ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาค สนาม เรื่อง เสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนต่อผู้ใหญ่ในสังคมในการดูแลสิทธิและคุณภาพเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,149 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจในวันที่ 1-2 กันยายน 2552
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมห้าประการ คือ ประการแรก มิติของตัว เยาวชนเอง ประการที่สอง มิติของพ่อแม่ผู้ปกครองที่อบรมเลี้ยงดู ประการที่สาม มิติของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งผู้บริหารกรุงเทพมหานครและกระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประการที่สี่ มิติของรัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และประการที่ห้า คือ มิติของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยผลวิจัย พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 ไม่เคยทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์เลย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ ร้อยละ 32.8 ระบุเคยทำ
ที่น่าเป็นห่วงคือ เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.6 คาดหวังว่า ส.ส. และ ส.ว. ในสภา จะทำหน้าที่เป็นเสียงสะท้อนให้กับเด็กและ เยาวชนไทยได้อย่างดี แต่สิ่งที่รับรู้และเห็นจริงมีอยู่เพียงร้อยละ 19.7 เท่านั้น โดยมีส่วนต่างมากที่สุดคือ ร้อยละ 42.9
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.5 คาดหวังว่า เด็กและเยาวชนที่เรียนเก่ง มีฐานะดี จะเข้าถึงและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับเด็ก และเยาวชนในชุมชนแออัด และพื้นที่แหล่งเสื่อมโทรมได้อย่างดี แต่ที่รับรู้และเห็นจริงตามความคาดหวังมีเพียงร้อยละ 23.0 โดยมีส่วนต่างสูงถึงร้อย ละ 42.5
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 คาดหวังว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเยาวชนไทยได้รับการปกป้องดูแลจากผู้ใหญ่ใน สังคมได้เป็นอย่างดี แต่ที่รับรู้เห็นจริงมีเพียงร้อยละ 28.8 โดยมีส่วนต่างสูงถึงร้อยละ 40.8
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 คาดหวังว่า ผู้บริหารกรุงเทพมหานครจะดูแลเอาใจใส่จริงจังต่อคุณภาพเด็กและเยาวชน แต่ที่ รับรู้และเห็นจริงมีเพียงร้อยละ 26.3 โดยมีส่วนต่างร้อยละ 39.4 เช่นเดียวกัน เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คาดหวังว่าเจ้าหน้าที่รัฐ ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะได้ส่งเสริมสิทธิเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง แต่มีเพียงร้อยละ 27.1 ที่รับรู้เห็นจริงตามคาดหวัง โดยมีส่วนต่างถึงร้อยละ 39.2
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.8 ยังคาดหวังว่าจะมีการใช้พื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร เป็นสำนักงานดูแลปัญหาและแก้ ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน แต่มีเพียงร้อยละ 25.8 ที่รับรู้เห็นจริงตามคาดหวัง โดยมีส่วนต่างถึงร้อยละ 37.0 เช่นกันกับ ผลสำรวจที่พบว่า ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 61.2 คาดหวังว่าจะได้รับข่าวสารว่า ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้ทำงานอย่างทุ่มเทเป็นพิเศษต่อเด็กและเยาวชน แต่มีเพียงร้อยละ 24.3 ที่รับรู้เห็นจริงตามที่คาดหวัง โดยมีส่วนต่างร้อยละ 36.9
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 คาดหวังว่าเด็กและเยาวชนไทยจะมีจิตสำนึก กตัญญูต่อพ่อแม่ แต่ที่เห็นจริงมีเพียงร้อย ละ 37.7 โดยมีส่วนต่างอยู่ร้อยละ 36.8 เช่นเดียวกัน เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 คาดหวังว่า พ่อแม่และผู้ปกครองเข้าใจ อบรมเลี้ยงดูบุตร หลานเป็นอย่างดี แต่มีร้อยละ 42.4 ที่รับรู้เห็นจริงตามคาดหวัง โดยมีส่วนต่างอยู่ที่ร้อยละ 34.7
นอกจากนี้ เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 คาดหวังว่าเด็กและเยาวชนไทยจะทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ แต่เห็นจริงเพียง ร้อยละ 30.0 โดยมีส่วนต่างร้อยละ 33.9 และเยาวชนส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 68.3 คาดหวังว่าเด็กและเยาวชนไทยจะสร้างชื่อเสียงที่ดีให้ ประเทศ แต่ที่รับรู้เห็นจริงตามคาดหวังมีอยู่ร้อยละ 38.8 โดยมีส่วนต่างอยู่ร้อยละ 29.5
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขและใส่ใจมากที่สุดและรองๆ ลงไปคือ การทำหน้าที่ของ ส.ส.และส.ว. ในรัฐสภาที่จะช่วยทำหน้าที่เป็นเสียงสะท้อนให้กับเด็กและเยาวชน และเด็กและเยาวชนที่เรียนเก่ง มีฐานะดี เข้าถึงและทำกิจกรรม สร้างสรรค์ร่วมกับเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัดและพื้นที่แหล่งเสื่อมโทรมได้ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเยาวชนควรได้รับการปกป้องดูแล จากผู้ใหญ่ในสังคมเป็นอย่างดี
เพราะผลวิจัยยังพบด้วยว่า เยาวชนที่มีปัญหาถูกละเมิด ถูกทำลายสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มากที่สุดคือ ร้อยละ 12.9 ถูกคุกคามทางเพศ เช่น ถูกลวนลาม ล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 11.0 ระบุเรื่องการศึกษา ร้อยละ 7.4 ระบุเรื่องสุขภาพ ในขณะที่ ร้อยละ 71.2 ยังไม่ถูกละเมิด แต่เมื่อทำการประมาณการทางสถิติ พบว่า เยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่อายุ 15 ถึง 24 ปี ที่ถูกคุกคามทางเพศใน ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 114,890 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 973,644 คน
เมื่อถามถึงกิจกรรมที่อยากจะให้เกิดขึ้นจากศูนย์ให้คำปรึกษาและป้องกันแก้ไขปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน คือ ร้อยละ 33.4 ระบุการ ออกกำลังกาย กีฬา ร้อยละ 27.0 ส่งเสริมด้านวิชาการ ร้อยละ 21.1 ส่งเสริมด้านศิลปะ ดนตรี ร้อยละ 11.5 ส่งเสริมด้านความรักความสามัคคี ร้อยละ 11.1 กิจกรรมรณรงค์เรื่องยาเสพติด ร้อยละ 10.4 ส่งเสริมด้านทุนการศึกษา และรองๆ ลงไปคือ จัดพื้นที่สำหรับเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับเพศ และช่วยแก้ปัญหารับฟังปัญหาของเด็กและเยาวชน ตามลำดับ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การทำหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิและเสียงเรียกร้องต่างๆ แทนเด็กและเยาวชนในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.7 ระบุยังไม่มีมากพอทั้งสองสภา ร้อยละ 15.4 ระบุมีมากพอแล้วในวุฒิสภา ร้อยละ 8.6 ระบุมีมากแล้วในสภาผู้แทน ราษฎร แต่เพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่ระบุมีมากพอแล้วทั้งสองสภา
สำหรับคะแนนความพอใจโดยภาพรวมต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการดูแลเอาใจใส่ปัญหาเด็กและเยาวชน พบว่า ได้แค่สอบผ่านคือ 5.70 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
นายรัชฏะ ศรีบุญรัตน์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจ เห็นได้ว่า การที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ให้ความ สำคัญต่อการเคารพในตัวเองของเด็กและเยาวชน ทำให้พวกเขาไม่มีแรงบันดาลใจผลักดันให้ทำสาธารณะประโยชน์แก่สังคม ทำให้พวกเขาใช้พลังของ พวกเขาไปแสดงออกในกิจกรรมที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นและสังคมแทน เช่น กลุ่มแกงค์รถแข่ง แกงค์ปาหิน แนวโน้มประเทศไทยในอนาคตน่าเป็น ห่วงเพราะจะมีกำลังสำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าไม่มากเพียงพอ แล้ววงจรอุบาทก์ก็จะเกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ต้องฝากเป็นโจทย์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องทั้งรัฐบาลและโดยเฉพาะกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ดูแลเอาใจใส่เสียงของเด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ผมเห็นว่าการที่เด็กและเยาวชนกทม. มองถึงการดูแลเอาใจใส่จริงจังต่อคุณภาพเด็กและเยาวชนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ อาจเป็นเพราะผู้บริหาร กทม. ยังไม่มี ผลงานที่ชัดเจน มากพอ ไม่โดนใจ และไม่เข้าถึงวัยรุ่นอย่างแท้จริง ผมอยากเสนอให้มีการนำพื้นที่ของสวนสาธารณะมาใช้ประโยชน์เพื่อกลุ่มเด็กและ เยาวชน โดยเปิดเป็น Clinic เพื่อนวัยทีน รองรับวัยรุ่นที่ต้องการทำกิจกรรมหรือต้องการปรึกษาปัญหาชีวิตอาจเป็นทางออกหนึ่งของการแสดงออกซึ่ง ความดูแลเอาใจใส่ของทางผู้บริหารฯ และยังเป็นหนทางให้เด็กและเยาวชนออกจากการใช้ชีวิตในห้างฯและเกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในสวน สาธารณะมากขึ้น
นอกจากนี้ นางสาวศจิกาพร ฤทธิสอาด หรือ น้องนา ประธานสภาเยาวชนเขตวังทองหลาง ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “นา” คิดว่า เด็ก สองกลุ่มมีลักษณะที่ต่างกัน ทั้งสองกลุ่มยังไม่มีโอกาส หรือมีโอกาสน้อยที่จะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ไม่เห็นศักยภาพของกันและกัน ซึ่งถ้ามีโอกาสจะทำ ให้เกิดข้อดีของทั้งสองกลุ่ม คือเด็กเรียนเก่ง จะมีจิตอาสาและอยากทำให้ผู้อื่น เด็กชุมชน เกิดความภาคภูมิใจและอยากทำให้ผู้อื่น และการที่จะให้ เยาวชนรับรู้ข่าวสารความทุ่มเทของผู้บริหาร กทม. ต้องทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่จะทำเพื่อเด็กและเยาวชนเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั่วถึงมากขึ้น เช่น ส่ง เสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนผ่านกลไกของสภาเยาวชนเขตอย่างเป็นรูปธรรม และส่งเสริมอาชีพเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจนในทุกระดับ เป็นต้น
นางสาวสิริรัตน์ สุรธนาวุฒิ หรือ น้องแนน ประธานชมรมเยาวชนธนาคารโลก กล่าวว่า “แนน” มองในประเด็นของเด็กและเยาวชนไทย ทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์น้อยว่า ตัวเด็กและเยาวชนเองยังไม่เปิดใจและยังไม่เห็นชัดเจนว่า การทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์จะส่ง ผลดีอย่างไรบ้าง ทั้งต่อตนเองและสังคมในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทางรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้การสนับสนุน รวมถึงเปิดโอกาสให้ เยาวชนได้แสดงออกถึงศักยภาพและความสามารถที่ตนเองมีอยู่ เพื่อเป็นการกระตุ้นและผลักดัน ให้เด็กและเยาวชนไทย หันมาทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะ ประโยชน์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม
นายทอม หงส์ลาวัณย์ ประธานเครือข่ายสื่อนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ผู้ใหญ่ในสังคมเช่น ผู้แทนราษฎร และ วุฒิสมาชิก ยังทำหน้าที่เป็นเสียงสะท้อนให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้ไม่ดีเพียงพอ ดังนั้น ส.ส. และ ส.ว. ควรเร่งหากิจกรรมทำร่วมกันกับเด็กและ เยาวชน และนำข้อคิดเห็นของพวกเราไปผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อพวกเราอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าเพียงแค่บอกว่ารับฟังพวกเราเพียงอย่าง เดียว
“น้องกิ๊บ มองจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เห็นว่าการให้การสนับสนุนพวกเราจากผู้ใหญ่ในสังคมนั้นเป็นเพียงแค่นโยบายและคำพูด แต่ขาด การปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังนั้นในฐานะของตัวแทนเยาวชนไทย อยากให้รัฐบาลมีการส่งเสริมอย่างจริงจังแก่เด็กและเยาวชนในทุกพื้นที่และทุกระดับ โดย ไม่ทำเพื่อหวังผลตอบแทนทางการเมืองแก่ตนเอง กิ๊บเชื่อว่าเด็กและเยาวชนไทยทุกคน พร้อมที่จะเดินไปพร้อมกับผู้ใหญ่ทุกท่านในการพัฒนาสังคมและ ประเทศชาติให้มีความสามารถทัดเทียมหรือมากกว่าเยาวชนในชาติอื่นได้” นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าว
“จากผลสำรวจประเด็นความกตัญญู ซึ่งเหมือนว่าเด็กและเยาวชนยุคใหม่ไม่ค่อยใส่ใจ ให้ความสำคัญมากนักกับเรื่องนี้ แต่โดยความคิดของ มล เรื่องเด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกกตัญญูต่อพ่อแม่ อาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยถูกปลูกฝังว่า บุตรต้องให้ความเคารพและตอบแทนผู้มีพระคุณ ซึ่งในสังคม ปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากเดิม ปัจจุบันส่วนมากเป็นครอบครัวเดี่ยว ความผูกพัน ความสนิทสนมภายในครอบครัวได้ลดน้อยลงไปจากเดิม บางครอบ ครัว พ่อ แม่ ลูก วันหนึ่งอาจไม่ได้คุยกันเลยก็มี ทำให้มีระยะห่างกัน จึงอาจทำให้ส่งผลต่อการแสดงออกของตัวเด็กเอง รวมไปถึงวัฒนธรรมด้านการ ปฏิบัติแบบตะวันตกเข้ามามากแต่มลก็ยังเชื่อว่า ความกตัญญูของเด็กยุคนี้ ไม่ได้ลดลงไป แต่การแสดงออกอาจไม่เหมือนสมัยก่อนมากกว่า ” นางสาว พรพิมล บุญอินทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวเพิ่มเติม
“ดิฉันเห็นด้วยกับผลสำรวจที่ปรากฏออกมา ซึ่งมองว่าปัญหาประเด็นด้านต่างๆเหล่านี้มีผลโดยตรงจากสภาพแวดล้อมที่เด็กและเยาวชนได้ซึม ซับทั้งจากภายในครอบครัว ชุมชน สังคม ตลอดจนจากสถานศึกษา ในพื้นที่ที่เด็กและเยาวชนอาศัยอยู่ กับอีกมิติหนึ่ง มองว่าในประเด็นอื่นๆด้านการ ละเมิดการถูกทำลาย สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มาจากการรับรู้จากสื่อต่างๆ อาทิ สื่อออนไลน์ สื่อโทรทัศน์วิทยุ สื่อ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่อเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ที่ออกมาในรูปแบบของภาพ และเสียงโดยการกล่าวถึงเหตุการณ์หรือข่าวด้านลบที่เกิดขึ้น”
“ดิฉันยังมองว่าสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการแก้ไขปัญหาที่มาจากความ เข้าใจที่แท้จริง” นางสาวพัณณ์ชิตา บวรจิราวัฒน์ กรรมการบริหารสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กล่าวในตอนท้าย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.6 อายุ 12 — 15 ปี
ร้อยละ 28.1 อายุ 16 - 18 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุ 19 — 21 ปี
และร้อยละ 11.9 อายุ 22 - 24 ปี
โดย ร้อยละ 32.1 กำลังศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 26.8 กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 3.9 กำลังศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.
ร้อยละ 36.4 กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.8 กำลังศึกษาบัณฑิตศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 72.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 20.5 รายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 3.0 รายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 1.5 รายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 2.1 รายได้มากกว่า 20,000 บาท
สำหรับที่พักอาศัย พบว่า ร้อยละ 3.4 อาศัยอยู่กับพ่อ
ร้อยละ 10.9 อาศัยอยู่กับแม่
ร้อยละ 65.1 อาศัยอยู่กับพ่อและแม่
ร้อยละ 6.5 พักอยู่คนเดียว
ร้อยละ 4.9 อาศัยอยู่กับคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ
และร้อยละ 9.2 อาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง