ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัว เรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง สำรวจ 3 หยุด 3 เร่ง ของคน 3 ฝ่าย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ : กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,215 ครัว เรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 12 ธันวาคม 2552 ซึ่งเบื้องต้นพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 มีการติดตามข่าวสารเป็น ประจำทุกสัปดาห์ ประเด็นสำคัญที่พบมีดังนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ความเห็นของประชาชนต่อ 3 หยุด 3 เร่งของกลุ่มคนในฝ่าย “รัฐบาล” พบว่า อันดับแรกของสิ่งที่ประชาชนขอให้ รัฐบาล “หยุด” คือร้อยละ 52.2 ขอให้หยุดขัดแย้งภายในรัฐบาลกันเอง รองลงมา สิ่งที่ประชาชนขอให้รัฐบาล “หยุด” อันดับสองคือ ร้อยละ 36.5 ขอให้หยุดโกงกิน ทุจริตคอรัปชั่น และสิ่งที่ขอให้ “หยุด” อันดับที่สามคือ ร้อยละ 25.3 ขอให้หยุดแบ่งเสื้อแดง เสื้อเหลือง ตามลำดับ
แต่สิ่งที่ประชาชนอยากให้ “รัฐบาล” เร่งทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ อันดับแรก คือ ร้อยละ 50.7 ขอให้รัฐบาล เร่งพัฒนาเศรษฐกิจ หารายได้เข้าประเทศ รองลงมา สิ่งที่ประชาชนขอให้รัฐบาล “เร่ง” อันดับสองคือ ร้อยละ 31.0 ขอให้เร่งสร้างงานสร้างราย ได้ให้กับประชาชน และ ร้อยละ 29.3 ขอให้เร่งสร้างความสมานฉันท์ภายในสังคม ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของประชาชนต่อ 3 หยุด 3 เร่งของกลุ่มคนใน “ฝ่ายค้าน” พบว่า อันดับแรกของสิ่งที่ประชาชนขอให้ฝ่าย ค้าน “หยุด” คือ ร้อยละ 51.7 ขอให้ฝ่ายค้านหยุดสร้างเงื่อนไขขัดแย้งกับรัฐบาล รองลงมาคือ สิ่งที่ประชาชนขอให้ฝ่ายค้าน “หยุด” อันดับสองคือ ร้อยละ 40.3 ขอให้หยุดสร้างความวุ่นวาย และสิ่งที่ขอให้ “หยุด” อันดับที่สามคือ ร้อยละ 39.5 ขอให้หยุดแบ่งเสื้อแดง เสื้อเหลือง ตามลำดับ
แต่สิ่งที่ประชาชนอยากให้ “ฝ่ายค้าน” เร่งทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ อันดับแรก คือ ร้อยละ 61.5 เร่งสร้างความ สมานฉันท์ภายในสังคม รองลงมาที่ประชาชนขอให้ฝ่ายค้าน “เร่ง” อันดับสองคือ ร้อยละ 40.7 ขอให้เร่งสนับสนุนรัฐบาลในกิจกรรมที่เห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม และอันดับที่สามคือ ร้อยละ 26.2 ขอให้เร่งตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตามลำดับ
ในขณะที่ ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมองกลุ่มประชาชนทั่วไปด้วยกันเอง และขอให้ “หยุด” อันดับแรก คือ ร้อยละ 26.7 ขอให้ ประชาชนด้วยกันเองหยุดการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย รองลงมาคือ ร้อยละ 26.4 หยุดการดื่มสุราในที่สาธารณะ หรือที่ห้ามดื่ม และอันดับที่สามคือ ร้อย ละ 19.9 ขอให้หยุดทะเลาะกัน หยุดแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ตามลำดับ แต่สิ่งที่ประชาชน “ขอให้เร่ง” ทำในกลุ่มประชาชนด้วยกันเองเพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชนทั้งประเทศคือ ร้อยละ 47.6 ขอให้ประชาชนเร่งทำเรื่องความรักความสามัคคี มีน้ำใจไมตรีจิตต่อกัน รองลงมาที่ประชาชนขอให้ประชาชน ด้วยกันเองเร่งทำอันดับสองคือ ร้อยละ 40.1 เร่งทำประโยชน์ความดีเพื่อส่วนรวม และอันดับที่สามคือ ร้อยละ 24.7 เร่งช่วยกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นอะไรได้หลายอย่างที่ หลายคนอาจมองข้ามไป คือ เสียงเรียกร้องกระแสหลัก ของสาธารณชนที่อาจถูกฝ่ายการเมืองและประชาชนบางกลุ่มมองข้ามเพราะอาจเห็นว่าเสียงเรียกร้องเหล่านั้นไม่ใช่ “แฟนคลับ” ของตนเอง เพราะ เสียงสะท้อนกระแสหลักในการสำรวจครั้งนี้มีความชัดเจนว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขได้นั้นรัฐบาลและฝ่ายค้านต้องเร่งยุติและป้องกันความขัดแย้ง ในสังคมที่รุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ขัดแย้งกันแตกแยกกันเอง แต่ให้เร่งแก้ปัญหา “ปากท้อง” ของพี่น้องประชาชนให้ตรงจุดมากกว่านี้ เพราะการเร่งสร้าง ความรักความสามัคคีของคนในชาติจะทำได้จริงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนตามผลสำรวจที่ค้นพบมา
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 เป็นหญิง ร้อยละ 47.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.3 อายุต่ำ กว่า 20 ปี ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และร้อย ละ 30.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 89.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 10.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 0.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 26.9 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย รายย่อย/อิสระ ร้อยละ 20.4 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นนักเรียน นัก ศึกษา ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 4.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ ประกอบอาชีพ