เอแบคโพลล์: ศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนมีนาคม 2552

ข่าวผลสำรวจ Friday April 10, 2009 07:11 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวโน้ม ดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ประจำเดือนมีนาคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ระยอง นครปฐม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก กระบี่ สงขลา และ นราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 2,603 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 เมษายน 2552 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชน เป็นประจำทุกสัปดาห์

ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินเปรียบเทียบผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ในช่วงเดือนมีนาคมกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 5.78 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 6.18 จากการสำรวจในเดือนมีนาคม 2552 นี้

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือความสุขของประชาชนต่อปัจจัยต่างๆ เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่ม ยกเว้นปัจจัยต่อความเป็นธรรมในสังคม และ บรรยากาศด้านการเมือง คือ ความสุขของประชาชนต่อความจงรักภักดีเพิ่มขึ้นจาก 9.05 ในเดือนกุมภาพันธ์มาอยู่ที่ 9.17 ความสุขด้านบรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเพิ่มขึ้นจาก 7.24 มาอยู่ที่ 8.67 ด้านวัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ดีงามในสังคมไทยเพิ่มขึ้นจาก 5.74 มาอยู่ที่ 8.12 ด้าน สุขภาพกาย เพิ่มขึ้นจาก 6.98 มาอยู่ที่ 7.97 ด้านสุขภาพใจเพิ่มขึ้นจาก 6.83 มาอยู่ที่ 7.94 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นจาก 6.23 มาอยู่ที่ 7.58 ด้านระบบการศึกษาอยู่ที่ 6.69 ด้านการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพิ่มขึ้นจาก 5.99 มาอยู่ที่ 6.45 ด้านบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชน เพิ่มขึ้นจาก 5.81 มาอยู่ที่ 6.43 ด้านความเป็นธรรมในสังคม ลดลงเล็กน้อยจาก 5.80 มาอยู่ที่ 5.79 ด้านสภาวะเศรษฐกิจของตนเองและ ครอบครัวเพิ่มขึ้นจาก 4.69 มาอยู่ที่ 5.76

นอกจากนี้ ด้านความสุขของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 3.95 มาอยู่ที่4.96 อย่างไรก็ตาม ความสุขต่อ บรรยากาศทางการเมืองกลับลดลงจาก 4.53 มาอยู่ที่ 4.48 ในการวิจัยครั้งนี้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลวิจัยพบว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 5 เล็กน้อยหรือร้อยละ 22.8 ใช้ชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด ในขณะที่ร้อยละ 42.7 ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างเคร่งครัด ร้อยละ 3.5 ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียง และร้อยละ 31.0 ใช้ชีวิตไม่พอเพียง นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัย ด้วยค่า Odds Ratio พบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงมีโอกาสที่ จะมีความสุขมากสูงสุด 17.61 เท่า มากกว่ากลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขฯ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงของการสำรวจวิจัยก่อนการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ความ สุขมวลรวมของสาธารณชนเริ่มเพิ่มสูงขึ้นบ้างเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขของประชาชนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการชี้ให้เห็นสัญญาณที่ดีต่อ ประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวม อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่รัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคมต้องให้ความสำคัญอย่างน้อยสามประการคือ เรื่องความเป็นธรรมในสังคม บรรยากาศทางการเมือง และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพราะกลุ่มปัจจัยเหล่านี้มันเกินขอบเขตความสามารถของ ปัจเจกชนทั่วไปจะควบคุมบริหารจัดการได้เพียงลำพัง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่าใครหรือคนกลุ่มใดจะเป็นผู้เสริมสร้างหรือทำลายดัชนีความสุขมวลรวมของ ประชาชน

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมีนาคม  2552
          2.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 58.2 เป็นหญิง

ร้อยละ 41.8 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.0 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.4 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.3 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 26.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดยร้อยละ 29.9 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 25.1 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ

ร้อยละ 17.0 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 12.8 เป็นข้าราชการ

ร้อยละ 6.4 เป็นนักศึกษา

ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ

ร้อยละ 2.8 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน

นอกจากนี้ ร้อยละ 71.2 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 24.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.6 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป

โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง      ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน / เกือบทุกวัน                              55.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                12.6
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                10.4
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                              8.9
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                 13.0
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0
ตารางที่ 2 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมีนาคม  2552

เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อคะแนนเต็ม 10

พ.ค.- ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค.51 ส.ค.51 ก.ย.51 ต.ค.51 พ.ย.— ปลายเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม

                                      ก.ค.50                                                          ธ.ค.51   ธ.ค.51    2552     2552    2552
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)   5.02     6.90      6.30     6.08     5.82     5.64     4.84    6.55     6.81     6.59    5.78     6.18

ตารางที่ 3  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                       เดือนกุมภาพันธ์ค่า GDH เต็ม 10     เดือนมีนาคมค่า GDH เต็ม 10
1          การแสดงความจงรักภักดี                                9.05                    9.17
2          บรรยากาศความสัมพันธ์ภายในครอบครัว                     7.24                    8.67
3          วัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย                    5.74                    8.12
4          สุขภาพทางกาย                                       6.98                    7.97
5          สุขภาพใจ                                           6.83                    7.94
6          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย                                 6.23                    7.58
7          ระบบการศึกษาของประเทศ                               -                      6.69
8          การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี                         5.99                    6.45
9          บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย                          5.81                    6.43
10          ความเป็นธรรมทางสังคม                               5.80                    5.79
11          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                   4.69                    5.76
12          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                            3.95                    4.96
13          บรรยากาศทางการเมือง                               4.53                    4.48
          ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนมีนาคม 2552           5.78                    6.18

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่          การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน          ค่าร้อยละ
1          ไม่พอเพียง                                            31.0
2          ไม่ค่อยพอเพียง                                          3.5
3          ค่อนข้างพอเพียง                                        42.7
4          พอเพียงอย่างเคร่งครัด                                   22.8
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าสถิติวิจัย Odds Ratio ของการใช้ชีวิตแบบพอเพียงที่มีต่อความสุขของประชาชน
ลำดับที่        ความสุขของประชาชน          Odds Ratio(95% C I )          ค่านัยสำคัญp-value
1          มีความสุข                              17.610                    0.000
2          ไม่มีความสุข                             อ้างอิง                      -

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ