เอแบคโพลล์: ความสุขมวลรวมวันนี้ ของประชาชนภายในประเทศ (GDH Index) ประจำเดือนมิถุนายน 2552

ข่าวผลสำรวจ Monday June 15, 2009 07:29 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียล ไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความสุขมวลรวมวันนี้ ของประชาชนภายในประเทศ (GDH Index) ประจำเดือนมิถุนายน 2552 กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,030 ครัว เรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 13 มิถุนายน 2552 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง

เมื่อประเมินความสุขมวลรวมวันนี้ของคนไทยภายในประเทศ หรือที่เรียกว่า GDH พบว่า ลดลงเล็กน้อยจาก 7.17 ในการสำรวจครั้ง ก่อน ลงมาอยู่ที่ 7.15 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าความสุขมวลรวมของประชาชนในแต่ละกลุ่มปัจจัยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า เกินกว่าครึ่งในทุกด้านโดยค่าสูงสุดใน 5 อันดับแรกได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.07 วัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 8.14 บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ที่ 8.07 สภาวะการนอนหลับได้สนิทอยู่ที่ 7.69 และสุขภาพกายอยู่ที่ 7.64 ตามลำดับ ส่วนค่าต่ำสุดใน 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับอยู่ที่ 6.25 สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอยู่ที่ 5.46 และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ 5.21 ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย พบกลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้ ได้แก่ สุขภาพใจ (ค่ามาตรฐานอยู่ที่ .192) สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน (ค่ามาตรฐานอยู่ที่ .176) สภาวะการนอนหลับได้สนิท (.164) เศรษฐกิจ ระดับประเทศ (.111) บรรยากาศภายในครอบคัว (.105) ความเป็นธรรมในสังคมที่ได้รับ (.094) หน้าที่การงาน ความพึงพอใจในงาน (.082) และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย (.075) โดยกลุ่มปัจจัยเหล่านี้มีค่าความสัมพันธ์กับความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้ที่สามารถอธิบายได้ถึงร้อยละ 42.0 อย่างมีนัยสำคัญที่ทุกคนสามารถนำไปร่วมรณรงค์เสริมความสุขให้แก่กันและกัน โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความรู้สึกของคนไทยต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบผลสำรวจที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงมีความผูกพันต่อกันและกัน โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 รู้สึกเศร้าใจมาก ถึงมากที่สุดต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วน 10 ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับคนไทย พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 96.1 ระบุปัญหาปากท้องของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 95.0 ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับสามหรือ ร้อยละ 94.9 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 90.7 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 90.5 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 89.7 ปัญหาการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 88.3 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 86.1 ปัญหาสภาวะโลกร้อน ร้อยละ 83.2 ปัญหาคนต่างชาติหลบหนีเข้า เมือง และร้อยละ 77.0 ระบุปัญหาผู้ลี้ภัย ตามลำดับ

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.3 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 3.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 18.3 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.2 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.3 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 30.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป

โดยตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 26.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

นอกจากนี้ ร้อยละ 75.0 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 22.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 21.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 15.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 4.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 21.6 ระบุมากกว่า 20,000 บาท

โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง             ค่าร้อยละ
1          ติดตามเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง          86.7
2          ติดตามบ้าง ถึงไม่ได้ติดตามเลย                        13.3
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 2 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนเมษายน 2551 จนถึงปัจจุบัน  เมื่อคะแนนเต็ม 10

เม.ย.51 ก.ค.51 ส.ค.51 ก.ย.51 ต.ค.51 พ.ย.— ปลาย มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เม.ย.52 13 มิ.ย.

                                                                                 ธ.ค.51  ธ.ค.51    2552     2552    2552     2552    2552
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
 ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)  6.3    6.08      5.82     5.64    4.84    6.55     6.81    6.59     5.78    6.18     7.17    7.15

ตารางที่ 3  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนวันนี้ (13 มิถุนายน 2552) ในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          ความสุขด้านต่างๆ ของคนไทย          GDH วันนี้
1          การแสดงความจงรักภักดี                    9.07
2          วัฒนธรรมประเพณีไทย                      8.14
3          บรรยากาศภายในครอบครัว                  8.07
4          สภาวะการนอนหลับได้สนิท                   7.69
5          สุขภาพทางกาย                           7.64
6          สุขภาพใจ                               7.54
7          หน้าที่การงาน/อาชีพ                       7.51
8          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย                     7.37
9          การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี             7.20
10          บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย             7.14
11          ระบบการศึกษาของประเทศ                 7.00
12          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว       6.49
13          ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ              6.25
14          สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน                 5.46
15          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                5.21

ความสุขมวลรวมวันนี้ (13 มิถุนายน) ของคนไทย 7.15

ตารางที่ 4 แสดงค่าผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้          ค่ามาตรฐาน
1          สุขภาพใจ                                                  .192
2          สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน                                  .176
3          สภาวะการนอนหลับได้สนิท                                      .164
4          เศรษฐกิจระดับประเทศ                                        .111
5          บรรยากาศภายในครอบครัว                                     .105
6          ความเป็นธรรมในสังคม                                        .094
7          หน้าที่การงาน ความพึงพอใจในงาน                               .082
8          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย                                        .075
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้ง 8 กลุ่ม กับความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้          42.0%

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ลำดับที่          ความรู้สึกต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้                ค่าร้อยละ
1          ไม่รู้สึกเศร้าใจอะไรเลย                                        3.8
2          ไม่ค่อยเศร้า                                                 3.1
3          ปานกลาง                                                  12.7
4          ค่อนข้างเศร้า                                               11.0
5          รู้สึกเศร้าใจมาก ถึงมากที่สุด                                    69.4
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 6  แสดงร้อยละของตัวอย่งาที่ระบุ 10 ปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขเพื่อเพิ่มความสุขให้กับประชาชน  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขเพื่อเพิ่มความสุขให้กับประชาชน        ค่าร้อยละ
1          ปํญหาปากท้องประชาชน                                        96.1
2          สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้                            95.0
3          ยาเสพติด                                                  94.9
4          การทุจริตคอรัปชั่น                                            90.7
5          คุณภาพเด็กและเยาชน                                         90.5
6          ไข้หวัดใหญ่ 2009                                            89.7
7          ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                               88.3
8          สภาวะโลกร้อน                                              86.1
9          คนต่างชาติหลบหนีเข้าเมือง                                     83.2
10          ผู้ลี้ภัย                                                    77.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ