เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 6

ข่าวผลสำรวจ Monday March 2, 2009 07:39 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจ ติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ในทรรศนะของ ประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 6 ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2552 ซึ่งดำเนินการสำรวจทันทีที่รายการโทรทัศน์และวิทยุดังกล่าวจบลงภายในระยะ เวลา 3 ชั่วโมงของการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุก ครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 6 ประจำวันอาทิตย์ ที่ 1 มีนาคม 2552

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการ และธุรกิจ มหา วิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่ว ประเทศ ครั้งที่ 6” ซึ่งดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,020 ตัวอย่าง ช่วง ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้ง สิ้น 47 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 56.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 43.1 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 25.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 21.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

และร้อยละ 5.9 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 17.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 12.3 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 7.5 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 22.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 19.8 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เปรียบเทียบ
ตามช่วงเวลาที่สำรวจ
          การติดตามรับชม/รับฟังรายการ               25 ม.ค. 2552    1 ก.พ. 2552    8 ก.พ. 2552    15 ก.พ.2552    22 ก.พ.2522    1 มี.ค. 2552
       “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”                 ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ
1. ติดตามรับชม/รับฟัง                                       11.3           15.8           11.8           12.3           10.5           12.7
2. ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง                               88.7           84.2           88.2           87.7           89.5           87.3
                  รวมทั้งสิ้น                                100            100            100            100            100            100


ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”เปรียบเทียบตามช่วงเวลา

ที่สำรวจ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

            ความน่าสนใจของรายการ                 25 ม.ค. 2552    1 ก.พ. 2552    8 ก.พ.2552    15 ก.พ.2552    22 ก.พ.2522     1 มี.ค. 2552
       “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”                 ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ         ค่าร้อยละ
1. น่าสนใจ                                               89.8           91.3          89.4           88.2             86            92.5
2. ไม่น่าสนใจ                                              3.4            7.2           4.4            7.9              6             3.8
3. ไม่มีความเห็น                                            6.8            1.5           6.2            3.9              8             3.7
                  รวมทั้งสิ้น                                100            100           100            100            100             100

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทย

กับนายกฯ อภิสิทธิ์” เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

     การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน          25 ม.ค. 2552    1 ก.พ. 2552    8 ก.พ.2552    15 ก.พ.2552    22 ก.พ.2522    1 มี.ค. 2552
            ของเนื้อหาสาระในรายการ                      ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ
1. เป็นประโยชน์                                            85.2           95.7          87.5           87.2           91.8           88.7
2. ไม่เป็นประโยชน์                                             8            1.4           5.4            7.2            6.2            3.8
3. ไม่มีความคิดเห็น                                           6.8            2.9           7.1            5.6              2            7.5
                   รวมทั้งสิ้น                                100            100           100            100            100            100

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ

อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

   ลำดับที่                            ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ                               ค่าร้อยละ
     1      การกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเอกชน เช่น การท่องเที่ยว งานแสดงสินค้า                           66.1
     2      มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ มาตรการ 2,000 บาท เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ      64.4
     3      ความพึงพอใจในบรรยากาศการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่หัวหิน และ ชะอำ                      57.6
     4      ความคืบหน้าของประเทศไทยในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่14                       57.6
     5      ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่14                         55.9
     6      บทบาทของอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในประชาคมโลก                          54.2
     7      การแก้ไขปัญหายาเสพติด                                                           50.8
     8      การประชุมทวิภาคี ระหว่างไทย กับ พม่า มาเลเซีย และ กัมพูชา                             49.2
     9      การประกันสินเชื่อของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME                               47.5
     10     การกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ                        47.5
     11     ความคืบหน้าคดีความทางการเมืองต่างๆ                                                37.3
     12     ความคืบหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                                                   28.8
     13     การยื่นญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล                                                23.7
     14     การชุมนุมประท้วงรัฐบาล                                                           18.6

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”
ในสัปดาห์หน้า  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
   ลำดับที่                ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการสัปดาห์หน้า                   ค่าร้อยละ
     1      ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากการประชุมอาเซียน                                         66.1
     2      ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้                                              66.1
     3      ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด                                               64.4
     4      ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน                                                          61
     5      การจัดระเบียบสังคม                                                                61
     6      ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น                                                              61
     7      ปัญหาพื้นที่ชายแดนทับซ้อน เช่นไทย-กัมพูชา                                                61
     8      การป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง                                                         61
     9      แนวทางสร้างความรักความสามัคคีในชาติ                                               59.3
     10     นมโรงเรียนไร้คุณภาพ                                                             57.6
     11     แนวทางแก้ปัญหาแก้ไขปัญหาโคนม                                                     57.6
     12     เรื่องประมวลผลสำเร็จของการจัดประชุม (ประชาชนได้อะไรจากการประชุม)                    54.2
     13     แนวทางแก้ปัญหามลพิษจากภัยธรรมชาติ                                                 52.5
     14     การปฏิรูปการเมืองใหม่                                                            50.8
     15     กรณีข่าวปกปิดทรัพย์สินของนายกฯ                                                     49.2
     16     ปัญหาผู้อพยพลี้ภัย                                                                 49.2
     17     ข่าวพรรคประชาธิปัตย์รับเงิน 250 ล้าน                                                45.8

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์

เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

   ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย         25 ม.ค. 2552    1 ก.พ. 2552     8 ก.พ.2552    15 ก.พ.2552    22 ก.พ.2522    1 มี.ค. 2552
 ภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการ          ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ        ค่าร้อยละ
1. เชื่อมั่น                               81.8             87            81.9          82.8           77.5           79.7
2. ไม่เชื่อมั่น                             12.5             13            11.2          11.7            9.8            8.5
3. ไม่มีความคิดเห็น                         5.7              -             6.9           5.5           12.7           11.8
        รวมทั้งสิ้น                        100             100             100           100            100            100


ตารางที่  7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปรับปรุงรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”

(เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

   ลำดับที่                    ควรปรับปรุงรายการ                   22 ก.พ. 2552    1 มี.ค. 2552
                                                                ค่าร้อยละ         ค่าร้อยละ
     1      ช่วงที่นายกฯ อภิสิทธิ์ดำเนินรายการคนเดียว                      11.8             12
     2      ช่วงที่นายกฯ อภิสิทธิ์พูดคุยกับผู้ร่วมรายการ                       22.6             22
     3      ควรปรับปรุงทุกตอน                                        11.8             10
     4      ไม่ต้องปรับปรุง/ดีอยู่แล้ว                                    53.8             56
                                รวมทั้งสิ้น                           100             100

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชัดเจนในแนวทางแก้ไขปัญหาฟื้นฟูเศรษฐกิจของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามกลุ่มที่ติดตาม
รับชมรายการในอาทิตย์นี้
   ลำดับที่         ความชัดเจนของแนวทางแก้ปัญหาฟื้นฟูเศรษฐกิจ          ได้รับชม/รับฟัง         ไม่ได้รับชม/ไม่ได้รับฟัง         ภาพรวม
                                                               ค่าร้อยละ                ค่าร้อยละ              ค่าร้อยละ
     1      มีความชัดเจนค่อนข้างมาก-มาก                             72.9                    54.4                56.8
     2      น้อย-ไม่ชัดเจน                                         20.3                    28.8                27.7
     3      ไม่มีความเห็น                                           6.8                    16.8                15.5
                               รวมทั้งสิ้น                           100                    100                  100

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ

   ลำดับที่            ประโยชน์ที่ได้รับจากการ           21 กุมภาพันธ์ 52      1 มีนาคม 52
                 ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14            ค่าร้อยละ           ค่าร้อยละ
     1      มีประโยชน์มาก-มากที่สุด                        46.8             55.1
     2      น้อย — ไม่มีประโยชน์เลย                       53.2             44.9
                         รวมทั้งสิ้น                      100               100

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะจำแนกตามการติดตาม/ไม่ได้ติดตามรับชมรายการในอาทิตย์นี้

   ลำดับที่         การสนับสนุน นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ          ได้รับชม/รับฟัง         ไม่ได้รับชม/ไม่ได้รับฟัง         ภาพรวม
                         เป็นนายกรัฐมนตรี                   ค่าร้อยละ                ค่าร้อยละ              ค่าร้อยละ
     1      สนับสนุน                                        96.4                    76.6                79.3
     2      ไม่สนับสนุน                                       3.6                    6.6                  6.2
     3      ไม่มีความเห็น                                      -                     16.8                14.5
                            รวมทั้งสิ้น                        100                    100                  100

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ