‘จุรินทร์’ รุก "ยกเครื่องหลักสูตรอบรมผู้บริหารรัฐ-เอกชน" บุกตลาดต่างประเทศสร้างรายได้เข้าประเทศด้วย FTA

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 24, 2022 14:13 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้ให้โอวาทและมอบประกาศนียบัตรผู้จบหลักสูตร ?การค้า ระหว่างประเทศ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่(New International Course for Executive: NIC?E)? พร้อมด้วยนายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวันชัย วราวิทย์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จหลักสูตรการค้าระหว่างประเทศสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ ที่จัดขึ้นโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ในวันนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดหลักสูตรนี้ เพื่อเสริมความรู้ให้หน่วยงานภาครัฐเอกชนและภาคประชาชนเข้าใจในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งความตกลงการค้าเสรี FTA และให้ทุกฝ่ายนำ FTA ซึ่งมีทั้งในรูปทวิภาคีและพหุภาคีไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจการค้าและลงลึก เพื่อการส่งออกและนำเงินเข้าประเทศ

สำหรับในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤตหลายวิกฤต อาทิ โรคอุบัติใหม่ เทคโนโลยีดิสรัปชั่น และวิกฤตซ้อนวิกฤตที่เราต้องฝ่า 1.โควิด และโรคอุบัติใหม่ 2.วิกฤติเศรษฐกิจ 3.สงครามการค้า 4.สงครามรัสเซีย-ยูเครน และที่สำคัญประเด็นใหม่ที่เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า นอกจากกำแพงภาษี

สุดท้ายที่น่ากลัวที่สุดคือ การนำเศรษฐกิจกับการค้าระหว่างประเทศมามัดรวมกันเป็นเงื่อนไขบังคับแบ่งข้างแบ่งขั้วในทางการเมืองการค้าโลก

ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ทำนโยบายสำคัญ ภายใต้การขับเคลื่อนที่ตนรับผิดชอบ คือ 1.รุก และ 2.ลึก กระทรวงพาณิชย์กำลังทำและประสบความสำเร็จในหลายเรื่อง ตัวเลขส่งออกปีที่แล้ว 2564 ประเทศไทย +17.1% ทำเงินเข้าประเทศ 8.5 ล้านล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าเป็น 9 ล้านล้านบาทไตรมาสที่หนึ่งปีนี้เราทำเงินเข้าประเทศจากการส่งออก 2.4 ล้านล้านบาท แนวโน้มยังเดินได้ภายใต้วิกฤตซ้อนวิกฤต เพราะยุทธศาสตร์ของเราถูกต้องชัดเจน

1.กรอ.พาณิชย์ ตั้งแต่ตนเข้ามาเราตั้งหลักว่าเราจะไม่ฉายเดี่ยว แต่เราต้องจับมือใกล้ชิดกับเอกชน ภาคการส่งออกเดินไปข้างหน้านำเงินเข้าประเทศ แก้ปัญหาทุกข้อเชิงลึก ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภายใต้หลัก ?รัฐหนุนเอกชนนำ? เอกชนต้องเป็นทัพหน้า บุกไปยิงประตูทำเงินเข้าประเทศ ภาครัฐเป็นกองหลัง มี กรอ.พาณิชย์ภาค ลงลึกซึ่งเริ่มที่ภาคใต้สงขลาแล้ว

วันนี้ประเทศไทยมี FTA 14 ฉบับ มีประเทศเข้าร่วม FTA 18 ประเทศ และมี RCEP เป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำเร็จในมือของประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตนเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีการค้า RCEP เจรจาจบ ต้นปีนี้ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว มีประชากรและ GDP หนึ่งในสามของโลกและประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ RCEP สำเร็จ เมื่อวานนี้ (21-22 พ.ค.) ตนเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประสบความสำเร็จในการเป็นประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคอย่างงดงาม เป้าหมายที่ 3 เรื่อง คือ ?Open. Connect. Balance?

เปิดกว้างเสรีทางการค้าในสมาชิกเอเปค ทุกเขตเศรษฐกิจ 21 เขตเศรษฐกิจ จะขับเคลื่อนเข้มข้นชัดเจนขึ้นในรูป FTA เอเปค หรือ FTAAP ให้เสร็จปี 2040 แต่ถ้าอะไรที่ตกลงได้ก่อนจะทำก่อน 2 และการเชื่อมโยงบุคคล สินค้า บริการ ระหว่างกันให้คล่องตัว อำนวยความสะดวก สุดท้ายคือการสร้างสมดุลระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน SMEs สตรี กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

การขับเคลื่อน BCG Model ก็เป็นที่ยอมรับและจะส่งผ่านการประชุมซัมมิทในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ต่อไป ก่อนที่ประเทศไทยจะส่งไม้ต่อให้กับสหรัฐอเมริกาในปีหน้า ถ้า FTAAP สำเร็จ จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน RCEP มีประชากร 2,900 ล้านคน ประชากรคิดเป็น 38% ของประชากรโลก GDPเป็น 68% ของ GDP โลก และ FTAใหม่ที่จะขับเคลื่อน อาทิ ไทย-อังกฤษ ไทย-อียู ไทย-เอฟตา (กลุ่มนอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์) ไทย-ยูเรเซีย (รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอาร์มาเนีย) และลงลึกต่อไปเป็นมินิเอสทีเอ ทำ MOU กับระดับรัฐหรือมณฑลของประเทศใหญ่ อาทิ ไห่หนาน ของจีน กับโคฟุ ของญี่ปุ่น กับรัฐเตลังคานาของอินเดีย กับมณฑลกานซู่ของจีน เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำเชิงรุกและเชิงลึก

และตนมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทำแผนปี 2565 ส่งออกสินค้าและบริการในหมวด Soft Power เพราะประเทศไทยมี Soft Power ด้านวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เป็นลำดับที่ 5 ของเอเชียรองจาก ญี่ปุ่น จีน เกาหลีและอินเดีย

หัวใจสำคัญสำหรับทุกท่านที่เข้าอบรมจะเป็นการพิสูจน์ผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรนี้มี 2 ข้อ

1.ต้องช่วยทำหน้าที่ทูต สื่อสารสิ่งที่ได้อบรมเพื่อเผยแพร่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจการค้าระหว่างประเทศ

2.ต้องช่วยนำสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้จริงทั้งในองค์กรธุรกิจทุกภาคส่วน เพื่อนำรายได้เข้าประเทศต่อไป

?ขอแสดงความชื่นชมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์อาเซียนศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านและผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการค้าระหว่างประเทศสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ทั้ง 43 ท่านในวันนี้?รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำหลักสูตร ?การค้าระหว่างประเทศ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (New International Commerce Course for Executive)? ภายใต้โครงการ ?การสร้างความเข้าใจประโยชน์ FTA สร้าง เครือข่าย FTA Club? โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายให้มีองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิด เสรีการค้า (FTA) อย่างลึกซึ้ง และร่วมกันแสดงความเห็นในก้าวเดินต่อไปในการเจรจาการค้าเสรีของ ไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้แทนจากภาคประชาสังคม ภาคเกษตร ภาควิชาการและสื่อสารมวลชน รวม 43 คน

23 พฤษภาคม 2565

ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ