ในโอกาสวันผู้ลี้ภัยโลกซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และ วิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย“เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบ แบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง กลุ่มผู้ลี้ภัยในสายตาคนไทยและ บทบาทของสมาคมอาเซียน และองค์กรสหประชาชาติในการดูแลกลุ่มผู้ลี้ภัย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,331 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ผลการสำรวจพบว่าคนไทย ที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่คือร้อยละ 85.6 ระบุติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงความเข้าใจของคนไทยต่อ กลุ่มผู้ลี้ภัย พบว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ถูกต้องชัดเจน โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 ยังคงเข้าใจว่า กลุ่มผู้ลี้ภัยคือกลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเหมือนแรงงานต่างชาติทั่วไป ในขณะที่เพียงร้อย ละ 22.2 เท่านั้นที่เข้าใจว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยคือกลุ่มคนที่หนีภัยจากสงครามและภัยอื่นๆ โดยได้รับการรับรองสถานภาพเป็นผู้ลี้ภัยจากองค์กรระหว่างประเทศ และร้อยละ 3.2 ระบุไม่ทราบ
เมื่อถามถึงบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น สมาคมอาเซียน และสหประชาชาติ ในการดูแลผู้ลี้ภัยในประเทศไทย พบว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ต้องการให้สมาคมอาเซียน และสหประชาชาติเข้ามาดูแลสิทธิต่างๆ ของกลุ่มผู้ลี้ภัยดังนี้ คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.0 และ ร้อยละ 71.9 ต้องการให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติเข้ามาดูแลสิทธิในการรักษาพยาบาลของกลุ่มผู้ลี้ภัย ร้อยละ 60.2 และร้อยละ 67.4 ต้อง การให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติเข้ามาดูแลสิทธิด้านการศึกษา ร้อยละ 59.6 และร้อยละ 64.2 ต้องการให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติ เข้ามาดูแลเสรีภาพในการเดินทางของผู้ลี้ภัย ร้อยละ 59.1 และร้อยละ 60.1 ต้องการให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติดูแลสิทธิด้านการประกอบ อาชีพของกลุ่มผู้ลี้ภัย ร้อยละ 57.8 และร้อยละ 61.0 ต้องการให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติดูแลเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ร้อยละ 57.7 และร้อยละ 62.5 ต้องการให้สมาคมอาเซียนและสหประชาชาติดูแลด้านที่พักอาศัย และร้อยละ 63.0 และร้อยละ 67.1 ต้องการให้สมาคมอา เซียนและสหประชาชาติดูแลด้านอาหารของกลุ่มผู้ลี้ภัย
นอกจากนี้ สิ่งที่คนไทยอยากให้หน่วยงานระดับนานาชาติรณรงค์ให้กลุ่มผู้ลี้ภัยทำอะไรเพื่อสังคมไทยและคนไทย ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 92.7 อยากให้ผู้ลี้ภัยทำกิจกรรมแสดงความสำนึกต่อบุญคุณของแผ่นดินไทย และร้อยละ 92.7 เช่นกันระบุอยากให้เผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ไทย ร้อยละ 89.1 ให้ผู้ลี้ภัยในค่ายทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ให้กับชุมชนรอบข้าง ร้อยละ 87.3 ให้ผู้ลี้ภัยในประเทศที่สามกลับมาช่วยพัฒนา ประเทศไทยและประเทศบ้านเกิดของพวกเขา ร้อยละ 85.0 ให้ผู้ลี้ภัยจัดตั้งกลุ่มต่อต้านปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมทุกรูปแบบให้หมดไปจากสังคม ไทย ร้อยละ 81.9 ให้ผู้ลี้ภัยที่ศึกษาจบจากประเทศที่สาม กลับมาช่วยพัฒนาประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และร้อยละ 74.6 ให้ช่วยแก้ปัญหา เศรษฐกิจของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่น่าเป็นห่วงเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ลี้ภัย ถ้ารัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศไม่มีนโยบายผู้ลี้ภัยที่ดีพอ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 94.3 ระบุตกเป็นเหยื่อพ่อค้ากินหัวคิว ขายแรงงานต่างชาติ รองลงมาคือ ร้อยละ 88.3 ระบุขายบริการทางเพศ ร้อยละ 86.0 ระบุถูกล่วง ละเมิดทางเพศ ร้อยละ 84.9 ถูกนำไปเป็นขอทาน ร้อยละ 84.2 ขายยาเสพติด ร้อยละ 82.6 ก่ออาชญากรรม ร้อยละ 67.9 ขายอาวุธสงคราม และร้อยละ 58.4 ขายอวัยวะของร่างกาย ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่มีภาพลักษณ์ของรัฐบาลไทย สมาคมอาเซียน และสหประชาชาติ ยังไม่ดี เพียงพอเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ปัญหากลุ่มผู้ลี้ภัย โดยพบว่า ร้อยละ 74.8 ร้อยละ 76.5 และร้อยละ 74.4 ที่คิดว่า รัฐบาลไทย สมาคมอา เซียน และสหประชาชาติ ตามลำดับ ยังไม่มีนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้ลี้ภัยที่ดีเพียงพอ โดยผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 58.6 เห็นด้วยที่รัฐบาลไทยจะหยิบยกประเด็นปัญหาผู้ลี้ภัยเข้าสู่การประชุมอาเซียนเป็นวาระหลักในครั้งต่อไป
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เกือบ 60 ปีแล้วที่รัฐบาลไทยยังไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ส่งผล ให้กลุ่มผู้ลี้ภัยในประเทศไทยไม่ได้รับสิทธิของความเป็นมนุษย์หลายประการ เช่น สิทธิการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นคนที่มีคุณภาพทำ ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น สิทธิในการเข้าถึงระบบการบริการสุขภาพที่ดี และสิทธิการทำงานหาเลี้ยงชีพ เป็นต้น ตรงกันข้าม กลุ่มคนหลบหนีเข้าเมือง ที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยกลับได้รับสิทธิต่างๆ มากกว่า จนทำให้กลุ่มผู้ลี้ภัยหนีออกไปนอกค่ายและตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ สร้างปัญหาที่ รุนแรงต่อประชาชนคนไทยและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
“ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่ค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้คือ รัฐบาลไทยควรร่วมกับสมาคมอาเซียนและสหประชาชาติหยิบยกประเด็นผู้ลี้ภัยเป็น วาระหลักในการประชุมอาเซียนครั้งต่อไป เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้ลี้ภัยที่ครบวงจรเยียวยาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและพัฒนา ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถร่วมเสริมสร้างสันติวิธีพัฒนาประเทศไทยเพื่อประชาชนคนไทยและประชาคมอาเซียนใน ภูมิภาคนี้ได้ต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.3 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 26.8 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 72.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 31.2 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.2 ระบุนักเรียน นักศึกษา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้