เอแบคโพลล์: เสียงของสาธารณชนต่อดัชนีความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ ความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตในโครงการชุมชนพอเพียงของรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Monday August 10, 2009 08:16 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เสียงของ สาธารณชนต่อดัชนีความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตในโครงการชุมชนพอ เพียงของรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และ สุราษฎร์ ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,389 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 8 สิงหาคม 2552 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อตัวชี้วัดความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ประชาชนผู้ ตอบหนึ่งคนสามารถระบุความเป็นผู้นำให้แก่นักการเมืองทั้งสองนี้ได้เหมือนกัน) ซึ่งผลสำรวจพบว่า จุดแข็งในความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ เมื่อเปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีดังต่อไปนี้ ในเรื่องการควบคุมอารมณ์ได้ดี ร้อยละ 73.8 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 45.0 ระบุ เป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเรื่องความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม ร้อยละ 71.4 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 61.6 ระบุเป็นพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ใน เรื่องการให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน ร้อยละ 68.4 ระบุเป็นนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 52.1 ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ร้อย ละ 68.2 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 40.5 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเรื่องความเป็นนักประชาธิปไตย ร้อยละ 66.5 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 51.5 ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

ในเรื่องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า พวกพ้องและคนใกล้ชิด ร้อยละ 65.4 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 36.4 ระบุ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ในเรื่องมีเสน่ห์ ดึงดูดจิตใจน่าเลื่อมใสศรัทธา ร้อยละ 64.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 53.8 ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเรื่องความเป็นที่ไว้วาง ใจได้ของประชาชนร้อยละ 61.4 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 57.9 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ยึดหลักคุณธรรม ร้อยละ 54.1 ระบุนายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 37.7 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งด้านความเป็นผู้นำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเปรียบเทียบกับนายอภิสิทธิ์ มีดังต่อไปนี้ ในด้านความรู้ ความสามารถ ร้อยละ 81.6 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 61.8 ระบุนายอภิสิทธิ์ ในเรื่องการสื่อสารได้ดีกับประชาชนภายในประเทศ ร้อยละ 68.2 ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 53.3 ระบุนายอภิสิทธิ์ ในเรื่องการเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น ร้อยละ 65.2 ระบุ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ร้อยละ 51.3 ระบุนายอภิสิทธิ์ ในเรื่องการสื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก ร้อยละ 72.1 ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 47.0 ระบุนาย อภิสิทธิ์ ในด้านการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ร้อยละ 76.0

ระบุพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 40.2 ระบุนายอภิสิทธิ์ ในด้านความรวดเร็วฉับไว แก้ไขปัญหา ร้อยละ 73.5 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 37.9 ระบุนายอภิสิทธิ์ ในด้านความเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 71.4 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ 25.1 ระบุนาย อภิสิทธิ์

ที่น่าพิจารณา เพราะนับเป็นปรากฏการณ์ที่ดีในสิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจ คือ ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีจุด แข็งร่วมกันเนื่องจากผลสำรวจตัวเลขไม่แตกต่างกันในทางสถิติ คือ ร้อยละ 67.0 ระบุนายอภิสิทธิ์ ไม่ทอดทิ้งชาวบ้านเมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี และ ร้อยละ 66.7 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ไม่ทอดทิ้งชาวบ้านหลังได้เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน

แต่ที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบันคือ ปัญหาทุจริตในโครงการชุมชนพอเพียง ที่ร้อยละ 50.5 รับทราบข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นใน โครงการชุมชนพอเพียงที่เสนอผ่านสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 ไม่เคยมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนพอเพียงของหมู่บ้านชุมชนที่ตน เองพักอาศัย และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 เกรงว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียงจะกระทบเสียหายต่อการใช้แนวคิดตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง โดยผลสำรวจพบว่า วิธีที่ต้องการให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบมากที่สุดต่อปัญหานี้ คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ให้ทุกคนทำงาน ต่อไปแต่ต้องเร่งหาคนผิดมาลงโทษ รองลงมาคือ ร้อยละ 17.0 ให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลาออก ร้อยละ 11.5 ให้รัฐบาลทั้งคณะลาออก ในขณะที่เพียง ร้อยละ 14.7 ให้ทุกฝ่ายทำงานต่อไป เพราะเป็นปัญหาส่วนน้อย

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นจุดแข็งในดัชนีความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ค้นพบโดยนายอภิสิทธิ์ ได้รับผลโหวตมากกว่าในเรื่อง การควบคุมอารมณ์ได้ดี เคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม ให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นนัก ประชาธิปไตย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าพวกพ้องและคนใกล้ชิด มีเสน่ห์ดึงดูดจิตใจน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นที่ไว้วางใจได้ของประชาชน และแต่ง ตั้งโยกย้ายข้าราชการ ยึดหลักคุณธรรม ในขณะที่จุดแข็งของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในด้านความเป็นผู้นำคือ ความรู้ความสามารถ การสื่อสารได้ดีกับ ประชาชนภายในประเทศ การเข้าถึงประชาชนได้ทุกระดับชั้น สื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก บริหารจัดการ แบบมืออาชีพ รวดเร็วฉับไวแก้ไขปัญหา และเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม จุดแข็งที่ทั้งสองมีร่วมกันคือ ไม่ทอดทิ้งชาวบ้าน เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขึ้นอยู่กับประชาชนอยากได้ผู้นำแบบไหน และนักการเมืองทั้งสองควรเร่งเพิ่มจุดแข็งลดจุดด้อยของตนเอง

“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ยังพบปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาลที่ต้องเร่งสร้างจุดแข็งในความรวดเร็วฉับไวแก้ไขปัญหาทุจริต โครงการชุมชนพอเพียงโดยด่วน เพราะประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าจะกระทบสร้างความเสียหายต่อการใช้แนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงเสนอแนะ ให้ เร่งแต่งตั้งคณะกรรมการภายนอกที่เป็นอิสระเข้าตรวจสอบหาคนผิดมาลงโทษโดยด่วน เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามบานปลายกระทบความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อรัฐบาลและต่อแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ ควรมีการทำวิจัยโดยสถาบันการศึกษาระดับท้องถิ่นหรือภูมิภาคสำรวจความคิด เห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบโครงการชุมชนพอเพียงทั้งแปดหมื่นกว่าชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นโครงการที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต และความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นของประเทศ ป้องกันปัญหาการยัดเยียดสิ่งแปลกปลอมที่ชาวบ้านไม่ต้องการและเปิดช่องให้มี การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ แกนนำชุมชน และกลุ่มนายทุน อย่างที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้” ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าว

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.3 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.7 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 27.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 12.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                           41.8
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                           28.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                           17.8
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                         9.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                             2.8
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อดัชนีความเป็นผู้นำ ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ดัชนีความเป็นผู้นำ                    นายอภิสิทธิ์ค่าร้อยละ      พ.ต.ท.ดร.ทักษิณค่าร้อยละ
1          ควบคุมอารมณ์ได้ดี                              73.8                    45.0
2          มีความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม                    71.4                    61.6
3          การให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน                  68.4                    52.1
4          ความซื่อสัตย์สุจริต                              68.2                    40.5
5          มีความเป็นนักประชาธิปไตย                       66.5                    51.5
6          เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าพวกพ้องและคนใกล้ชิด   65.4                    36.4
7          มีเสน่ห์ ดึงดูด จิตใจน่าเลื่อมใสศรัทธา               64.9                    53.8
8          เป็นที่ไว้วางใจได้ของประชาชน                    61.4                    57.9
9          แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ยึดหลักคุณธรรม            54.1                    37.7
10         ความรู้ ความสามารถ                           61.8                    81.6
11         สื่อสารได้ดีกับประชาชนภายในประเทศ               53.3                    68.2
12         เข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น              51.3                    65.2
13         สื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก                  47.0                    72.1
14         เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก                45.7                    71.3
15         บริหารจัดการแบบมืออาชีพ                        40.2                    76.0
16         รวดเร็วฉับไว แก้ไขปัญหา                        37.9                    73.5
17         เป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน             25.1                    71.4
18         ไม่ทอดทิ้งชาวบ้านเมื่อได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี         67.0                    66.7

ความคลาดเคลื่อนประมาณ +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียงที่เสนอผ่านสื่อมวลชน
ลำดับที่          การรับทราบข่าว          ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                    50.5
2          ไม่ทราบข่าว                  49.5
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนพอเพียงของชุมชนที่ตนเองพักอาศัย
ลำดับที่          การมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนพอเพียงของชุมชนที่ตนเองพักอาศัย    ค่าร้อยละ
1          มีส่วนร่วม                                                  37.8
2          ไม่เคยมีส่วนร่วม                                             62.2
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการใช้แนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จากการทุจริตโครงการชุมชนพอเพียง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                     ค่าร้อยละ
1          กระทบเสียหายต่อการใช้แนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง          75.1
2          ไม่กระทบ                                             24.9
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการที่รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบมากที่สุด ต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นใน

โครงการชุมชนพอเพียง

ลำดับที่          วิธีการที่รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบมากที่สุด ต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง   ค่าร้อยละ
1          ทุกคนทำงานต่อแต่ต้องหาคนผิดมาลงโทษโดยด่วน                                                56.8
2          รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องควรลาออก                                                             17.0
3          รัฐบาลทั้งคณะลาออก                                                                    11.5
4          ทุกฝ่ายทำงานต่อไป เพราะเป็นปัญหาส่วนน้อย                                                  14.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                            100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ