ที่มาของโครงการ ในวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก โดยมีกว่า 70 ประเทศทั่วโลกร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและหยุดยั้งโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามจากข่าวตามสื่อต่าง ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ พบว่าในขณะนี้สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทยและทั่วโลกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเอดส์เริ่มเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการขาดความรู้ความเข้าใจและการป้องกันที่ดี การมีพฤติกรรมทางเพศของเยาวชนและประชาชนทั่วไปในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ในขณะเดียวกันการรณรงค์ในวันเอดส์โลกของภาครัฐและภาคเอกชนประชาชนได้รับรู้/รับทราบเพียงใด การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ตลอดจนความคิดเห็น ทัศนคติ/ความเอื้ออาทรของประชาชนต่อผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นอย่างไร จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษาเพื่อนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์และเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนทุกคน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงมีความประสงค์ที่จะทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย 1. เพื่อสำรวจการรับรู้/รับทราบข่าวสารการรณรงค์ “วันเอดส์โลก” ของประชาชน 2. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโรคเอดส์ 3. เพื่อสำรวจพฤติกรรมทางเพศของประชาชนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ 4. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติ และความเอื้ออาทรของประชาชนต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ระเบียบวิธีการทำโพลล์ โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “โรคเอดส์ ความเสี่ยงและการยอมรับทางสังคมของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2548 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 13 — 60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จำแนกตามเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,799 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.3 เป็นหญิง ร้อยละ 49.7 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 28.3 อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 14.8 อายุ 13-19 ปี และร้อยละ 12.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนระดับการศึกษาพบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 24.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. / มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 15.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 7.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้เมื่อพิจารณาอาชีพของตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 34.2 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 29.8 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.9 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 5.0 อาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.9 ไม่ระบุอาชีพรวมทั้งว่างงาน และร้อยละ 0.2 ประกอบอาชีพเกษตรกร โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบบทสรุปผลสำรวจ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “โรคเอดส์ ความเสี่ยงและการยอมรับทางสังคมของประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 13 — 60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,799 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้ จากการพิจารณาผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80.7 ระบุไม่ทราบว่าวันเอดส์โลกตรงกับวันที่เท่าใด และร้อยละ 3.8 ระบุทราบแต่ระบุวันที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นที่ระบุทราบว่าวันเอดส์โลกตรงกับวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องของประชาชนเกี่ยวกับโรคเอดส์ พบว่าประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.7 มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือร้อยละ 27.5 ระบุมีระดับความรู้ความเข้าใจในระดับมาก มีเพียง ร้อยละ 9.7 ระบุระดับความรู้ความเข้าใจในระดับมากที่สุดตามลำดับ ในส่วนผลสำรวจความยากง่ายในการติตต่อ/แพร่ระบาดของโรคเอดส์ พบว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.3 ระบุว่ายากต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ร้อยละ 24.3 ระบุง่ายต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ และร้อยละ 16.7 ระบุไม่แน่ใจต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ นอกจากนี้ด้านพฤติกรรมที่ทำให้ติดเชื้อโรคเอดส์ได้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 95.5 ระบุการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคเอดส์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 88.6 ระบุการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 80.0 ระบุการรับเลือดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ และร้อยละ 51.1 ระบุทารกที่ดื่มนมมารดาที่มีเชื้อโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าตัวอย่างร้อยละ 6.9 ระบุการว่ายน้ำในสระเดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 6.6 ระบุการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 3.6 ระบุ การนอนพักอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ และร้อยละ 1.8 ระบุการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมข้างต้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อโรคเอดส์ได้ นอกจากนี้จากผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ พบว่า ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 71.0 คิดว่าไม่มีโอกาสเสี่ยง โดยให้เหตุผลเพราะไม่มีเพศสัมพันธ์ และไม่ใช้เข็มฉีดยา นอกจากนี้ยังให้เหตุผลว่ามีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์เป็นอย่างดี ร้อยละ 10.1 คิดว่ามีโอกาสเสี่ยง โดยให้เหตุผลว่าไม่ทราบว่ามีผู้ใดติดเชื้อเอดส์บ้าง และแฟน/คนรักมีนิสัยเจ้าชู้ และร้อยละ 18.9 คิดว่าไม่แน่ใจ โดยให้เหตุผลเพราะมีนิสัยชอบเที่ยวแต่ก็ใช้ถุงยางอนามัย และเพศสัมพันธ์เป็นประจำ เอแบคโพลล์ได้สอบถามถึงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของประชาชนทั่วไป พบว่า ร้อยละ 75.5 ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์ ในช่วงอายุที่เคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกพบว่าร้อยละ 54.5 ระบุช่วงอายุ 16-20 ปี ร้อยละ 23.1 ระบุช่วงอายุ 21-25 ปี และร้อยละ 13.6 ระบุช่วงอายุ 10-15 ปีตามลำดับ แต่ที่น่าสังเกตที่สุดคือตัวอย่างที่มีอายุน้อยที่สุดที่เคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือมีอายุเพียง 10 ปีเท่านั้น นอกจากนี้บุคคลที่ตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นประจำนั้นพบว่า ร้อยละ 71.5 ระบุสามี/ภรรยา ร้อยละ 30.8 ระบุแฟน/คู่รัก ร้อยละ 3.9 ระบุเพื่อน ร้อยละ 3.6 ระบุผู้ขายบริการทางเพศ และร้อยละ 1.4 ระบุผู้ร่วมงานตามลำดับ ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 37.2 ใช้ทุกครั้ง ร้อยละ 20.1 ใช้เป็นบางครั้ง และร้อยละ 9.4 ระบุใช้เกือบทุกครั้ง แต่ที่น่าสังเกตมีตัวอย่างถึงร้อยละ 33.3 ที่ระบุไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์เลย นอกจากนี้การสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ และการเอื้ออาทรของตัวอย่างที่มีต่อผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ในสถานการณ์สมมติ พบว่า ร้อยละ 59.5 ซึ่งเกินกว่าครึ่งระบุคิดว่ายอมรับไม่ได้ถ้าต้องใช้ผ้าเช็คตัวผืนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ร้อยละ 53.9 ซึ่งเกินกว่าครึ่งระบุคิดว่ายอมรับไม่ได้ถ้าต้องดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ และร้อยละ 48.7 ระบุคิดว่ายอมรับไม่ได้ถ้าต้องโอบกอดกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันเมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อโรคเอดส์ของประชาชน พบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 67.4 มีความรู้สึกกลัวต่อโรคเอดส์ ในขณะที่ร้อยละ 26.8 ระบุไม่มีความรู้สึกกลัวต่อโรคเอดส์ และร้อยละ 5.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ ในส่วนผลสำรวจของประชาชน พบว่า ร้อยละ 11.4 ระบุมีคนใกล้ตัวที่ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 80.4 ระบุไม่มี ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ระบุไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามประชาชนที่ระบุว่ามีคนใกล้ตัวติดเชื้อโรคเอดส์ พบว่า ร้อยละ 42.0 เป็นเพื่อน ร้อยละ 27.4 เป็นพี่/น้อง และญาติ และร้อยละ 16.8 ระบุเป็นคนรู้จักเพื่อนร่วมงานตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชนสามารยอมรับหากคนที่รักติดเชื้อโรคเอดส์กว่าร้อยละ 66.7 มีเพียงร้อยละ 12.9 ที่ยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 13.9 ยังไม่แน่ใจตามลำดับ ประเด็นสุดท้ายที่ได้จากการผลสำรวจคือ ประชาชนมีความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อป้องกัน/แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคเอดส์ พบว่า ร้อยละ 80.5 ระบุการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรคเอดส์ ร้อยละ 78.9 การรณรงค์ส่งเสริมให้มีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ร้อยละ 73.6 ให้มีการสนับสนุนให้โรงพยาบาลเพิ่มบทบาทในการดูแลรักษา/ป้องกัน และให้ความรู้มากขึ้น ร้อยละ 65.4 ระบุการสร้างเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และร้อยละ 2.1 ระบุให้มีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้น ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการทำวิจัยหลายครั้งเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพบว่า รัฐบาลกำลังประสบกับปัญหาการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15 — 24 ปี เพราะรัฐบาลมุ่งเน้นแต่การสร้างความรู้และการรับรู้โดยผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยไม่มีจุดเชื่อมต่อไปยังพฤติกรรมการป้องกัน รัฐบาลจึงควรมียุทธศาสตร์แก้ปัญหาโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนด้วยการวิเคราะห์แยกส่วนแยกกลุ่มเพื่อใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้ตรงตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเยาวชนที่ตกอยู่ใน “สถานการณ์เสี่ยงต่อโรคเอดส์” มีดังนี้ กลุ่มที่แรก คือกลุ่มเยาวชนที่เป็นเยาวชนหญิงอายุน้อย กลุ่มนี้อายุไม่เกิน 20 ปี หรือ 20 ต้นๆ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต้องประสบกับความยากลำบากอย่างมากในการขอร้องให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ผลที่ตามมาก็คือทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงจากการติดเชื้อเอดส์ กลุ่มสอง คือกลุ่มเยาวชนที่หนีออกจากบ้านและไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งเกิดจากสาเหตุความขัดแย้ง ความรุนแรง การข่มขืนบังคับจิตใจและความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เยาวชนเหล่านี้จำนวนมากทั้งชายและหญิงจึงมีการทำงานค้าบริการทางเพศเพื่อแลกกับเงิน อาหาร ที่พักอาศัยและยาเสพติด ความคิดและทัศนคติเรื่องการป้องกันเอดส์ในกลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับความใส่ใจเท่าที่ควรเนื่องจากอาจถูกมองว่าเป็นภาระและอุปสรรคต่อความอยู่รอด ดร.นพดล กล่าวต่อว่า กลุ่มที่สาม คือกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานกักกัน กลุ่มนี้มองว่าตนเองหมดอนาคต ดูถูกตัวเอง และคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่าอะไร จึงไม่ใส่ใจระมัดระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มที่สี่ คือกลุ่มเยาวชนที่เคยเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนกระทำชำเราในวัยเด็ก ซึ่งกลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้ประสบกับผลกระทบอย่างยาวนานด้านพัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์และมีปัญหาในการมองคุณค่าตัวเองต่ำ ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้มักตัดสินใจเข้าไปใช้ยาเสพติด ขายบริการทางเพศและมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มที่ห้า คือกลุ่มเยาวชนที่ดื่มเหล้า ใช้ยาเสพติด และมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการแพร่ระบาดค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีดผ่านทางเข็มฉีดยาร่วมกัน สำหรับกลุ่มที่ดื่มเหล้าและใช้ยาเสพติดที่ไม่ผ่านการใช้เข็มฉีดยาแต่กลับใช้ยาเสพติดที่กระตุ้นให้มีอารมณ์สุขกระตุ้นการมีเพศสัมพันธ์ ผลที่ตามมาคือการเข้าไปอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงของการเป็นเอดส์ กลุ่มที่หก คือกลุ่มเยาวชนที่หนีเรียนและเลิกเรียนทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่จบ ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่มักไม่ได้รับประโยชน์จากการให้การศึกษาและข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ในสถาบันการศึกษา และเยาวชนจำนวนมากในกลุ่มนี้ที่ ถูกแยกออกไปจากสังคม ทำให้พวกเขาไม่มีการสนับสนุนหรือชี้นำที่สร้างสรรค์จากผู้ใหญ่ พวกเขาเหล่านี้มักจะขาดช่องทางในการเข้าถึงการบริการทางสังคมและสุขภาพที่ดี จากการสัมภาษณ์เจาะลึกกับเยาวชนกลุ่มนี้พบว่า พวกเขาค่อนข้างรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและทรมานกับความกดดัน ความกังวล และมองตนเองว่าด้อยคุณค่าไปเพราะตัดสินใจไม่ยอมเรียนไม่อยู่ในระบบการศึกษา ผลที่ตามมาก็คือเยาวชนกลุ่มนี้ก็เข้ามีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดอื่นๆ กลุ่มที่เจ็ด คือกลุ่มเยาวชนที่เป็นเกย์ เลสเบียนและทั้งสองแบบ เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังไม่ให้การยอมรับ ผลที่ตามมาก็คือ เยาวชนกลุ่มนี้มักมีอาการเศร้าซึม เครียด และหาทางออกในหลากหลายลักษณะเช่นการฆ่าตัวตาย การใช้ยาเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์ มีผลวิจัยระบุว่าเกย์คิงส์มักไม่ใส่ใจกับการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ โดยที่เกย์อายุต่ำกว่า 20 ปีมักมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันอีกด้วย กลุ่มที่แปด คือกลุ่มเยาวชนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย กลุ่มนี้มีความต้องการเงิน อาหาร ที่พักอาศัย ยาเสพติดผ่านการขายบริการทางเพศที่ไม่มีการป้องกันการติดเชื้อเอดส์เนื่องจากมีระดับการศึกษาที่ต่ำ ไม่เห็นความสำคัญของการใช้ถุงยาอนามัยและการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เข้าไม่ถึง เป็นต้น ดร.นพดล ชี้ให้เห็นว่า อาจเป็นความเชื่อของคนจำนวนมากที่ว่าปัญหาโรคเอดส์เป็นปัญหาใหญ่ของคนที่อยู่ในเมืองที่เจริญมีสถานบันเทิงจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่ในเขตชนบทที่ห่างไกลกลับกลายเป็นพื้นที่ที่การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เข้าไปไม่ถึงอย่างเต็มที่นัก ผลที่ตามมาก็คือการแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรก่อให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดอย่างหนักและยากที่จะควบคุมได้ ดร.นพดล กล่าวเสนอแนะว่า แนวทางแก้ไขที่สำคัญคือ สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา และชุมชน โดยต้องแยกแนวทางแก้ไขออกตามพื้นที่ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลหรือในเขตเมืองเข้าถึงสื่อมวลชนผ่านทางสื่อโทรทัศน์เป็นอันดับแรก แต่ประชาชนส่วนใหญ่นอกเขตเทศบาลเข้าถึงสื่อผ่านทางวิทยุเป็นส่วนมาก ซึ่งสื่อมวลชนต้องแสดงบทบาทในการส่งข้อมูลข่าวสารหรือข้อคิดไปยังประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันเอชไวอีที่ดี และการดำเนินการควรเน้นร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างสื่อ สถาบันการศึกษา สถานประกอบการและชุมชนในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคเอดส์ โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทราบหรือไม่ว่าวันเอดส์โลกตรงกับวันที่เท่าใดของทุกปีลำดับที่ การรับทราบวันเอดส์โลก ร้อยละ1 ทราบและระบุวันถูกต้องคือทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี 15.52 ทราบแต่ระบุวันไม่ถูกต้อง 3.83 ไม่ทราบ 80.7 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ลำดับที่ ระดับความเข้าใจ ร้อยละ1 มากที่สุด 9.72 มาก 27.53 ปานกลาง 53.74 น้อย 6.85 น้อยที่สุด 2.3 รวมทั้งสิ้น 100.00ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความยากง่ายในการการติดต่อ/แพร่ระบาดของโรคเอดส์ลำดับที่ ความยากง่ายในการติดต่อ/แพร่ระบาดของโรคเอดส์ ร้อยละ1 ยาก 53.32 ง่าย 24.33 ไม่แน่ใจ 16.74 ไม่มีความคิดเห็น 5.7 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมที่คิดว่าทำให้ติดเชื้อโรคเอดส์ได้และไม่ได้ (ตอบได้มากกว่า1 ข้อ) พฤติกรรม ความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น คิดว่าติดเชื้อโรคเอดส์ได้ ไม่คิดว่าติดเชื้อโรคเอดส์ได้ 1) การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคเอดส์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 95.0 5.0 100.02) การรับเลือดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ 88.6 11.4 100.03) ทารกที่ดื่มนมมารดาที่มีเชื้อโรคเอดส์ 80.0 20.0 100.04) การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 51.1 48.9 100.05) การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 6.9 93.1 100.05) การว่ายน้ำในสระเดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 6.6 93.4 100.06) การนอนพักอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 3.6 96.4 100.07) การถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 1.8 98.2 100.0ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ ร้อยละ1 มีโอกาสเสี่ยง 10.12 ไม่มีโอกาสเสี่ยง 71.03 ไม่แน่ใจ 18.9 รวมทั้งสิ้น 100.0ตัวอย่างที่ระบุ “มีโอกาสเสี่ยง” ให้เหตุผลเพราะ...1) ไม่ทราบว่ามีผู้ใดที่ติดเชื้อโรคเอดส์บ้าง2) แฟน/คนรักมีนิสัยเจ้าชู้3) ไม่ชอบใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่มีโอกาสเสี่ยง” ให้เหตุผลเพราะ...1) ไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยา2) มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์เป็นอย่างดี3) มีการป้องกันการติดเชื้อตัวอย่างที่ระบุ “ไม่แน่ใจ” ให้เหตุผลเพราะ...1) มีนิสัยชอบเที่ยวแต่ก็ใช้ถุงยางอนามัย2) มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ3) ไม่มีความมั่นใจในตนเองตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ลำดับที่ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ1 เคย 75.52 ไม่เคย 24.5 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงอายุที่เคยมีเพศสัมพันธ์ในครั้งแรกลำดับที่ ช่วงอายุ ร้อยละ1 10-15 ปี 13.62 16-20 ปี 54.53 21-25 ปี 23.14 26-30 ปี 7.05 31-35 ปี 1.46 36 ปีขึ้นไป 0.4 รวมทั้งสิ้น 100.0*อายุน้อยที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ 10 ปี *อายุโดยเฉลี่ยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ 20 ปี ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นประจำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ลำดับที่ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ ร้อยละ1 สามี/ภรรยา 71.52 แฟน/คู่รัก 30.83 เพื่อน 3.94 ผู้ขายบริการทางเพศ 3.65 อื่นๆ อาทิ ผู้ร่วมงาน เช่น เจ้านาย/ลูกน้อง และคนรู้จักทางอินเตอร์เนต เป็นต้น 2.2ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ของการใช้ถุงยางอนามัยลำดับที่ การใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ1 ใช้ทุกครั้ง 37.22 เกือบทุกครั้ง 9.43 ใช้เป็นบางครั้ง 20.04 ไม่ใช้เลย 33.3 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “สามีควรใช้ถุงยางอนามัยกับผู้หญิง อื่นแต่กับภรรยาตนเองไม่จำเป็นต้องใช้”ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ1 เห็นด้วย 55.92 ไม่เห็นด้วย 27.33 ไม่มีความคิดเห็น 16.9 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของตนว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์หรือไม่ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ1 ไม่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง 64.82 เป็นพฤติกรรมเสี่ยง 12.33 ไม่แน่ใจ 14.84 ไม่ทราบ 8.1 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์สมมติ สถานการณ์สมมติ ระดับการยอมรับ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ไม่แน่ใจ ไม่มีความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น1) ท่านยืนรอรถเมล์ป้ายเดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 87.4 4.5 4.6 3.5 100.02) ท่านดูหนังในโรงภาพยนตร์เดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 83.9 5.4 6.9 3.8 100.03) มีผู้ป่วยโรคเอดส์อยู่ในชุมชนเดียวกับท่าน 83.2 5.7 7.1 4.0 100.04) บ้านของท่านอยู่ติดกับบ้านของผู้ป่วยโรคเอดส์ 76.9 7.4 10.4 5.3 100.05) ท่านว่ายน้ำกับผู้ป่วยโรคเอดส์ในสระว่ายน้ำเดียวกัน 36.7 30.5 26.0 6.8 100.06) ท่านรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 47.0 25.7 21.4 5.9 100.07) ท่านสามารถโอบกอดกับผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ 24.6 48.7 20.4 6.3 100.08) ท่านต้องดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 17.7 53.9 22.5 5.9 100.09) ท่านใช้ผ้าเช็คตัวผืนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคเอดส์ 14.0 59.5 20.6 5.9 100.0ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อโรคเอดส์ลำดับที่ ความรู้สึกต่อโรคเอดส์ ร้อยละ1 รู้สึกว่าน่ากลัว 67.42 รู้สึกว่าไม่น่ากลัว 26.83 ไม่แน่ใจ 5.8 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีคนใกล้ตัวที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือไม่ลำดับที่ คนใกล้ตัวที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร้อยละ1 มี 11.42 ไม่มี 80.43 ไม่แน่ใจ 8.2 รวมทั้งสิ้น 100.0ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคนใกล้ตัวที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)ลำดับที่ คนใกล้ตัวที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร้อยละ1 เพื่อน 42.02 พี่/น้อง/ญาติ 27.43 ลูก/หลาน 11.14 ตัวเอง 6.65 พ่อแม่ 1.36 อื่น ๆ อาทิ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน คนรู้จัก 16.8ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับหากคนที่รักติดเชื้อโรคเอดส์ลำดับที่ การยอมรับ ร้อยละ (ยังมีต่อ)