40.5 ในเดือนมิถุนายนเหลือร้อยละ 34.1 ในเดือน
กรกฎาคม ในขณะที่ความเดือดร้อนต่อภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.2 ในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 67.3 ในเดือน
กรกฎาคม ยิ่งไปกว่านั้นภาระหนี้สินกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.5 ในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 71.8 ในการสำรวจล่าสุด
นอกจากนี้ เมื่อทำการวัดดัชนีการปฏิบัติจริงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมและทัศนคติขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
หลายประการ ได้แก่ จำนวนมากหรือร้อยละ 40.8 ยังคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ร้อยละ 43.7 ซื้อสินค้ามาแล้วพบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 68.4 ยังคิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่น่าเป็นห่วงไปกว่านั้นคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
59.6 ยังคิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.7 ยังซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือเล่นหวยในช่วง
3 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจยังพบอีกว่าจำนวนมากหรือร้อยละ 44.7 จะเดือดร้อนพึ่งพาผู้อื่นถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 มองตนเองว่าดีกว่าคนอื่น ขยันมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่น และร้อยละ 56.9 มองว่าตน
เองทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.2 คิดว่าเป็นคนวางแผนการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็น
ขั้นเป็นตอน แต่มีเพียงร้อยละ 20.6 เท่านั้นที่ระบุว่าตอนนี้มีเงินเก็บออมเป็นมูลค่ามากกว่ารายได้แต่ละเดือนที่ได้รับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ระดับการประพฤติปฏิบัติจริงของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ
จากคะแนน -5 ถึง +5 พบว่าคะแนนอยู่ที่ -1 ซึ่งคนไทยจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมและทัศนคติอีกค่อนข้างมากเลยทีเดียว แนวทางแก้ไขคือควรปลูกฝังคน
ไทยทุกหมู่เหล่าให้เกิดความตระหนักและได้หลักการใช้ชีวิตที่นำไปปฏิบัติได้จริงอย่างกว้างขวาง เห็นเป็นตัวอย่างที่นำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จใน
ชีวิตมีความสุขอย่างยั่งยืน
4) การวัดดัชนีความสุขคนไทยต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ พบว่า หลังจากฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทแก้วิกฤตการเมืองของไทย
ทำให้คนไทยมีความสุขมวลรวมด้านการเมืองมากขึ้นในหลายตัวชี้วัดแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจ เช่น เรื่องความไว้วางใจมีมากขึ้นจากร้อยละ
41.7 ในเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ร้อยละ 48.8 ด้านความโปร่งใสลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.9 ในเดือนมิถุนายนมา
อยู่ที่ร้อยละ 40.8 ด้านความเป็นอิสระไม่ยอมให้มีการแทรกแซงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.8 ในเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ร้อยละ 54.2 ด้านการทำงานไม่
เลือกปฏิบัติเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.2 ในเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ร้อยละ 47.9 ในเดือนกรกฎาคม
ดร.นพดล ระบุว่า จะเห็นได้ว่าหลังจากที่ฝ่ายตุลาการเข้ามามีส่วนแก้ไขวิกฤตการเมือง พบว่าดัชนีความสุขคนไทยต่อเรื่องการเมืองดีขึ้น
หลายตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ค่อยดีนัก น่าจะเป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนต่อผลการเลือกตั้ง การสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งที่วุฒิสมาชิกทั้งหลายจะ
เป็นผู้เพิ่มความสุขให้คนไทยได้หรือไม่ ถ้าวุฒิสภาไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนกลับคืนมาในเดือนสิงหาคมนี้ เชื่อว่าความสุขคนไทยจะ
ลดลงไปอยู่จุดวิกฤตเช่นเดิมเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีเรื่องความไม่ชัดเจนต่อผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมืองใหญ่
ทั้งสองพรรค
5) กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ที่พบว่า ประชาชนที่สุขต่อการทำงานกลุ่มบุคคลในกระบวนการยุติธรรมมีจำนวนลดลงเกือบทุกกลุ่ม
เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ คือ ประชาชนที่สุขต่อการทำงานของตำรวจจำนวนลดลงจากร้อยละ 56.8 ในเดือนมิถุนายน เหลือร้อยละ
49.9 ในเดือนกรกฎาคม ประชาชนที่สุขต่อการทำงานของคุมประพฤติลดลงจากร้อยละ 62.5 ในเดือนพฤษภาคม เหลือร้อยละ 55.1 ในเดือน
กรกฎาคม ประชาชนที่สุขต่อระบบกฎหมายโดยรวมลดลงจากร้อยละ 75.1 ในเดือนพฤษภาคมเหลือร้อยละ 56.2 ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่เพียงครึ่ง
หนึ่งเท่านั้นหรือร้อยละ 50.2 ที่รู้สึกมีความสุขกับความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มีความสุขกับการทำงานของศาลสถิตย์ยุติธรรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.4 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ
78.7 ในเดือนกรกฎาคม เช่นเดียวกับการทำงานของอัยการที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.8 ในเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 71.1 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่ง
เป็นผลสำรวจที่น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาใครบ้างในกระบวนการยุติธรรมที่ทำงานให้ประชาชนเห็นแล้วทำให้ประชาชนมีความสุข
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
“จากการทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวชี้วัดความสุขต่อปัจจัยด้านต่างๆ กับความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ (Gross
Domestic Happiness หรือ GDH) ประจำเดือนกรกฎาคม พบผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่น่าสนใจคือ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี ความรักความสามัคคีของคนในชาติและสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยเป็นกลุ่มปัจจัยที่อธิบายความสุขมวลรวมของคน
ไทยได้มากเป็นอันดับต้นๆ หมายความว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกรกฎาคมขึ้นอยู่กับความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความจง
รักภักดีและความรักความสามัคคีของคนในชาติ อย่างไรก็ตาม น่าแปลกใจมากสำหรับผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่พบว่า เรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กร
อิสระ กลายเป็นปัจจัยในอันดับท้ายๆ ที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำในการสำรวจล่าสุดครั้งนี้” ดร.นพดล กล่าว
อาจสรุปได้ว่า ถ้าจะทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยสูงขึ้นในการวัดครั้งต่อไป ควรปรับแก้กันที่สถานการณ์ปัญหาชายแดนภาคใต้ การปรับ
ปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยของประชาชน ขณะที่วิกฤตการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อดึงความศรัทธาเชื่อมั่นของ
ประชาชนกลับคืนมา และประชาชนทุกคนควรช่วยกันรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี ความรักความสามัคคีของคนในชาติ และนำหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจริงในวิถีชีวิตประจำวันอย่างเคร่งครัด
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยประจำเดือนกรกฎาคม: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 26 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 — 12 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 26 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์
นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,533 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49
ปี และ ร้อยละ 24.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.9 ระบุสำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 23.9
ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.5 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน นอกจากนี้
ตัวอย่างร้อยละ 4.0 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 5.6 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 32.2 ระบุ
10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 15.2 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 20.9 ระบุ 30,001 — 40,000 บาทต่อ
เดือน และร้อยละ 22.1 ระบุรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 อยู่นอกเขต
เทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 30.8 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 96.8
2 ไม่ได้ติดตาม 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 การคมนาคม ถนนหนทาง 76.3 54.2 47.6
2 ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 38.9 40.4 38.6
3 สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 73.1 63.1 53.4
4 การบริการด้านไฟฟ้า 60.8 57.1 43.4
5 น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 45.7 34.3 37.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสภาพชุมชนที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสภาพชุมชนที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 การช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน 68.9 74.6 66.2
2 การแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน 52.4 50.8 51.4
3 การแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ลักทรัพย์ จี้ ปล้น วิ่งราว ทำร้ายร่างกาย 54.9 46.3 49.1
4 การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของคนในชุมชน เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน
แม่น้ำลำคลอง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายหยุดรถประจำทาง 61.3 60.8 56.2
5 การสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 66.1 72.1 65.9
6 การช่วยกันทำความสะอาดของคนในชุมชน 59.2 62.5 55.9
7 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน 67.8 66.0 60.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 การอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว 72.6
2 การทำกิจกรรมร่วมกัน 59.7
3 ความเข้าใจ-เห็นอกเห็นใจกัน 73.9
4 การช่วยเหลือกันแก้ไขปัญหา 72.8
5 การรับฟังปัญหาของกันและกัน 70.5
6 การร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 74.6
7 ความเป็นประชาธิปไตย 69.9
8 ความเป็นอิสระเสรีของสมาชิก 70.7
9 การเคารพซึ่งกันและกันของสมาชิก 74.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาวะเศรษฐกิจของตนเอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาวะเศรษฐกิจของตนเอง เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 ความพอใจต่อราคาสินค้าทั่วไป 43.2 44.8 17.0
2 ความพอใจต่อราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง 27.1 15.3 6.4
3 ความพึงพอใจต่อรายได้ปัจจุบัน 56.8 54.9 23.8
4 ความเดือดร้อนต่อภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบัน 60.2 62.4 67.3
5 การเก็บออม 38.0 40.5 34.1
6 ภาระหนี้สิน 63.5 67.2 71.8
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันที 37.8 40.8
2 หลังซื้อสินค้ามา พบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ 46.5 43.7
3 คิดว่า การแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา 71.9 68.4
4 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 63.8 59.6
5 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย 61.5 60.7
6 ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้ จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่น 47.7 44.7
7 ท่านเป็นคนที่ขยันมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่น เมื่อเทียบกับคนอื่นที่รู้จักอีกประมาณ 100 คน 52.9 60.9
8 ท่านเป็นคนที่มักวางแผน ดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 42.6 50.2
9 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง 45.3 56.9
10 มีเงินเก็บออมขณะนี้เป็นจำนวนมูลค่ามากกว่ารายได้แต่ละเดือน 27.3 20.6
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อการศึกษาของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการศึกษาของประเทศ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 74.9 73.8 72.9
2 โอกาสทางการศึกษา 66.2 64.9 62.7
3 การสนับสนุนด้านการศึกษาให้ผู้มีรายได้น้อย 51.8 47.3 52.0
4 มาตรฐานทดสอบทางการศึกษา 43.6 54.6 51.2
5 คุณภาพบุคลากรทางการศึกษา 50.7 55.1 53.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อธรรมชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 ความหลากหลายทางธรรมชาติ 86.3 88.4 80.8
2 ความเพียงพอของธรรมชาติ 74.4 69.4 65.8
3 ความสวยงาม 92.3 90.1 86.9
4 ความอุดมสมบูรณ์ 75.1 70.9 69.2
5 โอกาสที่ได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ 44.8 46.5 49.7
6 ความรู้สึกปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ 42.1 41.7 48.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึก การรับรู้ที่มีต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ
1 รับรู้ด้านจริยธรรมของนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 32.7 30.3 34.6
2 ไว้วางใจ 42.8 41.7 48.8
3 รับรู้ด้านความโปร่งใส ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 46.9 35.9 40.8
4 รับรู้ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 29.1 27.8 28.3
5 รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 55.9 54.0 50.5
6 รับรู้ด้านความละอายแก่ใจจากการวางตัวไม่เหมาะสม 37.0 30.9 28.2
7 รับรู้ด้านความเป็นอิสระ (ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง) 43.6 44.8 54.2
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ