เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขมวลรวม GDH ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน 2553

ข่าวผลสำรวจ Friday October 1, 2010 08:38 —เอแบคโพลล์

ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากยังคงมุ่งเน้นการวัดความเจริญเติบโตของการพัฒนาประเทศด้วย Gross Domestic Product GDP หรือดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นักพัฒนานโยบายประเทศสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการสร้างดัชนีชี้วัดความสุข มวลรวม คือ Gross Domestic Happiness หรือ GDH ของประชาชนภายในประเทศมากขึ้น

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่าง ประเทศ ประจำสถาบันคอร์เนลล์เพื่อภารกิจของรัฐ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ( Cornell University) เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้มความสุข มวลรวม GDH ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกันยายน 2553 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 28 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,059 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วงเดือนกันยายน 2553 ผลการสำรวจพบว่า

ดัชนีความสุขของประชาชนคนไทยภายในประเทศวันนี้ในเดือนกันยายนปีนี้ “ลดต่ำลง” จากระดับความสุขที่เคยสำรวจพบในเดือน กรกฎาคม คือจาก 6.77 มาอยู่ที่ 6.57 จากคะแนนความสุขเต็ม 10 คะแนน แต่คนไทยก็มีความสุขโดยเฉลี่ยสูงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

และที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่อง สถานการณ์การเมือง ความไม่เป็นธรรมทางสังคม สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และภาพลักษณ์ของประเทศ ไทย ที่พบว่า เป็นปัจจัยสำคัญดึงให้ระดับความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศลดต่ำลง

และเมื่อพิจารณารายละเอียดของดัชนีความสุขแต่ละรายการจำแนกกลุ่มประชาชนที่อาศัยตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ พบว่า ประชาชน ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครมีค่าคะแนนความสุขอยู่ในขั้นที่ “น่าเป็นห่วงมากที่สุด” เพราะค่าความสุขของประชาชนคนกรุงเทพมหานครในทุกตัวชี้ วัดต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ ของประเทศ ที่อยู่ในขั้นวิกฤตคือค่าคะแนนความสุขต่ำสุดของคนกรุงเทพมหานครคือ ได้เพียง 3.93 คะแนนในดัชนีชี้วัด ความสุขต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ และเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤตอื่นๆ ของคนกรุงเทพมหานคร คือ ความเป็นธรรม ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ตน เองได้รับ มีค่าความสุขเพียง 4.60 เรื่องสภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเพียง 4.62 และเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทยในสายตาต่างชาติ ได้เพียง 4.81

จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเชิงคุณภาพกับประชาชนคนกรุงเทพมหานครแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่า นักการเมืองมีแต่เรื่องวุ่นวาย น่าเบื่อ หน่าย มองไปที่นักการเมืองคนไหนหาคนดีๆ ได้ยาก มีแต่ทุจริตคอรัปชั่น ผลประโยชน์ แย่งอำนาจ แย่งกันเป็นใหญ่ เอาแต่พูดดี ไม่มีใครจริงใจจริง จังเพื่อบ้านเมือง จบเรื่องนี้ต่อเรื่องนั้นให้วุ่นวายไม่จบสิ้น เมื่อถามถึงแผนปรองดองของฝ่ายการเมือง กลับถูกประชาชนผู้ถูกศึกษาย้อนกลับมาว่า “แผน ปรองดองเหรอ พวกเขาไปปรองดองกันให้สำเร็จก่อน ก่อนเอามาให้ประชาชน” และเมื่อถามว่า แผนปรองดองจะทำให้มีความสุขได้มั้ย คำตอบ คือ “ถ้าทำได้จริงตามที่พูดก็น่าจะทำให้มีความสุขได้ รักกันสามัคคีกัน อภัยให้กัน ใครผิดว่าไปตามผิด ใครถูกว่ากันไปตามกฎหมายบ้านเมือง ก็น่าจะดี แต่พวก.......เอาแต่พูดดี”

เมื่อถามถึงความพยายามจะให้มีการนิรโทษกรรมของฝ่ายการเมือง ผู้ถูกศึกษามีเสียงแตกออกเป็นสองฝ่ายพอๆ กัน บางคนบอกว่าดีเรื่อง จะได้จบกันไป ให้อภัยกันไป แต่บางคนกลับมองว่า ยังไงมันไม่มีทางจบได้ มันจะมีเรื่องใหม่มาให้ทะเลาะกันอีก ทางที่ดีคือให้ว่ากันไปตามตัวบท กฎหมายของบ้านเมือง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้ประชาชนคนไทยมีความสุขระดับมากถึงมากที่สุดในทุกภูมิภาคคือ เรื่อง ความจงรักภักดี และบรรยากาศของคน ในครอบครัว เมื่อพิจารณาระดับความสุขมวลรวมของประชาชนในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พบว่า ประชาชนในภาคเหนือมีความสุขมากที่สุดคืออยู่ที่ 7.14 รองลงมาคือประชาชนในภาคใต้มีความสุขอยู่ที่ 6.94 อันดับสามคือประชาชนในภาคกลางมีความสุขอยู่ที่ 6.42 และสองอันดับสุดท้ายคือ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีความสุขอยู่ที่ 6.41 และ 5.82 ตามลำดับ

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยความสุขที่ค้นพบครั้งนี้สะท้อนให้เห็นนัยสำคัญทางสังคมหลายประการ เช่น กลุ่ม ประชาชนในภาคเหนือที่มีค่าความสุขสูงที่สุดก็สอดคล้องกับลักษณะความเป็นคนไทยภาคเหนือที่อดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงมีจิตใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ในช่วงหลังๆ ประชาชนคนไทยถูกชี้นำโดยฝ่ายการเมืองและกลุ่มข้าราชการ กลุ่มผลประโยชน์นายทุนต่างๆ ทำให้เกิดความแตกแยกทำลายวัฒนธรรม ประเพณีของคนท้องถิ่นไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้ ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยลบที่ดึงความสุขคนไทยให้ต่ำลงจำเป็นต้องให้ผู้ใหญ่ในสังคมไทยหันมา แก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่องคือ ความไม่เป็นธรรมทางสังคม การถูกเอารัดเอาเปรียบ “ถูกเลือกปฏิบัติ” การมุ่งกอบโกยผลประโยชน์และปัญหา ทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น ส่วนปัญหาปากท้องเป็นเรื่องที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องแสดงความสามารถให้ประจักษ์สร้างความเชื่อมั่นในหมู่ ประชาชนให้ได้ว่า สามารถทำให้ประชาชนมีเงินในกระเป๋ามากขึ้นและมีรายจ่ายลดน้อยลง

“โดยสรุปจากการวิจัยความสุขชุมชนของคนไทยที่ผ่านมา เห็นได้ว่า คุณภาพของนักการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ความไม่เป็นธรรมในสังคมที่ ประชาชนได้รับหรือพบเห็น สภาวะเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ของคนไทยในสายตาต่างชาติทำให้ความสุขคนไทยลดลง ดังนั้น ในสถานการณ์ บ้านเมืองเวลานี้ จึงต้องให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ต้องช่วยกันประสานสร้างเครือข่าย “สุขภาวะร่วมกัน” ในสังคมทั้งทางใจ ทาง กาย ทางจิตวิญญาณ และทางสังคมวัฒนธรรมประเพณีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนกลับคืนมาเป็นหนึ่งเดียวบน รากฐานมั่นคงของประเทศ” ดร.นพดล กล่าว

          จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง        ร้อยละ 48.5  เป็นชาย

ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 19.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 24.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 31.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 10.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 8.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10
                           มี.ค.  เม.ย.    ต้น     ก.ค.   ส.ค.  ต้นต.ค.  พ.ย.   5 ธ.ค.   ปลาย   ม.ค.   ก.ค.  ก.ย.
                            52     52   มิ.ย.52    52     52      52     52    52     ธ.ค.52   53    53    53
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
Gross Domestic Happiness) 6.18   7.17    7.15    5.92  7.18    6.83   7.52   9.86    7.26    6.52  6.77  6.57

หมายเหตุ จากฐานข้อมูลรายงานความสุขมวลรวมของคนไทย โดยศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่       กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                              เหนือ    กลาง      ตอ./เหนือ    ใต้     กทม.
1           ความจงรักภักดี                                               9.5     9.2         8.33      9     8.2
2           สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์             7.4     6.7         6.76    7.3     6.2
3           บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น  การช่วยเหลือกัน            7.3     6.3         6.88    7.5     5.8
4           บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                           8.3     7.7         7.74    8.2     7.1
5           สุขภาพทางกาย                                                 8     7.4         7.46    7.9     6.7
6           สุขภาพทางใจ                                                  8     7.3         7.44    7.9     6.6
7           การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ                      7.5     6.7         6.92    7.2       6
8           หน้าที่การงาน  อาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน                             7.6     7.1         7.02    7.5     6.3
9           วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                                   7.7     6.9          7.3    7.6     6.1
10          ระบบการศึกษาของประเทศ                                      7.1     6.4          6.8    7.2     5.6
11          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                                     5.8     5.4         5.58    6.4     4.6
12          สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่านเองและครอบครัว                         6.4     6.1         6.25    6.8     5.2
13          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                                  5.1     5.1         4.59    5.7     3.9
14          ความเป็นธรรม / ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ท่านได้รับ                    5.9     5.2         5.76    6.3     4.6
15          ภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย ในสายตาต่างชาติ                   6.1     5.6         6.01    6.5     4.8
                ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนกันยายน  2553           7.14    6.42         6.41   6.94     5.82

--เอแบคโพลล์--

-พห-

แท็ก เอแบคโพลล์   APP   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ