เอแบคโพลล์: เกรดตก เครียด กินเหล้า

ข่าวผลสำรวจ Monday July 12, 2010 07:41 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนไทย เรื่อง เกรดตก เครียด กินเหล้า จากตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษาปริญญาเอกทั้ง 76 จังหวัด ทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 23,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา

ผลวิจัยพบว่า นักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนในภาคการเรียนครั้งล่าสุดต่ำกว่า 2.00 มีสัดส่วนของคนที่รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตมากกว่ากลุ่มคนที่มีผลการเรียนดีกว่า กล่าวคือ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 ร้อยละ 40.0 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ขณะที่ร้อยละ 33.9 ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนระหว่าง 2.00 — 3.00 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต และในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนมากกว่า 3.00 ร้อยละ 25.7 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตเช่นกัน จะเห็นได้ว่า ยิ่งนักเรียนนักศึกษามีผลการเรียนต่ำยิ่งมีจำนวนคนที่เครียด หมดหวังในชีวิตมากขึ้น ในการสำรวจครั้งนี้

ที่น่าพิจารณาคือ นักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 ดื่มเหล้าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีสัดส่วนของคนที่ดื่มเหล้าสูงกว่ากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนระหว่าง 2.00 — 3.00 ที่ดื่มเหล้าร้อยละ 49.6 และในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนมากกว่า 3.00 ที่ดื่มเหล้าร้อยละ 34.0

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า แม้แต่ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษา ยังรู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิตสูงถึงร้อยละ 23.1 แต่จะมากสุดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช./ ปวส. ที่มีอยู่ร้อยละ 35.5 และในกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่มีอยู่ร้อยละ 32.7

และเมื่อจำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า พบว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช. ปวส. มีกลุ่มคนที่ดื่มมากที่สุดคือ ร้อยละ 63.3 และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 60.6 ส่วนกลุ่มที่สูงกว่าปริญญาตรีมีอยู่ร้อยละ 50.3 ตามลำดับ

แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ค่าเฉลี่ยของอายุในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า พบว่า มีอายุเฉลี่ย 19 ปี และอายุต่ำสุดคือ เพียง 10 ปีเท่านั้นในการวิจัยครั้งนี้

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า กลุ่มนายทุนที่ขายเหล้ากำลังประสบความสำเร็จทางธุรกิจค่อนข้างสูงมากในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และผลวิจัยหลายชิ้นที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ระบุชัดเจนว่า เหล้า เป็นปัจจัยสำคัญของการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน และอาชญากรรมอื่นๆ จำนวนมาก ถ้าหากรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนายทุน และบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป คุณภาพเด็กนักเรียนนักศึกษาและสังคมไทยโดยรวมทั้งปัจจุบันและอนาคตจะอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทางออกที่น่าพิจารณาคือ 7 มาตรการหยุดยั้ง “เหล้า” ในกลุ่มคนไทยเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้น ได้แก่

1) มาตรการเข้มงวดในการห้ามการโฆษณาเหล้าและสัญญาลักษณ์ชี้ชวนตลอด 24 ชั่วโมง 2) มาตรการด้านภาษี 3) จัดโซนนิ่งร้านเหล้าปั่นและปราบปรามอย่างจริงจังในการขายเหล้าให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด 4) เข้มงวดจับกุมผู้ปกครองที่ปล่อยปะละเลยให้เด็กอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนดดื่มเหล้าในที่พักอาศัย 5) จับกุมผู้ที่ดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเช่น ป้ายรถเมล์ ทางเดิน และร้านค้าเปิดโล่ง 6) จับกุมผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีขวดเหล้าเปิดดื่มแล้วอยู่ภายในรถ 7) เร่งรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความรุนแรง และอาชญากรรมอื่นๆ จากการดื่มเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.1 เป็นชาย

ร้อยละ 41.9 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 38.1 อายุต่ำกว่า 15 ปี

ร้อยละ 42.7 อายุระหว่าง 15 - 20 ปี

ร้อยละ 10.2 อายุระหว่าง 21 - 25 ปี

และร้อยละ 9.0 อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา

ร้อยละ 33.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา

ร้อยละ 13.0 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช.

ร้อยละ 11.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.

ร้อยละ 9.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 10.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่รู้สึก เครียดและหมดหวังในชีวิต จำแนกตาม ผลการเรียน
ลำดับที่ รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ต่ำกว่า 2.00 ระหว่าง2.00 — 3.00 มากกว่า3.00 1 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต 40.0 33.9 25.7 2 ไม่รู้สึกเช่นนั้น 60.0 66.1 74.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม ผลการเรียน ลำดับที่ การดื่มเหล้า ต่ำกว่า 2.00 ระหว่าง2.00 — 3.00 มากกว่า3.00 1 ดื่มเหล้า 56.7 49.6 34.0 2 ไม่ดื่ม 43.3 50.4 66.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่รู้สึก เครียดและหมดหวังในชีวิต จำแนกตาม ระดับการศึกษา ลำดับที่ รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปวช. / ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่า ป.ตรี 1 รู้สึกเครียด หมดหวังในชีวิต 23.1 32.7 35.5 29.6 20.6 2 ไม่รู้สึกเช่นนั้น 76.9 67.3 64.5 70.4 79.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม ระดับการศึกษา ลำดับที่ ดื่มเหล้า ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปวช. / ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่า ป.ตรี 1 ดื่มเหล้า 9.4 28.7 63.3 60.6 50.3 2 ไม่ดื่ม 90.6 71.3 36.7 39.4 49.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของนักเรียนนักศึกษาที่ดื่มเหล้า จำแนกตาม อายุโดยเฉลี่ย ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา (ประถม — ปริญญาเอก) ลำดับที่ การดื่มเหล้า อายุเฉลี่ย อายุต่ำสุด อายุสูงสุด 1 ดื่มเหล้า 19 ปี 10 ปี 63 ปี --เอแบคโพลล์-- -พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ