ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างถูกต้องตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และทำการสำรวจผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง การรับรู้ของสาธารณชนต่อ สถานการณ์การทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทยในยุคนายกรัฐมนตรีและผู้ว่าฯ กทม. มาจากพรรคเดียวกัน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในพื้นที่กรุงเทพ มหานคร จำนวนตัวอย่างประชาชนที่ถูกสำรวจ รวมทั้งสิ้น 1,686 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจในวันที่ 22-23 มกราคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.8 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 ระบุสถานการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทยอยู่ในระดับรุนแรงถึงรุนแรงที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 32.1 ระบุค่อนข้างรุนแรง นอกจากนี้ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 รับรู้ว่า มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเรียก รับผลประโยชน์ โดยจำนวนมากหรือร้อยละ 38.4 เคยเจอด้วยตัวเอง และในกลุ่มที่เจอด้วยตัวเองนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.0 เคยต้องจ่าย
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐนำทรัพย์สินของราชการไปใช้ส่วนตัว โดยในกลุ่มนี้เกินกว่า 1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 35.2 ที่เจอด้วยตนเอง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ที่รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเอื้อประโยชน์ให้บุคคลอื่นหรือบุคคลใกล้ชิด เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทางราชการ โดย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.4 ที่เคยพบเห็นด้วยตนเอง และในกลุ่มคนที่เคยพบเห็นร้อยละ 28.3 ที่ระบุ ว่าต้องจ่าย
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของราชการไปเป็นของตนเอง โดย 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20.2 เคยเจอด้วยตนเอง นอกจากนี้ เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.2 รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐมีการฮั้วประมูลงานราชการ โดยร้อย ละ 13.3 เคยเจอด้วยตนเอง และในกลุ่มที่เจอด้วยตนเองร้อยละ 44.4 ที่เคยต้องจ่ายด้วยตนเอง
ที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.7 รับรู้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการบริการช่วยเหลือประชาชน เช่น ไม่ รับแจ้งความ ไม่จดทำทะเบียนให้ เป็นต้น โดยเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.0 ที่เจอปัญหานี้ด้วยตนเอง และร้อยละ 54.8 ในกลุ่มนี้เคยต้องจ่าย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบริการช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ ยังพบว่า ร้อยละ 50.5 รับรู้ว่ามีการแบ่งซื้อแบ่งจ้างเพื่อให้อยู่ในอำนาจจัดซื้อจัดจ้าง ได้ และร้อยละ 47.3 รับรู้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐทำเอกสารรับรอง เอกสารหรือกรอกข้อความอันเป็นเท็จ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 ระบุรับรู้น้อยถึงไม่มีส่วนรับรู้เลย เกี่ยวกับข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณของ หน่วยงานราชการในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.7 ระบุเคยได้เห็นหรือได้ยินน้อยถึงไม่เคยเลย เกี่ยวกับการรณรงค์ต่อต้าน การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ที่พักอาศัยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 รับรู้น้อยถึงไม่ทราบเลยเกี่ยวกับช่องทางการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของเจ้าหน้าที่รัฐใน พื้นที่ที่พักอาศัย และร้อยละ 58.7 ระบุระดับความโปร่งใสมีน้อยถึงไม่มีเลยในการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่ที่พักอาศัย
ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อสอบถามถึงประเด็นในการปฏิวัติ พบว่า ร้อยละ 94.6 ระบุไม่เห็นด้วยที่จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ร้อยละ 5.4 ระบุ เห็นด้วยที่จะมีการปฏิวัติ
ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าวว่า “ถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่จะยังคงรับรู้ว่ามีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นในสังคมไทยในระดับรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นจะไม่เป็นสาเหตุสำคัญที่จะเป็นข้ออ้างในการปฏิวัติได้อีกต่อไป เพราะประชาชนส่วนใหญ่เห็นแล้วว่าถึง แม้จะมีการปฎิวัติก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นได้ ทางออกก็ คือ ควรใช้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น โดยนำเอาคนผิดมารับโทษให้ได้ สำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย ที่หลายฝ่ายมองว่ากำลังอยู่ในขั้นวิกฤตน่าจะใช้กลไกต่าง ๆ ของรัฐ และการสนับสนุนจากภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวตามระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่ใช้ความรุนแรงมากกว่า”
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 29.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.6 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 26.8 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 7.8 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.
ร้อยละ 25.1 สำเร็จการระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 4.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 42.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 14.5 เป็นเกษตรกร /รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้