เอแบคโพลล์: สำรวจ "สาเหตุ” การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่

ข่าวผลสำรวจ Monday January 4, 2010 07:31 —เอแบคโพลล์

สำรวจ "สาเหตุ” การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 17 จังหวัดทั่ว ประเทศ

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 10 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจ ติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง สำรวจ “สาเหตุ”การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่กรณี ศึกษาตัวอย่างประชาชน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ยโสธร มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และนครศรีธรรมราช ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่าง ประชาชนจากทั่วประเทศที่ถูกศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,011 ครัวเรือน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 81.4 ระบุติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่าง น้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 18.6 ระบุติดตามเป็นบางสัปดาห์-ไม่ได้ติดตามเลย

เมื่อสอบถามถึงการเดินทางสัญจรในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่นี้พบว่า ร้อยละ 60.5 คิดว่าจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 18.9 ระบุรถมอเตอร์ไซต์ ร้อยละ 12.7 ระบุรถตู้ ร้อยละ 3.8 ระบุรถไฟ ร้อยละ 3.5 ระบุรถโดยสารประจำทาง/รถสองแถว ร้อย ละ 8.3 ระบุอื่นๆ อาทิ รถแท็กซี่ /เรือ/รถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น

ดร.นพดล กล่าวต่อว่าเมื่อสอบถามถึงประสบการณ์พบเห็นหรือประสบอุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อย ละ 57.1 ระบุเคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคนบาดเจ็บเล็กน้อย ร้อยละ 45.0 ระบุเคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคนบาดเจ็บจนต้อง เข้าโรงพยาบาล ร้อยละ 26.6 ระบุเคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุแต่ไม่มีคนบาดเจ็บ และร้อยละ21.9 ระบุเคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคน เสียชีวิต/พิการ

สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นพบว่า ร้อยละ 95.2 ระบุเป็นเพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ ผู้ขับขี่ ในขณะที่ร้อยละ 94.1 ระบุเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้ขับขี่เอง อาทิ ขับรถเร็วเกินกำหนด /ฝ่าฝืนกฎจราจร/ความคึกคะนอง ร้อยละ 77.5 ระบุบริเวณที่มีการก่อสร้างไม่มีป้ายบอกให้ทราบล่วงหน้าในระยะห่างที่มากเพียงพอ ร้อยละ 75.6 ระบุความไม่สมบูรณ์ของยานพาหนะที่ใช้ใน การเดินทาง นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 66.7 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 62.6 ระบุการ อนุญาตใบขับขี่ยังไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 60.1 ระบุสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย และร้อยละ 57.9 ระบุเป็นเพราะไม่มีป้ายจำกัดความเร็วที่ดี พอ ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่นั้นพบว่า ร้อยละ 48.3 ระบุคิดว่า มาตรการที่มีอยู่ยังไม่ดีพอ ในขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุคิดว่าดีเพียงพอแล้ว และร้อยละ 3.0 ไม่ระบุความเห็น นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความรู้สึก กังวลต่อปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่พบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.6 รู้สึกกังวล ในขณะที่ร้อย ละ 28.0 ไม่รู้สึกกังวล และร้อยละ 3.4 ไม่มีความคิดเห็น

นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงหน่วยงาน/กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ พบว่า เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย/อาสาสมัคร นั้นได้คะแนนการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.94 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือกระทรวง สาธารณสุขได้ 7.36 คะแนน กระทรวงคมนาคม ได้ 6.86 คะแนน ตำรวจท้องที่ ได้ 6.81 คะแนน และพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงได้ คะแนน 6.80 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 57.4 เป็นหญิง

ร้อยละ 42.6 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 20— 29 ปี

ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 28.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 65.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 29.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา      ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        55.5
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        15.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                        10.5
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                     11.2
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          7.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุยานพาหนะที่ตั้งใจจะใช้เดินทางในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ยานพาหนะที่ตั้งใจจะใช้เดินทางในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่     ค่าร้อยละ
1          รถยนต์ส่วนตัว                                                      60.5
2          มอเตอร์ไซต์                                                       18.9
3          รถตู้                                                             12.7
4          รถไฟ                                                             3.8
5          รถโดยสารประจำทาง/รถสองแถว                                        3.5
6          อื่น อาทิ รถแท็กซี่/เรือ/รถตุ๊กๆ                                          8.3

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          การประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุด้วยตนเองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          เคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคนบาดเจ็บเล็กน้อย                        57.1
2          เคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคนบาดเจ็บจนต้องเข้าโรงพยาบาล             45.0
3          เคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุแต่ไม่มีคนบาดเจ็บ                             26.6
4          เคยประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุและมีคนเสียชีวิต/พิการ                         21.9

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการเดินทาง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการเดินทาง                                  ค่าร้อยละ
1          การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่                                          95.2
2          พฤติกรรมของผู้ขับขี่เอง  อาทิ ขับรถเร็วเกินกำหนด /ฝ่าฝืนกฎจราจร/ความคึกคะนอง      94.1
3          บริเวณที่มีการก่อสร้างไม่มีป้ายบอกให้ทราบล่วงหน้าในระยะห่างที่มากเพียงพอ             77.5
4          ความไม่สมบูรณ์ของยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง                                 75.6
5          เจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรมีไม่เพียงพอ                       66.7
6          การอนุญาตใบขับขี่ยังไม่ได้มาตรฐาน                                           62.6
7          สภาพพื้นผิวถนนไม่ดีพอ                                                     61.2
8          สภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย                                                60.1
9          ไม่มีป้ายจำกัดความเร็วที่ดีพอ                                                57.9

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่     ค่าร้อยละ
1          คิดว่ายังไม่ดีพอ                                                          48.3
2          คิดว่าดีเพียงพอแล้ว                                                       48.7
3          ไม่มีความเห็น                                                            3.0
          รวมทั้งสิ้น                                                              100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกกังวลต่อปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
ลำดับที่          ความรู้สึกกังวลต่อปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่             ค่าร้อยละ
1          รู้สึกกังวล                                                 68.6
2          ไม่รู้สึกกังวล                                               28.0
3          ไม่มีความคิดเห็น                                             3.4
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อหน่วยงาน/กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่          หน่วยงาน/กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ         คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10

ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่

1          เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย/อาสาสมัคร                                                  7.94
2          กระทรวงสาธารณสุข                                                          7.36
3          กระทรวงคมนาคม                                                            6.86
4          ตำรวจท้องที่                                                                6.81
5          ตำรวจทางหลวง                                                             6.80

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ