เอแบคโพลล์: ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงกับความกังวลของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Thursday November 12, 2009 10:07 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง ปัญหาการ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงกับความกังวลของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบ ด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครพนม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา จำนวนทั้งสิ้น 1,207 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ผลการสำรวจ พบว่าประชาชนกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.4 เคยทราบข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงที่ยังไม่แล้วเสร็จ และร้อยละ 41.6 ไม่ทราบข่าว

เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อผลที่เกิดจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงที่ยังไม่แล้วเสร็จ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 ระบุปัญหายาเสพติดที่เพิ่มมากขึ้น รองลงมาหรือร้อยละ 81.1 ระบุปัญหาความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น ร้อย ละ 81.1 เท่ากันระบุปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 74.7 ระบุปัญหาข้าราชการตำรวจปล่อยเกียร์ว่างมากขึ้น ร้อยละ 72.9 ระบุปัญหาบ่อน การพนันที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 69.2 ระบุปัญหาการขูดรีด/รีดไถประชาชน เรียกเก็บส่วยหนักมากขึ้น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.8 ยัง มองว่าข้าราชการตำรวจระดับสูงมีความขัดแย้งกันมากขึ้น ต่อกรณีดังกล่าว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงการยอมรับได้ต่อบัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กำลังจะออกมา พบว่าประชาชนก้ำ กึ่งกันคือ ร้อยละ 50.4 คิดว่าจะยอมรับได้เกินครึ่ง และร้อยละ 49.6 คิดว่าจะยอมรับได้ไม่ถึงครึ่ง

ส่วนในกรณีความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลพบว่า ประชาชนร้อยละ 78.9 ระบุรัฐบาลควรรีบตัดสินใจแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงให้แล้ว เสร็จโดยเร็ว ในระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 21.1 ระบุน้อยถึงไม่ต้องรีบ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า รัฐบาลน่าจะแสดงให้ประชาชนเห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหาในองค์กรตำรวจได้โดยเร็ว เพราะหากปล่อยไว้จะ เกิดความเสียหายต่อสามฝ่ายได้คือ ต่อรัฐบาล ต่อองค์กรตำรวจ และต่อประชาชน รัฐบาลจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องรีบไม่ได้ เนื่องจากผลเสียกำลัง สะท้อนออกมาให้เห็นในความรู้สึกกังวลด้านต่างๆ ของสาธารณชน และที่สำคัญปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายกำลังเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของรัฐบาลใน การบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐ เปรียบเทียบโยงไปการบริหารจัดการปัญหาของประเทศและปัญหาระหว่างประเทศ สุดท้ายกระแสการสนับสนุน รัฐบาลจะขึ้นและลง สวิงไปมา จะทำให้รัฐบาลมีพลังจากสาธารณชนไม่มากพอในการทำให้นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 22.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 74.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.4ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงที่ยังไม่แล้วเสร็จ
ลำดับที่          การรับทราบข่าว          ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                    58.4
2          ไม่ทราบข่าว                  41.6
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อผลจากการที่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงยังไม่แล้วเสร็จ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ผลจากการที่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสูงยังไม่แล้วเสร็จ      ค่าร้อยละ
1          ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น                                                  82.9
2          ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น                                   81.1
3          อาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น                                                81.1
4          ข้าราชการตำรวจปล่อยเกียร์ว่างมากขึ้น                                    74.7
5          บ่อนการพนันเพิ่มขึ้น                                                   72.9
6          การขูดรีด/รีดไถประชาชน เรียกเก็บส่วยหนักมากขึ้น                           69.2
ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมุมมองต่อผลของการที่การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสูงยังไม่แล้วเสร็จ
ลำดับที่          มุมมองต่อผลของการที่การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับสูงยังไม่แล้วเสร็จ     ค่าร้อยละ
1          มองว่า องค์กรตำรวจมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น                               12.2
2          มองว่า  ข้าราชการตำรวจระดับสูงมีความขัดแย้งกันมากขึ้น                      87.8
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสัดส่วนการยอมรับได้ต่อบัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กำลังจะออกมา
ลำดับที่          การยอมรับได้ต่อบัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กำลังจะออกมา     ค่าร้อยละ
1          คิดว่า จะเป็นที่ยอมรับได้เกินครึ่ง                                              50.4
2          คิดว่า จะยอมรับได้ไม่ถึงครึ่ง                                                 49.6
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลว่าควรตัดสินใจแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับสูงให้แล้วเสร็จ

โดยเร็วเพียงใด

ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          มากถึง มากที่สุด                      78.9
2          น้อยถึงไม่ต้องรีบ                      21.1
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ