เอแบคโพลล์: สำรวจแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้

ข่าวผลสำรวจ Thursday March 23, 2006 11:42 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรม
อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในสังคม และทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน รวมถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลอดจนการวิพากวิจารณ์ความเป็นกลางในการ
ทำหน้าที่ของ กกต. นอกจากนี้สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือการเจรจาของทุกฝ่ายอย่างสันติวิธีเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ตลอดจนอารมณ์
และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่ม
ได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
4. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจ
ดำเนินการใดๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์การเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 21-22
มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,499 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 86.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 13.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.8 ระบุเป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 5.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 4.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน
และร้อยละ 0.8 ระบุเป็นเกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจแนวโน้มความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์การเมืองขณะนี้” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,499 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 21-22 มีนาคม 2549
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.6 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อย
ละ 16.6 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 11.2 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.6 ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างถึงร้อยละ 95.5 ยังให้ความสำคัญต่อ
ปัญหาการเมืองขณะนี้อยู่ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 4.5 ที่ไม่ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ซึ่งร้อยละ 74.7 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ร้อยละ
45.0 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 12.5 เกิดความขัดแย้งเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว ร้อยละ 76.0 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการ
เมือง ร้อยละ 78.6 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม ในขณะที่ร้อยละ 19.2 ระบุต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด และร้อยละ 89.2
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี
สำหรับความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.1 ระบุนายกรัฐมนตรีควรประกาศลาออก
ขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุนายกรัฐมนตรีไม่ควรประกาศลาออก และร้อยละ 24.7 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างในประเด็นดังกล่าว หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.0 ระบุนายกรัฐมนตรีควรประกาศลาออก หากมี
เหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 34.5 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 25.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 8.5 สนับสนุน
อย่างยิ่ง ร้อยละ 18.6 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 30.9 ไม่สนับสนุน ร้อยละ 16.2 ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.8 ไม่มีความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการประกาศภาวะฉุกเฉิน หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.3 สนับ
สนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 32.2 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ไม่สนับสนุน ร้อยละ 11.4 ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.6 ไม่ระบุความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับแนวคิดในการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีนั้น พบว่า ร้อยละ 30.3 เห็นด้วยต่อแนวคิดดัง
กล่าว ขณะที่ร้อยละ 23.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 46.5 ไม่ระบุความเห็น
ส่วนความคิดเห็นต่อการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.7 ไม่เห็นด้วยเพราะอยากให้
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ/กติกาของบ้านเมือง ประชาชนมีโอกาสตัดสินใจอีกครั้ง ร้อยละ 30.1 เห็นด้วยที่จะให้เลื่อนวันเลือกตั้ง เพราะ จะได้เลิก
การชุมนุม เป็นการให้เวลากับทุกฝ่าย การเลือกตั้งเร็วเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันมากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 37.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อพรรคฝ่ายค้านที่ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 พบว่า ร้อยละ 42.4 ไม่
เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ทำให้เสียเวลาในการพัฒนาประเทศ/ เลือกวันไหนก็เหมือนกัน และไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา ขณะที่ร้อยละ 18.4 เห็น
ด้วย เพราะว่า ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ/ต้องการหาข้อยุติให้ได้ก่อน/ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น/อยากให้เจรจาตกลงกันให้เรียบ
ร้อยก่อน และ ร้อยละ 39.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ส่วนความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 65.2 ระบุว่าไปเลือกตั้งแน่นอน ขณะที่ร้อย
ละ 18.8 ไม่ไปแน่นอน และร้อยละ 16.0 ไม่แน่ใจ
สำหรับความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.8 มีความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่
ของกกต. และร้อยละ 20.4 ค่อนข้างเชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 25.9 ไม่ค่อยเชื่อมัน และร้อยละ 13.1 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 17.8 ไม่ระบุความ
เห็น ทั้งนี้โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.0 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ.
วาสนา เพิ่มลาภ ร้อยละ 28.3 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อนายปริญญา นาคฉัตรีย์ ร้อยละ 28.2 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อพล.อ.จารุภัทร เรือง
สุวรรณ และร้อยละ 26.9 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อนายวีระชัย แนวบุญเนียร
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความคิดเห็นต่อการแก้รัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 32.6 ระบุว่าควรมีการแก้ไข โดยให้
เหตุผลว่า เพื่อความเหมาะสมต่อสภาพสังคมปัจจุบัน แก้ไขบางข้อที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้กฎหมายรัดกุมมากขึ้น เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมากขึ้น ขณะที่
ร้อยละ 13.8 ระบุว่าไม่ควรแก้ไข เพราะของเดิมดีอยู่แล้ว อาจเกิดความขัดแย้งอีก แก้ไปก็เพื่อประโยชน์ต่อตัวเอง และร้อยละ 53.6 ไม่ระบุ
ความเห็นดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.2 สนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อยละ 34.3 สนับ
สนุน ขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 4.8 ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 31.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้ผลสำรวจพบว่าความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนายกรัฐมนตรีในการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระ เรื่องปัญหาในการ
ขายหุ้นชินคอร์ปนั้น ตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุควรยินยอมให้มีการตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่าประชาชนจะได้รู้ความจริงที่ถูกต้อง/เพื่อความโปร่ง
ใส / เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย/เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 7.7 ระบุไม่ควรยินยอมให้
ตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่าผ่านการตรวจสอบจาก กลต.แล้ว/มั่นใจว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำผิด/ เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 36.6 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความหวังว่าจะมีการเจรจาด้วยสันติวิธีของทุกฝ่ายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.3 ระบุ
มีความหวังมาก ร้อยละ 11.3 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 42.8 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 17.8 ระบุไม่มีความหวังเลย และร้อยละ 16.8 ไม่
ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อไปถึงความหวังต่อความสามัคคีปรองดองของคนในชาตินั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.3 ระบุความหวัง
มาก ร้อยละ 13.9 ระบุค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 41.6 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 13.6 ระบุไม่มีความหวังเลย ทั้งนี้ร้อยละ 15.6 ไม่
ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ พบว่าแนวโน้มของอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนในหลาย
ประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองขณะนี้ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในหลายประเด็น เช่น การให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ทางการเมือง ความวิตก
กังวล ความเครียด ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวที่มีเหตุมาจากเรื่องการเมืองของประเทศ การที่ประชาชนไม่เห็นด้วยที่พรรคร่วมฝ่าย
ค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง และความเบื่อหน่ายของประชาชน
“อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจล่าสุดชี้ให้เห็นแนวโน้มความคิดเห็นของสาธารณชนที่เปลี่ยนแปลงไปหลายประเด็นเช่นกัน เพราะพบว่า คน
กรุงเทพฯและปริมณฑลเห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ควรลาออกมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 35.5 ในวันที่ 6 มีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 47.2 ใน
วันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา และสัดส่วนของคนที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนก็เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 40 กว่าๆ ในการสำรวจครั้งก่อนมาอยู่ที่
ร้อยละ 65.2 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้อีกด้วย สำหรับประเด็นแนวคิดนายกรัฐมนตรีพระราชทานผลสำรวจล่าสุดกลับพบว่าประชาชนจำนวนมากกลับไป
อยู่ในกลุ่มกลางๆ คือไม่แสดงเจตนาชัดเจนว่าสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนแนวคิดนี้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญอาจมาจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ดูเหมือนว่า ฝ่ายที่รุกเร้ามากเท่าไหร่อาจยิ่งทำให้ฐานสนับ
สนุนจากมวลชนลดน้อยลงไปได้ เพราะตัวเลขออกมาชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ยุติการชุมนุมเพราะเป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนว่าอาจล่อแหลม
ต่อการเกิดความวุ่นวายได้ ดังนั้น ฝ่ายใดก็ตามที่แสดงให้เห็นว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นใช้ความรุนแรงหรือเป็นสาเหตุของความรุนแรงขึ้นอาจทำให้สาธารณชน
ไม่ให้การยอมรับ แต่ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะให้การยอมรับสนับสนุนมากที่สุดคือ การเรียกร้องให้ทุกๆ ฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันอย่างสันติช่วยกันหาทางออก
และนำพาประชาชนทั้งประเทศผ่านบททดสอบครั้งนี้ไปให้ได้
“การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ควรอยู่บนพื้นฐานของการสนับสนุนจากสาธารณชนด้วยความสมานฉันท์มากกว่าการเร่งเร้ากดดันแบบไม่มีทางออก
เพื่อเอาชนะจนถึงที่สุด แนวทางเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะแบบสันติอาจต้องใช้เวลาในการหล่อหลอมอารมณ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในสังคมที่ไม่จำ
เป็นต้องใช้ความรุนแรงที่ฝืนธรรมชาติแห่งความรักสงบของคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ กลุ่มผู้ชุมนุมทุกๆ ฝ่ายไม่ควรมองแค่ตัวเลขผู้เข้าร่วมชุมนุมในแต่ละ
ครั้งที่เคลื่อนไหวเท่านั้น ควรมองภาพกว้างของกลุ่มพลังเงียบที่ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวประกอบด้วย การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งจะได้อยู่บนพื้นฐานของ
ความสุขุมและความมั่นคงอย่างแนบแน่นจากเสียงสนับสนุนของสาธารณชน” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 68.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.6
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.2
4 ไม่ได้ติดตามเลย 3.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 20.7 19.2
ไม่ต้องการ 91.6 79.3 80.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี
การเรียกร้อง 9 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49
เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี 92.5 89.0 89.2
ไม่เรียกร้อง 7.5 11.0 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
ความคิดเห็น 2 ก.พ.49 4 ก.พ.49 8 ก.พ.49 1 มี.ค.49 6 มี.ค.49 14มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49
1.ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2 36.4 31.7 28.1
2.ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5 40.5 45.9 47.2
3.ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3 23.1 22.4 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรี
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก 40.0
2 ไม่ควรลาออก 34.5
3 ไม่มีความเห็น 25.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 8.5
2 สนับสนุน 18.6
3 ไม่สนับสนุน 30.9
4 ไม่สนับสนุนเลย 16.2
5 ไม่มีความเห็น 25.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉิน
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 12.3
2 สนับสนุน 32.2
3 ไม่สนับสนุน 18.5
4 ไม่สนับสนุนเลย 11.4
5 ไม่มีความเห็น 25.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...จะได้เลิกการชุมนุม เป็นการให้เวลากับทุกฝ่าย การเลือกตั้งเร็วเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันมากกว่านี้ 30.1
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...อยากให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ / กติกาของบ้านเมือง ประชาชนมีโอกาสตัดสินใจอีกครั้ง 32.7
3 ไม่มีความเห็น 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อพรรคฝ่ายค้านที่ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับการ
เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ/ต้องหาข้อยุติให้ได้ก่อน/ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น / 18.4
อยากให้เจรจาตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ... ช้าเกินไปทำให้เสียเวลาในการพัฒนาประเทศ/เลือกวันไหนก็เหมือนกัน/ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา 42.4
3 ไม่มีความเห็น 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไปแน่นอน 65.2
2 ไม่แน่ใจ 16.0
3 ไม่ไปแน่นอน 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อ กกต. ในการทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 22.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 20.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 25.9
4 ไม่เชื่อมั่น 13.1
5 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในการวางตัวเป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 32.0 18.1 49.9 100.0
2. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ 28.3 18.6 53.1 100.0
3. พล.อ. จารุภัทร เรืองสุวรรณ 28.2 17.8 54.0 100.0
4. นายวีระชัย แนวบุญเนียร 26.9 17.9 55.2 100.0
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้รัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควร เพราะ...เพื่อความเหมาะสมต่อสภาพสังคมปัจจุบัน แก้ไขบางข้อที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้กฎหมายรัดกุมมากขึ้น 32.6
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมากขึ้น
2 ไม่ควร เพราะ...ของเดิมดีอยู่แล้ว อาจเกิดความขัดแย้งอีก แก้ไปก็เพื่อประโยชน์ต่อตัวเอง 13.8
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ