เอแบคโพลล์: บทบาทของพ่อในครอบครัว

ข่าวผลสำรวจ Wednesday December 3, 2008 07:36 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่าผลวิจัยเรื่องบทบาทของ พ่อในครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างพ่อที่มีอายุ 25-60 ปีที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในครั้งนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กับแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,563 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2551 ผลการสำรวจพบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา ดังต่อไปนี้

เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการพักอาศัยอยู่กับลูกนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 21.0 ระบุไม่ได้พักอาศัยอยู่กับลูกเนื่องจากตนเองต้องเข้ามาทำ งานในกรุงเทพฯ /อยู่คนละบ้าน/แยกทางกับภรรยาแล้ว/ลูกไปเรียนที่อื่น/ลูกมีครอบครัวแล้ว อย่างไรก็ตาม มากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 79.0 ระบุ พักอาศัยอยู่กับลูก

ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 49.9 ระบุว่าตนเองต้องทำงานวันละ 8-12 ชั่วโมง ในขณะที่ร้อยละ 30.3 ระบุทำงานวันละไม่ เกิน 8 ชั่วโมง ร้อยละ 16.3 ระบุทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง และร้อยละ 3.5 ระบุทำงานมากกว่าวันละ 15 ชั่วโมง และเมื่อสอบถามถึงช่วง เวลาปกติที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำงานนั้นพบว่า ร้อยละ 45.5 ระบุ เดินทางออกจากบ้านในช่วง 6 โมงเช้า-8 โมง ร้อยละ 29.9 ระบุ 8 โมง-10โมง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการมีโอกาสได้พบหน้าหรือพูดคุยกับลูกก่อนออกจากบ้านไปทำงานนั้นพบว่า ร้อยละ 66.4 ระบุมีโอกาสได้พูดคุยกับลูกทุกวัน/เกือบทุกวัน ร้อยละ 13.0 ระบุเป็นบางวันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 20.6 ระบุบางสัปดาห์ก็ไม่ได้เจอกัน/ไม่มี โอกาสได้เจอลูกก่อนออกไปทำงานเลย อย่างไรก็ตามตัวอย่างประมาณร้อยละ 70 ระบุตนเองได้มีโอกาสพบหน้าหรือพูดคุยกับลูกทุกวัน/เกือบทุกวัน หลังเลิกงานกลับมาถึงบ้าน โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งกลับมาถึงบ้านหลัง 6 โมงเย็น และพบว่าร้อยละ 63.1 ระบุอยากมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า 5 อันดับบทบาทที่ผู้เป็นพ่อได้ปฏิบัติต่อลูกหรือคนในครอบครัวเป็นประจำได้แก่ การเป็นที่ปรึกษาที่ดีของลูกและคนใน ครอบครัวในทุกเรื่อง (ร้อยละ 80.8) รองลงมาคือพูดคุยและให้กำลังใจลูกและคนในครอบครัวเมื่อเกิดปัญหาขึ้น (ร้อยละ 80.1) การเคารพต่อ การตัดสินใจ ของคนในครอบครัว (ร้อยละ 77.3) การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกและคนในครอบครัว (ร้อยละ 76.9) และความพร้อมและเป็นผู้ฟังที่ดี ของลูกและคนในครอบครัว (ร้อยละ 76.8)

ในขณะที่เมื่อพิจารณาบทบาทที่ไม่ควรปฏิบัติกับลูกหรือคนในครอบครัวนั้น พบว่า ร้อยละ 65.8 ระบุไม่เคยตบตี ทำร้ายร่างกายเลย ใน ขณะที่ร้อยละ 64.1 ระบุไม่เคยหลีกเลี่ยงที่จะพบปะพูดคุยกับลูกและคนในครอบครัวเลย ร้อยละ 59.2 ระบุไม่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะใช้เวลาอยู่กับลูก และคนในครอบครัวเลย ร้อยละ 34.8 ระบุไม่เคยใช้คำพูดรุนแรง ดุ ด่า พูดหยาบคาย กับลูกและคนในครอบครัวเลย และร้อยละ 19.6 ระบุไม่เคย รู้สึกหงุดหงิดกับลูกและคนในครอบครัวเลย

สำหรับบทบาทของพ่อในการมีส่วนร่วมอบรมเลี้ยงดูบุตรในปัจจุบันนั้นพบว่า ร้อยละ 65.8 ระบุช่วยอบรมดูแลเรื่องความประพฤติ/กิริยา มารยาท/การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ร้อยละ 24.7 ระบุช่วยเรื่องการเรียน/การศึกษาของลูก/สอนการบ้าน/สอนอ่านหนังสือ และร้อยละ 22.5 ระบุเป็น เพื่อนเล่น /ชวนเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย ตามลำดับ ทั้งนี้ร้อยละ 39.1 คิดว่าปัจจุบันพ่อมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูบุตรมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 19.9 ระบุพ่อมีบทบาทน้อยลง และร้อยละ 41.0 ระบุมีบทบาทเท่าเดิม

ดร.นพดลกล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามถึงระดับความสุขในความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับลูกหรือครอบครัวเปรียบเทียบระหว่างคนที่พักอาศัยอยู่ กับลูกและไม่ได้พักอาศัยอยู่กับลูกนั้นพบว่า ผู้ที่พักอาศัยอยู่กับลูกมีคะแนนความสุขจากคะแนนเต็ม10 คะแนน เท่ากับ 8.33 ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ กับลูก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.24 คะแนน ตามลำดับ

สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างพ่อที่ถูกศึกษาตั้งใจจะให้กับคนใกล้ชิด ครอบครัว และสังคมไทย เพื่อถวายแด่ในหลวง นั้นพบว่า ร้อยละ 72.4 ระบุให้ อภัยกัน ร้อยละ 70.1 ระบุให้ความรัก ร้อยละ 59.8 ระบุให้โอกาส ร้อยละ 59.3 ให้ความจริงใจ และ ร้อยละ 59.3 เช่นเดียวกันที่ระบุว่า ให้ความซื่อสัตย์ นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่าเกินกว่าร้อยละ 50 ระบุตั้งใจจะให้ความรู้สึกดีๆ ให้ความช่วยเหลือ ให้รอยยิ้ม ให้เวลา และให้ความ ใกล้ชิด กับคนใกล้ชิด ครอบครัว และสังคม เพื่อถวายแด่ในหลวง นอกจากนี้ ยังพบว่าร้อยละ 68.0 ระบุตั้งใจจะเป็นคนดีของสังคม ทำความดีละเว้น ความชั่ว ช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อถวายแด่ในหลวงเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ ให้ขณะที่ร้อยละ 40.3 ระบุจะไป ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ในขณะที่ประมาณร้อยละ 20 ระบุจะทำความสะอาดบ้านเรือน /ทำกิจกรรมกับครอบครัว/ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่/ไม่ดื่ม สุราและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มประชาชนที่เป็นพ่อบ้านมีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานและดูแลคนในครอบ ครัว ในเรื่องสำคัญหลายประการ ได้แก่ การพร้อมและเป็นที่ปรึกษาที่ดีของลูกและคนในครอบครัวในทุกเรื่อง พูดคุยและให้กำลังใจลูกและคนในครอบ ครัวเมื่อเกิดปัญหาขึ้น รวมทั้งเคารพต่อการตัดสินใจของคนในครอบครัว นอกจากนี้ สิ่งที่พ่อบ้านตั้งใจที่จะให้กับครอบครัว คนใกล้ชิดและสังคม เพื่อส่ง เสริมให้คนไทยมีความรักสามัคคีถวายแด่ในหลวง คือ ให้อภัยกัน ให้ความรัก ให้โอกาส ให้ความจริงใจ และให้ความซื่อสัตย์ ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายทางการเมืองขณะนี้ ถ้าประชาชนทุกหมู่เหล่านำความ คิดเห็นและความตั้งใจของพ่อบ้านที่ถูกศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ไปปฎิบัติจริง ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน การให้ความรักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการ ให้โอกาสแก่กันและกันมีความจริงใจต่อกันโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ก็น่าเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ที่กำลังถูกมองว่าวิกฤตและย่ำแย่อยู่ ในขณะนี้สามารถคลี่คลายลงไปได้

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันของพ่อที่มีอายุ 25-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

2. เพื่อสำรวจบทบาทของพ่อที่มีอายุ 25-60 ปี ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร

3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง บทบาทของพ่อในครอบครัว กรณีศึกษา ตัวอย่างพ่อที่มีอายุ 25-60 ปีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร /ปริมณฑล ที่มีบุตรแล้ว จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,563 ราย ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2551

ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนเพศชายที่มี อายุ 25-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีบุตรแล้ว ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า วิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 84 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของ

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.6 อายุระหว่าง 25 — 29 ปี

ร้อยละ 39.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 37.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 10.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 84.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 13.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.8 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 13.4 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 37.1 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 40.8 เกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 1.9 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ /ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การพักอาศัยอยู่กับลูกในปัจจุบัน
ลำดับที่          การพักอาศัยอยู่กับลูกในปัจจุบัน                               ค่าร้อยละ
1          อาศัยอยู่กับลูก                                                  79.0
2          ไม่ได้อาศัยอยู่กับลูก เพราะลูกอยู่ต่างจังหวัด/อยู่คนละบ้าน/แยกทางกัน/
           ลูกมีครอบครัวแล้ว/อยู่ต่างประเทศ/ลูกไปเรียนต่อที่อื่น                     21.0
          รวมทั้งสิ้น                                                     100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทำงานโดยเฉลี่ยต่อวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การทำงานโดยเฉลี่ยต่อวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 8 ช.ม.                                        30.3
2          8 - 12 ชั่วโมง                                        49.9
3          12 - 15 ชั่วโมง                                       16.3
4          มากกว่า 15 ชั่วโมงขึ้นไป                                  3.5
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาปกติที่เดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน
ลำดับที่          ช่วงเวลาปกติที่เดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน          ค่าร้อยละ
1          ตั้งแต่ตีหนึ่ง — ก่อน 06.00 น.                             11.8
2          06.01 — 08.00 น.                                    45.5
3          08.01 — 10.00 น.                                    29.9
4          10.01 — 12.00 น.                                     5.7
5          12.01 - 24.00 น.                                     7.1
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีโอกาสได้พบหน้าหรือพูดคุยกับลูกก่อนออกจากบ้านไปทำงานในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การมีโอกาสได้พบหน้าหรือพูดคุยกับลูกก่อนออกจากบ้านไปทำงานในช่วง 30 วันที่ผ่านมา    ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                                            66.4
2          บางวันต่อสัปดาห์                                                             13.0
3          บางสัปดาห์ก็ไม่ได้เจอกัน/ไม่ได้เจอกันเลย                                          20.6
          รวมทั้งสิ้น                                                                  100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาที่กลับเข้าบ้านหลังจากเลิกงานแล้ว
ลำดับที่          ช่วงเวลาที่กลับเข้าบ้านหลังจากเลิกงานแล้ว         ค่าร้อยละ
1          ช่วง 06.01 — 08.00 น.                            3.1
2          ช่วง 08.01 — 12.00 น.                            3.2
3          ช่วง 12.01 — 16.00 น.                            6.5
4          ช่วง 16.01 — 18.00 น.                           18.6
5          ช่วง 18.01 — 20.00 น.                           33.6
6          ช่วง 20.01 — 22.00 น.                           22.9
7          ช่วง 22.01 -06.00 น.                            12.1
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีโอกาสได้พบหน้าหรือพูดคุยกับลูกที่บ้านหลังจากเลิกงานในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การมีโอกาสได้พบหน้าหรือพูดคุยกับลูกที่บ้านหลังเลิกงานในช่วง 30 วันที่ผ่านมา    ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                                     69.9
2          บางวันต่อสัปดาห์                                                      11.7
3          บางสัปดาห์ก็ไม่ได้เจอกัน/ไม่ได้เจอกันเลย                                   18.4
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้เวลาโดยเฉลี่ยในการพูดคุยหรืออยู่กับลูกและครอบครัว เปรียบเทียบใน

วันหยุดและวันทำงาน

ลำดับที่          การใช้เวลาโดยเฉลี่ยในการพูดคุยหรืออยู่กับลูกและครอบครัว          จำนวนชั่วโมงโดยเฉลี่ย
1          วันทำงานปกติ                                                      50 นาที
2          วันหยุด                                                            3 ชั่วโมง

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเวลาเฉลี่ยในการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ เปรียบเทียบความเป็นจริงกับหากเลือกได้

ใน 1 วัน

ลำดับที่          การใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ใน 1 วัน       ความเป็นจริง(จำนวนชั่วโมง)    หากเลือกได้(จำนวนชั่วโมง)
1          เวลาในการทำงาน (รวมเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ไป — กลับ)              13  ชั่วโมง 15 นาที          8 ชั่วโมง 30 นาที
2          เวลานอนพักผ่อน                                                  6 ชั่วโมง  30 นาที          7 ชั่วโมง 30 นาที
3          เวลาส่วนตัว  (รวมเวลาที่ใช้ทำธุระส่วนตัวทั้งหมด เช่น อาบน้ำ
           แต่งตัว ออกกำลังกาย  เล่นกีฬา ฯลฯ)                                 2 ชั่วโมง  30 นาที          2 ชั่วโมง 30 นาที
4          เวลาที่อยู่กับครอบครัว (รวมเวลาที่ใช้ร่วมกับครอบครัวทั้งหมด เช่น ทานข้าว
           ดูทีวี พบปะพูดคุย ออกกำลังกายด้วยกัน ฯลฯ)                             1 ชั่วโมง  45 นาที          5 ชั่วโมง 30 นาที

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการจะมีเวลาในการทำกิจกรรมหรืออยู่กับครอบครัวเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ลำดับที่      ความต้องการจะมีเวลาในการทำกิจกรรมหรืออยู่กับครอบครัว          ค่าร้อยละ

เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน

1          อยากมีเวลากับครอบครัวมากขึ้น                                 63.1
2          อยากมีเวลากับครอบครัวเท่าเดิม                                36.3
3          อยากมีเวลากับครอบครัวน้อยลง                                  0.6
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 10  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีบทบาทปฏิบัติกับลูกและคนในครอบครัว
การทำสิ่งต่างๆ กับลูกและคนในครอบครัว                 ค่อนข้างน้อย-ไม่เคยทำเลย   ปานกลาง  ค่อนข้างมาก-มากที่สุด  รวมทั้งสิ้น
1. พร้อมและเป็นที่ปรึกษาที่ดีของลูกและคนในครอบครัวในทุกเรื่อง         11.2          8.0           80.8          100.0
2. พูดคุยและให้กำลังใจลูกและคนในครอบครัวเมื่อเกิดปัญหาขึ้น           11.7          8.2           80.1          100.0
3. เคารพต่อการตัดสินใจ ของคนในครอบครัว                       11.5          11.2          77.3          100.0
4. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกและคนในครอบครัว                        11.3          11.8          76.9          100.0
5. พร้อมและเป็นผู้ฟังที่ดีของลูกและคนในครอบครัว                    11.7          11.5          76.8          100.0
6. พูดคุยหยอกล้อหรือเล่นกับลูกและคนในครอบครัว                    19.3          12.3          68.4          100.0
7. ให้เวลาอยู่กับลูกและครอบครัวอย่างเพียงพอในแต่ละวัน              21.4          10.6          68.0          100.0
8. ทำกิจกรรมในบ้านร่วมกัน เช่น ทำงานบ้าน ทานข้าว ดูทีวี            22.6          11.3          66.1          100.0
9. สอนการบ้านหรือช่วยเหลือเรื่องการเรียนของลูก                   43.9          11.7          44.4          100.0
10. ทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกัน เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง ทานข้าวด้วยกัน      40.8          15.2          44.0          100.0

ตารางที่ 11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีบทบาทที่ไม่ควรปฏิบัติกับลูกและคนในครอบครัว
บทบาทที่ไม่ควรปฏิบัติกับลูกและคนในครอบครัว              ไม่เคยเลย    น้อย    ปานกลาง     มาก     มากที่สุด       รวมทั้งสิ้น
1. ตบ ตี ทำร้ายร่างกาย                               65.8    28.6      1.2       3.5       0.9          100.0
2. หลีกเลี่ยงที่จะพบปะพูดคุยกับลูกและคนในครอบครัว           64.1    24.9      2.7       6.7       1.6          100.0
3. เบื่อหน่ายที่จะใช้เวลาอยู่กับลูกและคนในครอบครัว           59.2    29.5      2.7       6.9       1.7          100.0
4. ใช้คำพูดรุนแรงกับลูกและคนในครอบครัว(ดุ ด่า พูดหยาบคาย ) 34.8    51.6      5.2       6.8       1.6          100.0
5. หงุดหงิดกับลูกและคนในครอบครัว                       19.6    59.6      8.7      10.2       1.9          100.0

ตารางที่ 12  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูบุตรในปัจจุบัน                    ค่าร้อยละ
1          ช่วยอบรมดูแลเรื่องความประพฤติ/กิริยามารยาท/การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น          65.8
2          ช่วยเรื่องการเรียน/การศึกษาของลูก/สอนการบ้าน/สอนอ่านหนังสือ           24.7
3          เป็นเพื่อนเล่น /ชวนเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย                            22.5
4          ให้คำปรึกษา/เป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่างๆ /คอยแนะนำตักเตือน               12.7
5          อื่นๆ อาทิ  ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี/สอนเกี่ยวกับศีลธรรมคุณธรรม ความมีวินัย
           ความซื่อสัตย์  /สอนให้รู้จักประหยัดอดออม  เป็นต้น                       3.8

ตารางที่ 13  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อบทบาทของพ่อทั่วไปในการอบรมเลี้ยงดูบุตรในสังคมปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                                  ค่าร้อยละ
1          คิดว่าพ่อมีบทบาทมากขึ้น ในเรื่องการให้ความอบอุ่นกับลูก/การอบรมสั่งสอนลูก/การดูแลเรื่องการเรียน/
           การคบเพื่อน/การปฏิบัติตัว/ช่วยดูแลกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ป้อนข้าว                    39.1
2          น้อยลง   เรื่องสุขภาพอนามัย/ความใกล้ชิดกับลูก/เรื่องส่วนตัวของลูก                              19.9
3          เท่าเดิม                                                                           41.0
          รวมทั้งสิ้น                                                                          100.0

ตารางที่ 14  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อบทบาทของพ่อทั่วไปในการอบรมเลี้ยงดูบุตรในสังคมปัจจุบัน

จำแนกตามกลุ่มพ่อ 3 รุ่น

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                           รุ่นหลานค่าร้อยละ  รุ่นลูกค่าร้อยละ  รุ่นปู่ค่าร้อยละ
1          คิดว่าพ่อมีบทบาทมากขึ้น ในเรื่องการให้ความอบอุ่นกับลูก/การอบรมสั่งสอนลูก/

การดูแลเรื่องการเรียน/การคบเพื่อน/การปฏิบัติตัว/ช่วยดูแลกิจวัตรประจำวัน

           เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ป้อนข้าว                                       38.5          42.2        31.9
2          น้อยลง   เรื่องสุขภาพอนามัย/ความใกล้ชิดกับลูก/เรื่องส่วนตัวของลูก          20.7          19.5        16.6
3          เท่าเดิม                                                       40.8          38.3        51.5
          รวมทั้งสิ้น                                                      100.0         100.0       100.0

ตารางที่ 15  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขจากความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับลูกหรือครอบครัวในทุกวันนี้
ลำดับที่          ความสุขจากความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับลูกหรือครอบครัวในทุกวันนี้   พักอยู่กับลูกค่าร้อยละ   ไม่ได้พักอยู่กับลูกค่าร้อยละ
1          น้อย-ไม่มีความสุขเลย                                                1.0               4.6
2          ค่อนข้างน้อย                                                       1.6               7.6
3          ปานกลาง                                                         5.1              12.0
4          ค่อนข้างมาก                                                      18.3              21.1
5          มาก-มากที่สุด                                                     74.0              54.7
          รวมทั้งสิ้น                                                        100.0             100.0
คะแนนเฉลี่ยความสุขในสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-ลูก จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน                  8.33              7.24

ตารางที่ 16  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะให้กับครอบครัว คนใกล้ชิดและสังคม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีความรักสามัคคี

ถวายแด่ในหลวง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          สิ่งที่ตั้งใจจะให้กับครอบครัว คนใกล้ชิดและสังคม        ค่าร้อยละ

เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีความรักสามัคคีถวายแด่ในหลวง

1          ให้อภัยกัน                                           72.4
2          ให้ความรัก                                          70.1
3          ให้โอกาส                                           59.8
4          ให้ความจริงใจ                                       59.3
5          ให้ความซื่อสัตย์                                       59.3
6          ให้ความรู้สึกดีๆ                                       59.0
7          ให้ความช่วยเหลือ                                     58.6
8          ให้รอยยิ้ม                                           57.6
9          ให้เวลา                                            54.6
10          ให้ความใกล้ชิด                                      50.5

ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อถวายแด่ในหลวง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          กิจกรรมความดีที่ตั้งใจจะทำเพื่อถวานแด่ในหลวง                                                  ค่าร้อยละ
1          เป็นคนดีของสังคม/ทำความดี ละเว้นความชั่ว/ช่วยเหลือผู้อื่น/ให้อภัย                                         68.0
2          ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ อาทิ  จุดเทียนชัยถวายพระพร/ทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล/ถือศีล /ปลูกต้นไม้/บวช  40.3
3          ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว                                                                       12.7
4          อื่นๆ อาทิ ทำความสะอาดบ้านเรือน/ไปเยี่ยมญาติ/งดดื่มสุรา/ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด                              8.7

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ