เอแบคโพลล์: เปิดกระเป๋าเงินของคนทำงานผู้มีรายได้น้อย สะท้อนอารมณ์และความล้มเหลวของรัฐบาล

ข่าวผลสำรวจ Monday September 6, 2010 07:33 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์( Cornell University) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “เปิดกระเป๋าเงินของคนทำงานผู้มีรายได้น้อย สะท้อนอารมณ์และความล้มเหลวของ รัฐบาล :กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานผู้มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ใน 12 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งเป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่ม ตัวอย่างได้ตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น จาก 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 988 ครัวเรือน โดยดำเนินการสำรวจใน ช่วงเดือนสิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่พบมีดังนี้

ผลสำรวจจากตัวอย่างคนทำงานที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน พบว่ามีค่าใช้จ่ายในแต่เดือนพอๆ กับรายได้ โดยมากเป็นค่าใช้ จ่ายในการซื้ออาหาร เฉลี่ย 4,626.77 บาท รองลงมาเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เฉลี่ย 1,156.56 บาท และของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระ ผม ยาสีฟัน เฉลี่ย 978.11 บาท

เมื่อสอบถามถึงรายได้ส่วนตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 โดยภาพรวมพบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 55.7 มีรายได้ลดลง ขณะที่ ร้อยละ 38.7 เท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 5.6 ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกตามการมีรายได้ประจำ พบว่าผู้ไม่มีเงินรายได้ประจำ มีรายได้ลดลง อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีรายได้ประจำ (รายได้ลดลงร้อยละ 58.0 และ 38.1 ตามลำดับ) ในทางกลับกันเมื่อสอบถามถึงรายจ่ายส่วน ตัว โดยภาพรวมพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.2 มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ ร้อยละ 25.0 เท่าเดิม และร้อยละ 14.8 มีรายจ่ายลด ลง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ และไม่มีรายได้ประจำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อถึงการมีเงินออม โดยภาพรวมพบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.8 ไม่มีเงินออม โดยไม่ แตกต่างกันมากนักไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้ประจำหรือไม่มี สำหรับตัวอย่างร้อยละ 34.2 ที่มีเงินออมนั้น โดยภาพรวมพบว่ามีเงินออมเฉลี่ย 1,369.37 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 37.2 มีเงินออมในแต่ละเดือนไม่เกิน 500 บาท รองลงมาร้อยละ 26.5 มีเงินออม 501 — 1,000 บาท และร้อย ละ 18.5 มีเงินออม 1,001 — 2,000 บาท ส่วนผู้ที่มีเงินออมมากกว่านี้มีสัดส่วนลดหลั่นลงไป) ซึ่งพบว่าผู้ที่มีรายได้ประจำมีเงินออมมากกว่าผู้ไม่มี รายได้ประจำเล็กน้อย เฉลี่ย 1,535.22 บาท และ 1,342.02 บาท ตามลำดับ

นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่าแม้โดยภาพรวมตัวอย่างร้อยละ 47.3 ระบุเชื่อ มั่นเท่าเดิม แต่พบว่าสัดส่วนของกลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นลดลงนั้นมีมากกว่ากลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 39.3 และ 13.4 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาต่อไปยังเห็นได้ชัดว่าผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำมีความเชื่อมั่นลดลงมากกว่าผู้ที่มีรายได้ประจำ คิดเป็นร้อยละ 40.7 และ 28.8 ตามลำดับ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า กลุ่มคนที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแนวทางการพัฒนา ประเทศของรัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมา และเกือบทุกอย่างดูเหมือนจะ “วน” อยู่ที่เดิม แค่เปลี่ยนชื่อคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างๆ เท่านั้น แต่วิธีคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองยังไม่ปรากฏให้เห็นว่ามี “การเปลี่ยนแปลง” หรือมี “อะไรใหม่” ให้นำไปสู่ชีวิตที่ดี ขึ้นของประชาชนอย่างยั่งยืน เพราะผลวิจัยครั้งนี้สะท้อนปัญหาเดิมๆ ว่า คนไม่เชื่อมั่นต่อฐานะทางการเงินส่วนตัวของตนเอง และต่อความสามารถของ รัฐบาล สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปแต่เรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เดินตามรอย ประเทศมหาอำนาจเกินไป

ทางออกตอนนี้อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก เร่งมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” ที่ให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมสู่ระดับท้อง ถิ่น เรื่องการเข้าถึงอาชีพ รายได้ที่เป็นธรรม การครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่ทำกิน การศึกษา ระบบสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น โดยระยะสั้น น่าจะมีโครงการบรรเทาคนรายได้น้อยที่ครอบคลุมทั้งประเทศในปัจจัยพื้นฐานคือ อาหาร และสาธารณูปโภคต่างๆ

ประการที่สอง เสนอให้ “กลุ่มนายทุน” หรือคนรวยช่วยเหลือคนจนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในลักษณะมูลนิธิหรือองค์กรไม่หวังผล กำไร และรัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มนายทุนเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง

และที่สำคัญ ประการที่สาม คือ ต้องแก้ “ปัญหาคอรัปชั่น” ในส่วนกลางและท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยทำให้ “ระบบเศรษฐกิจ” ทั้งทุนนิยมแบบ ประชาธิปไตยและไม่เป็นประชาธิปไตยพังไปหลายประเทศ ก่อให้เกิดการจลาจลต่อต้านรัฐบาลและผู้มีอำนาจมาหลายสมัยแล้ว จึงเห็นเสนอให้ปรับแนว ทางแก้ปัญหาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หนุนเสริมความเข้มแข็งของประชาชนโดยเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” และโอกาสที่ให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ถ้าไม่งั้นปัญหาบ้านเมืองของประเทศจะ “วน” อยู่ที่เดิม สิ่งเลวร้ายเดิมๆ จะย้อนกลับมาซ้ำซาก และจะมีคนเพียงหยิบมือเดียวของประเทศที่จะอาศัย บ้านเมืองวุ่นวาย กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 58.8 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 41.2 เป็นเพศชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 25-30 ปี

ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 31-40 ปี

ร้อยละ 29.9 อายุระหว่าง 41-50 ปี

และร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 51-60 ปี

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า

ร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ร้อยละ 14.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.

ร้อยละ 5.2 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า

และร้อยละ 5.9 สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 37.6 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย

ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง

ร้อยละ 6.2 ระบุพนักงานเอกชน

ร้อยละ 3.3 ระบุพนักงานโรงงาน

และร้อยละ 2.4 ระบุรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 33.2 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท

ในขณะที่ร้อยละ 66.8 มีรายได้ 5,001-10,000 บาท

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของครัวเรือนในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่          ค่าใช้จ่ายต่างๆในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา            รายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
1          อาหาร                                                    4,626.77 บาท
3          เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย                                        1,156.56 บาท
2          ของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน                            978.11 บาท
4          บันเทิงผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง                               695.35 บาท
6          สุขภาพ/ความงาม เช่น สปา นวด คลินิกรักษาผิวหนัง                    642.64 บาท
5          การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เช่น ฟิตเนส โยคะ โบว์ลิ่ง                  346.00 บาท
7          อื่นๆ อาทิ ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล                   1,565.42 บาท


ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ส่วนตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 จำแนกตามกลุ่มผู้มีรายได้

ประจำและไม่มีรายได้ประจำ

ลำดับที่          การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ส่วนตัว      ผู้มีรายได้ประจำ    ผู้ไม่มีรายได้ประจำ    ภาพรวม
1          เพิ่มขึ้น                                       10.2          5.0             5.6
2          เท่าเดิม                                      51.7          37.0           38.7
3          ลดลง                                        38.1          58.0           55.7
          รวมทั้งสิ้น                                     100.0          100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายจ่ายส่วนตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 จำแนกตามกลุ่มผู้มีรายได้
ประจำและไม่มีรายได้ประจำ
ลำดับที่          การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายจ่ายส่วนตัว     ผู้มีรายได้ประจำ   ผู้ไม่มีรายได้ประจำ    ภาพรวม
1          เพิ่มขึ้น                                       61.9          60.0          60.2
2          เท่าเดิม                                      25.4          24.9          25.0
3          ลดลง                                        12.7          15.1          14.8
          รวมทั้งสิ้น                                     100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีเงินออม จำแนกตามกลุ่มผู้มีรายได้ประจำและไม่มีรายได้ประจำ

ลำดับที่          การมีเงินออม    ผู้มีรายได้ประจำ          ผู้ไม่มีรายได้ประจำ       ภาพรวม
1          มีเงินออม               40.7                    33.4             34.2
2          ไม่มีเงินออม             59.3                    66.6             65.8
          รวมทั้งสิ้น               100.0                   100.0            100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินออมในแต่ละเดือน จำแนกตามกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ
และไม่มีรายได้ประจำ(เฉพาะตัวอย่างที่มีเงินออม)
ลำดับที่          จำนวนเงินออมในแต่ละเดือน   ผู้มีรายได้ประจำ    ผู้ไม่มีรายได้ประจำ   ภาพรวม
1          ไม่เกิน 500 บาท                   37.0            37.3          37.2
2          501 — 1,000 บาท                 21.7            27.2          26.5
3          1,001 — 2,000 บาท               17.4            18.6          18.5
4          2,001 — 3,000 บาท               15.2            11.1          11.7
5          มากกว่า 3,000 บาท                 8.7             5.8           6.1
          รวมทั้งสิ้น                         100.0           100.0         100.0
          ค่าเฉลี่ย (บาท)                 1,535.22        1,342.02      1,369.37

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จำแนกตามกลุ่มผู้มีรายได้ประจำและ   ไม่มีรายได้ประจำ
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน   ผู้มีรายได้ประจำ  ผู้ไม่มีรายได้ประจำ   ภาพรวม
1          มากขึ้น                                        18.6          12.7          13.4
2          เท่าเดิม                                       52.6          46.6          47.3
3          ลดลง                                         28.8          40.7          39.3

          รวมทั้งสิ้น                                      100.0         100.0         100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ