กรุงเทพโพลล์: การท่องเที่ยวเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

ข่าวผลสำรวจ Monday July 4, 2022 08:42 —กรุงเทพโพลล์

กรุงเทพโพลล์: การท่องเที่ยวเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 เห็นว่ามติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ก่อนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

จะเกิดผลดีทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เกิดการสร้างงานสร้างรายได้

โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0 เชื่อคนจะออกมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.8 จะปฏิบัติตัวเหมือนเดิมใส่หน้ากากอนามัยทุกที่ทุกครั้งที่ไป

ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4 มองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว จะช่วยให้คนออกมาเที่ยวเพิ่มขึ้น

ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.4 กังวลราคาน้ำมันเพิ่มเรื่อยๆ จะส่งผลต่อการออกมาท่องเที่ยว

ผลสำรวจเรื่อง ?การท่องเที่ยวเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น?

กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?การท่องเที่ยวเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,177 คน พบว่า

เมื่อถามว่าคิดอย่างไรกับมติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย เปิดสถานบันเทิงถึงตี 2 เปิดประเทศเต็มรูปแบบ ก่อนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 คิดว่าจะเกิดผลดี โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 49.9 เห็นว่าน่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 48.5 เห็นว่าน่าจะทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ และร้อยละ 41.6 เห็นว่าจะทำให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตแบบปกติ ขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าจะเกิดผลเสียกลัวว่าจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้เมื่อถามว่ามติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ก่อนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น จะทำให้คนอยากออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0 เห็นว่าจะทำให้อยากออกมาท่องเที่ยวค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.0 เห็นว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

โดยเมื่อถามต่อว่าจะใส่หน้ากากอนามัยตลอดทุกที่ที่ไปหรือไม่ หลังมีมติผ่อนคลายการสวมหน้ากากอนามัยตามความสมัครใจ ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.8 คิดว่าจะปฏิบัติตัวเหมือนเดิมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.2 ที่คิดว่าจะไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วเพราะการแพร่ระบาดลดลง

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้คนออกมาท่องเที่ยวได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4 เห็นว่าจะช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 35.6 เห็นว่าจะช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามถึงปัจจัยที่คิดว่าจะทำให้คนไม่ค่อยอยากออกมาท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.4 เห็นว่าเป็นเรื่องปัญหาราคาน้ำมันแพง รองลงมาคือ ไม่มีเงินที่จะไปท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 75.3 และปัญหาสินค้าราคาแพงคิดเป็นร้อยละ 63.0

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม ?คิดอย่างไรกับมติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย เปิดสถานบันเทิงถึงตี 2 เปิดประเทศเต็มรูปแบบ ก่อนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น?

คิดว่าจะเกิดผลดี                     ร้อยละ          71.8
  โดย             น่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น          ร้อยละ          49.9
               น่าจะทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้          ร้อยละ          48.5
               ทำให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตแบบปกติ          ร้อยละ          41.6
               น่าจะทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเพิ่มขึ้น          ร้อยละ          39.1
               ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับท่องเที่ยวเดินหน้าได้อย่างเต็มที่          ร้อยละ          38.6
               สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ          ร้อยละ          33.8
              ทำให้ได้เห็นหน้าซึ่งกันและกัน เห็นสีหน้าเวลาพูดคุยกัน          ร้อยละ          22.7
               อื่นๆ ระบุ ไม่มีความเห็น          ร้อยละ           0.1
คิดว่าจะเกิดผลเสีย กลัวว่าจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น                    ร้อยละ          28.2











2. มติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ก่อนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น จะทำให้คนอยากออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ          72.0
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 60.8 และมากที่สุด ร้อยละ 11.2)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ          28.0
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 26.3 และน้อยที่สุด ร้อยละ 1.7)






3. ข้อคำถาม ?ท่านจะใส่หน้ากากอนามัยตลอดทุกที่ที่ไปหรือไม่ หลังมีมติผ่อนคลายการสวมหน้ากากอนามัยตามความสมัครใจ?

คิดว่าจะปฏิบัติตัวเหมือนเดิมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง          ร้อยละ          92.8
คิดว่าจะไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วเพราะการแพร่ระบาดลดลง           ร้อยละ          7.2



4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้คนออกมาท่องเที่ยวได้มากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ          64.4
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 53.0 และมากที่สุด ร้อยละ 11.4)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ          35.6
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 31.5 และน้อยที่สุด ร้อยละ 4.1)





5. ปัจจัยที่คิดว่าจะทำให้คนไม่ค่อยอยากออกมาท่องเที่ยว
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ปัญหาราคาน้ำมันแพง                    ร้อยละ          76.4
ไม่มีเงินที่จะไปท่องเที่ยว          ร้อยละ          75.3
ปัญหาสินค้าราคาแพง                    ร้อยละ          63.0
ยังกลัวติดโควิด-19 อยู่                    ร้อยละ          41.1
กลัวที่พัก ร้านอาหารราคาสูง          ร้อยละ          35.2
อื่นๆ ระบุ ไม่มี เก็บเงินไว้ใช้จ่าย          ร้อยละ          0.3













?
รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
1)          เพื่อสะท้อนความเห็นต่อมติผ่อนคลายมาตรการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย เปิดสถานบันเทิงถึงตี 2  เปิดประเทศเต็มรูปแบบ ก่อนโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น
2)          เพื่อสะท้อนความเห็นต่อมติผ่อนคลายมาตรการ กับการออกมาท่องเที่ยวของประชาชน
3)          เพื่อสะท้อนถึงปัจจัยที่คิดว่าจะทำให้คนไม่ค่อยอยากออกมาท่องเที่ยว

ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95

วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล


ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล   :  27 - 30 มิถุนายน 2565

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ   :  2 กรกฎาคม 2565

กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll


ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          599          50.9
            หญิง          578          49.1
รวม          1,177          100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          100          8.5
            31 ? 40 ปี          154          13.1
            41 ? 50 ปี          327          27.8
            51 ? 60 ปี          324          27.5
            61 ปีขึ้นไป           272          23.1
รวม          1,177          100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          674          57.3
            ปริญญาตรี          373          31.7
            สูงกว่าปริญญาตรี          130          11.0
รวม          1,177          100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          164          13.9
          ลูกจ้างเอกชน          238          20.2
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          463          39.4
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          67          5.7
          ทำงานให้ครอบครัว          1          0.1
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          210          17.8
          นักเรียน/นักศึกษา          16          1.4
          ว่างงาน           18          1.5
รวม          1,177          100.0



ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ