ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่ม เชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวด เร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อการกู้เงินสี่แสนล้านบาทของรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ชลบุรี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น พัทลุง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,271 ครัวเรือน ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 โดยพบว่า ประชาชนประมาณสองในสามติดตามข่าวเศรษฐกิจเป็น ประจำอย่างน้อย 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 80.1 รับรู้ต่อข่าวเกี่ยวกับการกู้เงินสี่แสนล้านบาทของรัฐบาล ในขณะที่ร้อย ละ 19.9 ยังไม่ทราบข่าวนี้ ทั้งนี้ร้อยละ 65.2 ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องการกู้เงินดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุไม่ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว
ตัวอย่างร้อยละ 91.0 ต้องการให้รัฐบาลใช้เงินกู้สี่แสนล้านบาทในการปรับปรุงด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน ร้อยละ 90.9 ต้องการให้นำไปใช้ในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน ร้อยละ 88.4 ระบุกระตุ้นธุรกิจและอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ในประเทศ ร้อยละ 67.6 ระบุให้ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ในขณะที่ ร้อยละ 35.1 ระบุให้ปล่อยเงินกู้ให้กับ ประชาชน
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่าธุรกิจ/อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรกระตุ้นหรือให้การส่งเสริมนั้น ร้อยละ 98.4 ต้องการ ให้รัฐบาลส่งเสริมด้านการศึกษา รองลงมาคือ ร้อยละ 96.5 ระบุด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ร้อยละ 96.4 ระบุการประกอบอาชีพของ ประชาชนโดยตรง ร้อยละ 91.4 ระบุการท่องเที่ยว ร้อยละ 89.1 ระบุธุรกิจนำเข้าส่งออก ร้อยละ 81.1 ระบุธุรกิจ/อุตสาหกรรมด้านอาหาร นอกจากนี้ประชาชนยังต้องการให้รัฐบาลกระตุ้นหรือส่งเสริมธุรกิจ/อุตสาหกรรมด้านอื่นๆ อาทิ ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่รัฐบาลขอออก พ.ร.ก. กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศนั้น พบว่า ประชาชนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 62.3 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ประมาณหนึ่งในสามคือร้อยละ 37.7 ระบุไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ร้อยละ 47.4 ระบุ รัฐบาลควรกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุเป็นแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ และร้อยละ 42.4 ระบุควรกู้จาก ทั้งสองแหล่งดังกล่าว และเมื่อสอบถามต่อไปว่ารัฐบาลควรต้องนำเงินกู้4 แสนล้านบาทมาเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจระดับใดนั้น พบว่า ร้อยละ 17.6 ระบุ ต้องการให้รัฐบาลเน้นการแก้ไขเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนเป็นหลัก ในขณะที่ร้อยละ 15.3 ระบุเน้นการแก้ไขเศรษฐกิจในระดับประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ประมาณสองในสามคือร้อยละ 67.1 ระบุต้องการให้เน้นการแก้ไขเศรษฐกิจทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศ ทั้งนี้ประชาชน มากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 57.4 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่นมากต่อรัฐบาลในการนำเงินกู้มาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
และเมื่อสอบถามถึงผู้ที่คิดว่าจะได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลกู้เงิน 4 แสนล้านบาท ของรัฐบาลนั้น ร้อยละ 40.2 ระบุคิดว่าทุกกลุ่มจะ ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่ร้อยละ 27.4 ระบุนักการเมืองจะได้รับผลประโยชน์ ร้อยละ 18.6 ระบุประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับ ประโยชน์ ร้อยละ 9.0 ระบุกลุ่มนายทุนจะได้รับผลประโยชน์ ร้อยละ 1.3 ระบุกลุ่มข้าราชการ และร้อยละ 3.5 ระบุกลุ่มอื่นๆ
ดร.นพดลกล่าวว่าผลสำรวจในครั้งนี้พบว่าประชาชนเกินครึ่งคือร้อยละ 54.2 ระบุค่อนข้างมั่นใจ-มั่นใจมาก ว่ารัฐบาลจะสามารถนำพา ประเทศให้พ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ยังไม่ค่อยมั่นใจ-ไม่มั่นใจเลย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการทำงาน แก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยภาพรวมพบว่า ได้ 6.11 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.5 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.5 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุร้อยละ 5.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.5 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 17.6 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 3.2 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 34.1 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้