กรุงเทพโพลล์: การเมืองไทยจะเป็นอย่างไรหากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

ข่าวผลสำรวจ Wednesday November 24, 2010 10:35 —กรุงเทพโพลล์

จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีเงินอุดหนุน 29 ล้านบาท ในวันที่ 29 พฤศจิกายน นี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วทุกภาคของประเทศ พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.3 ไม่แน่ใจว่าทิศทางการเมืองของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรหากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ ส่วนร้อยละ 25.0 เชื่อว่าจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยจะมีผลทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงักเพราะต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เกิดการแย่งชิงอำนาจในการบริหารประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดภาพความเป็น 2 มาตรฐานลง

สำหรับรัฐบาลใหม่ที่ประชาชนอยากได้หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์ถูกเว้นวรรคทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 45.4 ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ทั้งชุด ขณะที่ร้อยละ 43.7 ต้องการรัฐบาลที่มาจาก ส.ส. ชุดเดิมในปัจจุบันรวมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งซ่อมแทน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกตัดสิทธิ์ และร้อยละ 10.9 ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลเฉพาะกิจมาบริหารประเทศจนครบเทอม

บุคคลที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์ ถูกเว้นวรรคทางการเมือง พบว่า อันดับแรกคือนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 12.0 รองลงมาคือนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 11.4 และนายกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 8.0 ตามลำดับ

ส่วนความเห็นต่อประเด็นที่ว่า ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ จะตัดสินใจยุบสภา ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ประชาชนร้อยละ 56.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 44.0 เห็นด้วย

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นต่อทิศทางการเมืองไทยต่อจากนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ คือ
          - ดีขึ้น                               ร้อยละ 20.4
          - เหมือนเดิม                          ร้อยละ 25.0
          - แย่ลง                              ร้อยละ 24.3
          - ไม่แน่ใจ ไม่ชัดเจน                    ร้อยละ 30.3

2. ผลกระทบที่มีต่อการเมืองไทยถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ คือ
  • ทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงักเพราะต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ร้อยละ 24.1
          - ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจในการบริหารประเทศ                    ร้อยละ 21.5
          -  ลดภาพความเป็น 2 มาตรฐานลง                               ร้อยละ 18.4
          - เกิดการต่อรองทางการเมืองเพิ่มขึ้น                              ร้อยละ 12.8
          - ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง                                 ร้อยละ 12.7
          - เกิดการสลับขั้วทางการเมือง                                   ร้อยละ 8.7
          - อื่นๆ อาทิ เหมือนเดิม และไม่ออกความเห็น                        ร้อยละ 1.8

3.  รัฐบาลใหม่ที่ประชาชนต้องการได้ หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์ถูกเว้นวรรคทางการเมือง คือ
          - รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ทั้งชุด                                                  ร้อยละ 45.4
  • รัฐบาลที่มาจาก ส.ส.ชุดเดิมในปัจจุบันรวมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งซ่อมแทน ส.ส.
            ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกตัดสิทธิ์                                                     ร้อยละ 43.7

โดยต้องการให้เป็น

  • รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เดิมเป็นแกนนำและมีพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิม ร้อยละ 15.8
  • รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เดิมเป็นแกนนำแต่เปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ ร้อยละ 12.6
                    - รัฐบาลที่มีพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิมแต่เปลี่ยนพรรคแกนนำใหม่             ร้อยละ  8.4
                    - เปลี่ยนขั้วรัฐบาลใหม่โดยให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล         ร้อยละ  6.9
          - จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลเฉพาะกิจมาบริหารประเทศจนครบเทอม                         ร้อยละ 10.9

4. บุคคลที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์ ถูกเว้นวรรคทางการเมือง คือ
          - บุคคลภายนอกที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง                      ร้อยละ 40.1

(บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

                              นายอานันท์         ปันยารชุน          ร้อยละ 12.0
                              ร.ต.อ. ปุระชัย     เปี่ยมสมบูรณ์        ร้อยละ  1.9
                              นายวิกรม          กรมดิษฐ์           ร้อยละ  1.5

          - บุคคลในพรรคอื่นที่ไม่ใช่พรรคพรรคประชาธิปัตย์เดิม          ร้อยละ 30.4

(บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

                              ร.ต.อ. เฉลิม      อยู่บำรุง           ร้อยละ  3.5
                              พล.อ.ชวลิต        ยงใจยุทธ          ร้อยละ  3.0
                              พล.อ สนธิ         บุญยรัตกลิน         ร้อยละ  1.5

          - บุคคลในพรรคประชาธิปัตย์เดิม                              ร้อยละ 29.5

(บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรกได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

                              นายชวน           หลีกภัย            ร้อยละ  11.4
                              นายกรณ์           จาติกวณิช          ร้อยละ   8.0
                              นายอภิรักษ์         โกษะโยธิน         ร้อยละ   4.8

5. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ จะตัดสินใจยุบสภา ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า
          - เห็นด้วย                      ร้อยละ 44.0
          - ไม่เห็นด้วย                    ร้อยละ 56.0

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,203 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.4 และเพศหญิงร้อยละ 48.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            : 18 - 22 พฤศจิกายน 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                : 24 พฤศจิกายน 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                               จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                 619          51.5
            หญิง                                 584          48.5
          รวม                                 1,203         100.0

อายุ
            18 ปี - 25 ปี                         295          24.5
            26 ปี — 35 ปี                         337          28.0
            36 ปี — 45 ปี                         298          24.8
            46 ปีขึ้นไป                            273          22.7
          รวม                                 1,203         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                          571          47.5
          ปริญญาตรี                               549          45.6
          สูงกว่าปริญญาตรี                           83           6.9
        รวม                                   1,203         100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ                     161          13.4
          พนักงานบริษัทเอกชน                       390          32.4
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว               310          25.7
          รับจ้างทั่วไป                             127          10.6
          พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ               69           5.8
          อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน     146          12.1
        รวม                                   1,203         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ