เอแบคโพลล์: ผลกระทบของวิกฤตการเมืองขณะนี้ต่อแผนการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและความหวังต่อความสามัคคีปรองดองของคนในประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Tuesday March 21, 2006 09:49 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ
พฤติกรรม อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในสังคม และทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองไทย นอกจากนี้ยังเป็นที่หวั่นวิตกว่า อาจมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิด
ขึ้นจนอาจทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้นจึงได้มีการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจากันด้วยสันติวิธี และ
ร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความสามัคคีปรองดอง ที่ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ตลอดจนอารมณ์
และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสิน
ใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล
ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
4. เพื่อสำรวจความหวังของประชาชนต่อการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาการเมืองในขณะนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองขณะนี้ต่อแผนการจับจ่าย
ใช้สอยของประชาชนและความหวังต่อความสามัคคีปรองดองของคนในประเทศ: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 19-20 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,441 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองขณะนี้ต่อแผนการจับจ่าย
ใช้สอยของประชาชนและความหวังต่อความสามัคคีปรองดองของคนในประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,441 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 19-20 มีนาคม 2549
ประเด็นสำคัญประการแรกที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้
ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุปัญหาการเมืองอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 16.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
และนอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง ผลกระทบของปัญหาการเมืองต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ นั้นมี
รายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงแผนการในการซื้อสินค้าและบริการในขณะนี้ ซึ่งพบว่าสินค้าและบริการที่ตัวอย่างระบุมีแผนการจะซื้อ
ตามลำดับดังนี้ การเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 70.5) รองลงมาคือการเดินช็อปปิ้งในซุบเปอร์มาร์เก็ต (ร้อยละ 69.2) การเสริม
ความงามของตัวอย่างที่เป็นหญิง (ร้อยละ 56.3) การท่องเที่ยว (ร้อยละ 55.4) การซื้อรถยนต์คันใหม่ (ร้อยละ 28.9) การซื้อบ้านหลังใหม่
(ร้อยละ 26.9) และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น/โทรทัศน์/ไมโครเวฟ/หม้อหุงข้าว/เครื่องซักผ้า (ร้อยละ 26.7) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง การทำตามแผนที่ได้วางไว้นั้น พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างบาง
ส่วนมีการยกเลิกแผนการที่ได้วางไว้ ซึ่งรายละเอียดเป็นดังนี้
ร้อยละ 43.5 ของตัวอย่างที่เคยมีแผนจะซื้อบ้านหลังใหม่ในขณะนี้ได้ยกเลิกแผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 56.5 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
ร้อยละ 43.5 ของตัวอย่างที่เคยมีแผนการที่จะซื้อรถคันใหม่ในขณะนี้แต่ยกเลิกแผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 56.5 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 36.8 ของตัวอย่างที่เคยมีแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น/โทรทัศน์/ ไมโครเวฟ/หม้อหุง
ข้าว/เครื่องซักผ้า ระบุได้ยกเลิกแผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 63.2 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
สำหรับตัวอย่างที่มีการวางแผนเรื่องการท่องเที่ยวนั้นพบว่า ร้อยละ 25.4 ระบุยกเลิกแผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 74.6 ระบุ
ยังไม่ได้ยกเลิก
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงที่มีแผนในการเสริมความงามนั้นพบว่า ร้อยละ 15.3 ระบุได้ยกเลิกแผนการไป
แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 84.7 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
สำหรับการช็อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น พบว่าร้อยละ 13.0 ของตัวอย่างที่เคยวางแผนที่จะช็อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต ระบุได้ยกเลิก
แผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 87.0 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้านั้นพบว่า ร้อยละ 14.4 ของตัวอย่างที่เคยมีแผนที่จะเดินซื้อของตามห้าง
สรรพสินค้าระบุว่าได้ยกเลิกแผนการไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 85.6 ระบุยังไม่ได้ยกเลิก
นอกจากนี้เมื่อ คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการหลีกเลี่ยงเดินทางไปซื้อสินค้า/บริการในบริเวณใกล้เคียงกับการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ
นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.1 ระบุหลีกเลี่ยงที่จะเดินไปในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 33.9 ระบุไม่หลีกเลี่ยง
ดร.นพดลกล่าวว่าผลสำรวจในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึง วิกฤตการเมืองขณะนี้ส่งผลทำให้แผนการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจำนวนมาก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเช่น บ้านหลังใหม่ รถยนต์คันใหม่ และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการยกเลิกแผนการซื้อไป โดยคิดเป็นร้อยละ
43.5 ร้อยละ 43.5 และร้อยละ 36.8 ตามลำดับ ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.4 ของคนที่เคยมีแผนจ่ายเงินในการท่องเที่ยวก็ได้ยก
เลิกแผนการใช้จ่ายดังกล่าวไป แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มคนที่เคยมีแผนเรื่องการช็อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต และเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า โดย
เฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีแผนใช้จ่ายเรื่องเสริมความงาม ผลสำรวจพบว่า มีอยู่ประมาณร้อยละ 15 ที่ยกเลิกแผนการจับจ่ายใช้สอยเหล่านี้ไป นั่นคือ ผู้หญิง
และนักช็อปส่วนใหญ่ยังคงจับจ่ายใช้สอยในเรื่องการเสริมความงาม การซื้อของในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต ตามแผนการใช้จ่ายที่ได้วางไว้
ประเด็นที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดจากสถานการณ์การ
เมืองในขณะนี้ ซึ่งพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 96.6 ระบุรู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 72.6 ระบุรู้สึก
วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง ร้อยละ 44.6ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 11.0 เกิดความขัดแย้งเรื่องการเมืองกับคนในครอบ
ครัว ร้อยละ 73.1 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 76.9 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุต้องการให้
ชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด และร้อยละ 89.0 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุนายกรัฐมนตรีควรประกาศ
ลาออก ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุไม่ควร และร้อยละ 22.4 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างในประเด็น
ดังกล่าว หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.1 ระบุนายกรัฐมนตรีควรประกาศลาออก หากมีเหตุการณ์รุนแรงบาน
ปลายเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 21.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 7.7 ระบุ
สนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 17.1 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 33.3 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 19.4 ระบุไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 22.5 ไม่
ระบุความคิดเห็นอย่างไรก็ตามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการประกาศภาวะฉุกเฉิน หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 12.9 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 32.9 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 19.3 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 13.2 ระบุไม่สนับสนุนเลย และ
ร้อยละ 21.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความหวังว่าจะมีการเจรจาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่ายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.0
ระบุมีความหวังมาก ที่ร้อยละ 18.5 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.7 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 16.3 ระบุไม่มีความหวังเลย และร้อยละ 9.5
ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อไปถึงความหวังต่อความสามัคคีปรองดองของคนในชาตินั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.8 ระบุความ
หวังมาก ร้อยละ 20.6 ระบุค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 9.0 ระบุไม่มีความหวังเลย ทั้งนี้ร้อยละ 8.2 ไม่
ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับแนวคิดในการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.0 ระบุเห็นด้วยโดยให้
เหตุผลว่า ต้องการคนเป็นกลาง/อยากให้เลิกการชุมนุม/อยากให้ทุกฝ่ายยุติการชุมนุม/บ้านเมืองจะได้สงบเสียที อย่างไรก็ตามร้อยละ 26.0 ระบุไม่
เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า ต้องการให้ทำตามรัฐธรรมนูญ/นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง/ไม่ใช่ความต้องการของประชาชน และร้อย
ละ 37.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้ผลสำรวจพบว่าความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระ เรื่องปัญหาในการ
ขายหุ้นชินคอร์ปนั้น ตัวอย่างร้อยละ 60.0 ระบุควรยินยอมให้มีการตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่าประชาชนจะได้รู้ความจริงที่ถูกต้อง/เพื่อความ
โปร่งใส /เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย/เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 9.6 ระบุไม่ควรยินยอม
ให้ตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่าผ่านการตรวจสอบจาก กลต.แล้ว/มั่นใจว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำผิด/ เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 30.4 ไม่
ระบุความคิดเห็น
“สำหรับเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อวิกฤตการเมืองขณะนี้ พบว่า มีจำนวนประชาชนที่วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองมาก
ขึ้น และจำนวนคนที่เครียดยังไม่แตกต่างไปจากการสำรวจครั้งก่อน แต่ที่น่าสบายใจขึ้น คือจำนวนของคนที่ขัดแย้งกันเองระหว่างคนในครอบครัวมีสัด
ส่วนลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนจากร้อยละ 27.7 เหลือร้อยละ 11.0 ซึ่งอาจมองได้สองแง่คือ คนในครอบครัวมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันมาก
ขึ้น หรืออาจเป็นไปได้ว่าคนในครอบครัวมีวิธีบริหารจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในบ้านของตนเองได้ลงตัว” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนของประชาชนที่ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะกันถึงที่สุดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
8.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 20.7 ซึ่งสอดคล้องกับความหวังของประชาชนที่ดูจะมีเหลือไม่มากที่อยากจะเห็นการเจรจากันด้วยสันติวิธี เปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่
มีความหวังค่อนข้างน้อยต่อการเจรจา และรวมไปถึงความหวังของประชาชนต่อความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ที่มีสาธารณชนไม่ถึงครึ่งหรือร้อย
ละ 44.4 ระบุมีความหวังค่อนข้างมากถึงมากต่อความสามัคคีปรองดองของคนในประเทศ
“นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าจำนวนประชาชนที่เห็นว่านายกรัฐมนตรี “ไม่ควรลาออก” กลับสูงขึ้นจากร้อยละ 35.5 ในวันที่ 6 มีนาคม
มาอยู่ที่ร้อยละ 45.9 ในผลสำรวจล่าสุด สาเหตุสำคัญที่ประชาชนหันกลับมาสนับสนุนนายกรัฐมนตรีน่าจะมาจากท่าทีของนายกฯ และการถูกโจมตีจากรอบ
ด้านของกลุ่มต่างๆ อย่างหนักหน่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จำนวนประชาชนที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรลาออก-ไม่ควรลาออก ยังคงมีอาการแกว่งตัว
สูง ยิ่งถ้าประชาชนคิดคล้อยตามข่าวที่ออกมาระบุว่า ผลพวงจากการขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็กทำให้ต่างชาติเข้าครอบครองทรัพย์สมบัติสาธารณะของ
ประเทศอาจทำให้คนเห็นว่านายกรัฐมนตรีควรลาออกสูงขึ้นได้ และเมื่อถามว่า ถ้าเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย (ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้เกิด)
ขึ้น ประชาชนคิดเห็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า จำนวนคนที่บอกว่า “ไม่ควรลาออก” ลดลงกลับไปอยู่ที่ร้อยละ 35 เหมือนเดิม” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 44.5
2 ยังไม่วิกฤต 39.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการเลือกซื้อสินค้าและบริการในขณะนี้
ประเภทสินค้าและบริการ มีแผนการที่จะซื้อ/ใช้บริการ ไม่มีแผนการที่จะซื้อ/ใช้บริการ รวมทั้งสิ้น
1.บ้านหลังใหม่ 26.9 73.1 100.0
2.รถยนต์คันใหม่ 28.9 71.1 100.0
3.เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น/โทรทัศน์/ไมโครเวฟ/หม้อหุงข้าว/เครื่องซักผ้า 26.7 73.3 100.0
4.ท่องเที่ยว 55.4 44.6 100.0
5.เสริมความงาม (ค่าร้อยละเฉพาะเพศหญิง) 56.3 43.7 100.0
6.ช็อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต 69.2 30.8 100.0
7.เดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า 70.5 29.5 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบของปัญหาการเมืองต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า
และบริการ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุมีแผนการที่จะซื้อฯ)
ประเภทสินค้าและบริการ ยกเลิกแผนการ ไม่ยกเลิกแผนการ รวมทั้งสิ้น
1.บ้านหลังใหม่ 43.5 56.5 100.0
2.รถยนต์คันใหม่ 43.5 56.5 100.0
3.เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น/โทรทัศน์/ ไมโครเวฟ/หม้อหุงข้าว 36.8 63.2 100.0
4.ท่องเที่ยว 25.4 74.6 100.0
5.เสริมความงาม (ค่าร้อยละเฉพาะเพศหญิง) 15.3 84.7 100.0
6.ช็อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต 13.0 87.0 100.0
7.เดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า 14.4 85.6 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการหลีกเลี่ยงเดินทางไปซื้อสินค้าในบริเวณใกล้เคียงกับการชุมนุม
ของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ การหลีกเลี่ยงเดินทางไปซื้อสินค้าในบริเวณใกล้เคียงกับการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ร้อยละ
1 หลีกเลี่ยง 66.1
2 ไม่หลีกเลี่ยง 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 +1.8
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 -1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 +21.9
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 -21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 -0.3
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 +0.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 -16.7
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 +16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 -6.7
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 +6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 +7.5
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 -7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 20.7 +12.3
ไม่ต้องการ 91.6 79.3 -12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 -3.5
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 +3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 31.7
2 ไม่ควรลาออก 45.9
3 ไม่มีความเห็น 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรี
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 43.1
2 ไม่ควรลาออก 35.0
3 ไม่มีความเห็น 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 7.7
2 สนับสนุน 17.1
3 ไม่สนับสนุน 33.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 19.4
5 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉิน
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 12.9
2 สนับสนุน 32.9
3 ไม่สนับสนุน 19.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 13.2
5 ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวังว่าจะมีการเจรจาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่าย
ลำดับที่ ความหวังว่าจะมีการเจรจาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่าย ร้อยละ
1 มีความหวังมาก 19.0
2 ค่อนข้างมาก 18.5
3 ค่อนข้างน้อย 36.7
4 ไม่มีความหวังเลย 16.3
5 ไม่มีความเห็น 9.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวังของประชาชนต่อความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
ลำดับที่ ความหวังของประชาชนต่อความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ร้อยละ
1 มีความหวังมาก 23.8
2 ค่อนข้างมาก 20.6
3 ค่อนข้างน้อย 38.4
4 ไม่มีความหวังเลย 9.0
5 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ