ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างเชิงระบบจากบัญชีรายชื่อ เรื่อง ถามใจตำรวจ หนุนใครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนต่อไป กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,031 นาย ดำเนินการสำรวจในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 ผลการสำรวจเมื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับ คุณสมบัติของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ที่ต้องการพบว่า ร้อยละ 100.0 ระบุต้องปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 99.3 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 99.0 ระบุเป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 98.5 ระบุดูแลผู้ ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง ร้อยละ 97.8 ระบุกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 97.4 ระบุเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายการเมือง
นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 96.6 ระบุผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ควรรู้จักประนีประนอม แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติได้ ร้อยละ 96.6 เช่นเดียวกันที่ระบุว่าเป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่อตำรวจ ร้อยละ 95.0 ระบุมีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน ร้อยละ 94.2 ระบุไม่ยอมให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซง 93.4 ระบุแก้ปัญหาการซื้อขายตำแหน่งในองค์กรตำรวจ และร้อยละ 85.8 ระบุไม่ก้าวก่ายการแต่ง ตั้งโยกย้ายที่เป็นอำนาจของผู้บัญชาการระดับภาค ตามลำดับ
ดร.นพดลกล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อภาพลักษณ์ของตำรวจที่ได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละ 44.1 ระบุได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชนว่ามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 15.7 ระบุมีภาพลักษณ์ที่ดี มากกว่า และร้อยละ 40.2 ระบุพอๆ กัน
และเมื่อสอบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบในหน่วยงานของตนนั้นพบว่า ร้อยละ 21.1 ระบุใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า (อาทิ เส้นสาย การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) ร้อยละ 36.1 ระบุใช้ระบบคุณธรรม มากกว่า เช่น การพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส ทั้งนี้ร้อยละ 42.8 ระบุใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้องค์กร ตำรวจขณะนี้มีปัญหามากมาย แต่ผลสำรวจพบว่าคะแนนเฉลี่ยความภูมิใจต่อการเป็นข้าราชการตำรวจสูงมากจากการสำรวจในครั้งนี้มีคะแนนเฉลี่ยเท่า กับ 8.43 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือเมื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาตินั้นพบว่า ร้อยละ 88.9 ระบุควรอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนเกษียณอายุราชการ ในขณะที่ ร้อยละ 11.1 ระบุควรมีการปรับย้าย
และเมื่อถามถึงการสนับสนุนผู้ที่จะขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ต่อจาก พล.ต.อ.พัชรวาท โดยตำรวจผู้ตอบสามารถสนับสนุนได้
มากกว่า 1 ชื่อ พบประเด็นสำคัญคือ ตำรวจชั้นประทวนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.7 และตำรวจชั้นสัญญาบัตร ร้อยละ 58.3 สนับสนุน พล.ต. อ.จุมพล มั่นหมาย อย่างไรก็ตาม จำนวนที่ไม่แตกต่างกันของตำรวจชั้นสัญญาบัตรคือ ร้อยละ 58.6 และตำรวจชั้นประทวนร้อยละ 49.9 สนับสนุน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ในขณะที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับการสนับสนุนจากตำรวจชั้นประทวนร้อยละ 29.7 และจากตำรวจชั้นสัญญา บัตร ร้อยละ 36.7 ในขณะที่ตำรวจชั้นประทวน หรือร้อยละ 65.1 และตำรวจชั้นสัญญาบัตร ร้อยละ 62.5 ระบุสนับสนุนบุคคลท่านอื่น อาทิ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ และ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ เป็นต้นผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สรุปก็คือว่า ข้าราชการตำรวจอยากได้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนต่อไปที่ต้องปกป้องสถาบันสูงสุดของ ประเทศ ซื่อสัตย์สุจริต อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป กล้าคิดกล้าทำ ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง ประนีประนอมลดความขัดแย้งของคนในชาติได้ จนถึงไม่ก้าวก่ายการแต่งตั้งโยกย้ายในส่วนที่ผู้บัญชาการภาครับผิดชอบ และงานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่า ผลของความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับ ตำรวจในรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้คือเสียหายด้วยกันทั้งคู่ จึงน่าจะใช้จังหวะเวลานี้ปรับสถานการณ์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากการมีส่วนร่วมของตำรวจใน องค์กรตำรวจก่อนและการเมืองกับภาคประชาชนคอยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้มุ่งไปสู่การลดความเดือดร้อนจากปัญหาอาชญากรรม ปัญหายา เสพติด การเลือกปฏิบัติ และการรีดไถ เป็นต้น โดยลดความทุกข์ของประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาของสาธารณชนว่าจะเกิด การเปลี่ยนแปลงในองค์กรตำรวจในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งต่อคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจและประชาชนทั่วไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 94.9 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุเป็นหญิง
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 44.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 22.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 82.4 ระบุชั้นยศเป็นตำรวจชั้นประทวน
ในขณะที่ร้อยละ 17.6 ระบุเป็นข้าราชการตำรวจระดับสัญญาบัตร
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 38.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 9.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.9 อยู่ในสายงานธุรการ
ร้อยละ 54.5 อยู่ในสายงานป้องกันและปราบปราม
ร้อยละ 4.5 อยู่ในสายงานสอบสวน
ร้อยละ 2.9 อยู่ในสายงานจราจร
และร้อยละ 6.1 อยู่ในสายงานสืบสวน
ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุอยู่ในสายงานอื่นๆ