เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 9

ข่าวผลสำรวจ Monday March 23, 2009 07:35 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตาม ในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใน ทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 9 ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552 ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจัดรายการ โทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน ตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศที่ถูกศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,041 ตัวอย่าง ครประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ 18 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก ลำปาง เชียงราย อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ หนองบัวลำภู มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ภูเก็ต ตรัง และสงขลา

ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 12.5 ระบุติดตามรับชม/รับฟังรายการ ในขณะที่ร้อยละ 87.5 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/รับฟังในวันนี้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการประจำสัปดาห์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 70.8 ระบุชื่นชอบเรื่องการการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถทาง เศรษฐกิจ ร้อยละ 69.8 ระบุชื่นชอบประเด็นที่เกี่ยวกับโครงการต้นกล้าอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 67.9 ระบุชื่นชอบโครงการ รณรงค์ป้องกันปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 61.3 ระบุชื่นชอบการกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การศึกษา และสาธารณสุข ในขณะที่ ร้อยละ 56.6 ระบุชื่นชอบการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น มาบตาพุต และจังหวัดสระบุรี

สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 88.8 ระบุเนื้อหาสาระที่ พูดมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เมื่อถามถึงประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน หลังจากที่ได้ชมรายการนั้น พบว่า ร้อยละ 73.4 ระบุได้รู้สถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมือง และ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจับ จ่ายใช้สอย ในขณะที่ร้อยละ 70.9 ระบุสามารถนำไปพูดคุยกับคนอื่น และเพื่อใช้ในการวางแผนการใช้ชีวิตในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 63.3 ระบุป้องกันปัญหาเรื่องปากท้องของตนเอง ร้อยละ 54.4 ระบุเพื่อตอบสนองความอยากรู้ว่า นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่อะไรบ้าง ร้อยละ 51.9 ระบุ เก็บข้อมูลไว้ตัดสินใจทางการเมือง และเพื่อประโยชน์ในการทำการค้า ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการครั้งต่อไปนั้น พบว่า ร้อยละ 81.1 ระบุมาตรการต่อไป ของการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชน ร้อยละ 65.1 ระบุการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน ร้อยละ 60.4 ระบุการแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น ขูดรีดประชาชน ร้อยละ 56.6 ระบุการแก้ปัญหาภัยแล้ง ร้อยละ 54.7 ระบุแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 53.8 ระบุปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 47.2 ระบุการจับมือกับการเมืองฝ่ายค้านแก้ปัญหาประเทศ และร้อยละ 27.4 ระบุการปรับคณะ รัฐมนตรี

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 9 ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม2552

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 9” ครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ 18 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก ลำปาง เชียงราย อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ หนองบัวลำภู มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ภูเก็ต ตรัง และสงขลา ซึ่งดำเนินโครงการ ในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,041 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 45 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 25.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 71.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 23.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.1 . ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 19.2 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 10.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 4.5 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 17.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 25.5 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”
ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552
    การติดตามรับชม/รับฟังรายการ      25 ม.ค.    1 ก.พ.     8 ก.พ.     15 ก.พ.    22 ก.พ.    1 มี.ค.    8 มี.ค.    15 มี.ค.   22 มี.ค.
  "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์"  ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ    ค่าร้อยละ   ค่าร้อยละ   ค่าร้อยละ   ค่าร้อยละ
1. ติดตามรับชม/รับฟัง                  11.3       15.8       11.8       12.3       10.5       12.7      16.8         9      12.5
2. ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง          88.7       84.2       88.2       87.7       89.5       87.3      83.2        91      87.5
               รวมทั้งสิ้น              100        100        100        100        100        100       100       100       100

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯ อภิสิทธิ์”  ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่          ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ                                       ค่าร้อยละ
1          การลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจ                        70.8
2          โครงการต้นกล้าอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน                           69.8
3          โครงการรณรงค์ป้องกันปราบปรามยาเสพติด                                67.9
4          การกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การศึกษา และสาธารณสุข        61.3
5          การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น มาบตาพุต และจังหวัดสระบุรี                   56.6

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศ
ไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”  ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552   (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่          การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ         ค่าร้อยละ
1          ไม่เป็นประโยชน์                                                          11.2
2          เป็นประโยชน์                                                            88.8
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลังจากติดตามรับชม/รับฟังรายการ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2552   (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละ
เฉพาะผู้ที่ระบว่าเป็นประโยชน์)
ลำดับที่          ประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน                 ค่าร้อยละ
1          รู้สถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมือง                              73.4
2          ตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอย                                     73.4
3          นำไปพูดคุยกับคนอื่น                                            70.9
4          เพื่อใช้ในการวางแผนการใช้ชีวิต                                  70.9
5          ป้องกันปัญหาเรื่องปากท้องของตนเอง                               63.3
6          ตอบสนองความอยากรู้ว่า นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่อะไรบ้าง            54.4
7          เก็บข้อมูลไว้ตัดสินใจทางการเมือง                                 51.9
8          ประโยชน์ในการทำการค้า                                       51.9

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”
ในสัปดาห์หน้า  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตาม)
ลำดับที่          ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า  ค่าร้อยละ
1          มาตรการต่อไป ของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชน                                 81.1
2          การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน                                                       65.1
3          การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ขูดรีดประชาชน                                                     60.4
4          การแก้ปัญหาภัยแล้ง                                                                      56.6
5          แนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยกในสังคม                                                     54.7
6          ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม                                                             53.8
7          การจับมือกับการเมืองฝ่ายค้านแก้ปัญหาประเทศ                                                  47.2
8          การปรับคณะรัฐมนตรี                                                                     27.4

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ