กรุงเทพโพลล์: เจ้าของร้านค้ากับบทสรุปคนละครึ่งเฟส 5

ข่าวผลสำรวจ Monday October 31, 2022 08:20 —กรุงเทพโพลล์

ผลสำรวจเรื่อง ?เจ้าของร้านค้ากับบทสรุปคนละครึ่งเฟส 5?

ในวันที่ 31 ตุลาคม ที่จะถึงนี้จะหมดเขตใช้จ่ายโครงการคนละครึ่งเฟส 5 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งพบว่า เจ้าของร้านค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 58.8 เห็นว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยทำให้คนออกมาจับจ่ายซื้อของเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 41.2 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

                    ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่คนออกมาใช้จ่ายโครงการคนละครึ่งน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งก่อนๆ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 เห็นว่าเงินที่ให้ใช้จ่ายมีจำนวนน้อย รองลงมาร้อยละ 49.3 เห็นว่า          คนต้องประหยัด ต้องใช้จ่ายอย่างระวัง และร้อยละ 33.3 เห็นว่าคนเลือกซื้อของที่จำเป็นมากกว่าของที่ไม่จำเป็น

เมื่อถามว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยกระตุ้นยอดขาย ทำให้ร้านค้าขายของได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.1 เห็นว่าช่วยได้ ขณะที่ร้อยละ 12.9 เห็นว่าไม่ค่อยช่วย ส่วนที่เหลือร้อยละ 3.0 เห็นว่าไม่ช่วยเลย

โดยเมื่อถามถึงภาพรวมคิดว่าโครงการคนละครึ่งตั้งแต่เฟส 1 - 5 ที่ผ่านมาทำให้กิจการของท่านเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.6 เห็นว่าทำให้กิจการดีขึ้น โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 68.7 ขายได้เพิ่มขึ้น สามารถกระตุ้นยอดการซื้อ รองลงมาร้อยละ 56.2 มีลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 31.3 สร้างโอกาสให้คนรู้จักร้านมากขึ้น ส่วนร้อยละ 13.4 เห็นว่ากิจการเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.0 ที่เห็นว่าทำให้กิจการแย่ลงกว่าเดิม

ทั้งนี้เมื่อถามว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ยังควรมีต่อไปหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.5 เห็นว่าควรมีต่อไป เพราะช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย ขณะที่ร้อยละ 4.5 เห็นว่าไม่ควรมีเพราะไม่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจได้

สุดท้ายเมื่อถามว่าจากข่าวจะมีโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ในช่วงปลายปี ท่านจะเข้าร่วมหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.0 จะเข้าร่วม ส่วนร้อยละ 8.0 ยังไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 2.0 จะไม่เข้าร่วม

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยทำให้คนออกมาจับจ่ายซื้อของเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ          58.8
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 49.8 และมากที่สุด ร้อยละ 9.0)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ          41.2
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 36.2 และน้อยที่สุด ร้อยละ 5.0)






2. สาเหตุที่คนออกมาใช้จ่ายโครงการคนละครึ่งน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งก่อนๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

เงินที่ให้ใช้จ่ายมีจำนวนน้อย                    ร้อยละ          75.1
คนต้องประหยัด ต้องใช้จ่ายอย่างระวัง          ร้อยละ          49.3
คนเลือกซื้อของที่จำเป็นมากกว่าของที่ไม่จำเป็น                ร้อยละ          33.3
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมีน้อยลง          ร้อยละ          27.4
คนไม่มีเงินเติมเข้าแอปฯ เป๋าตัง                    ร้อยละ          27.4
มีระยะเวลาให้ใช้นานเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ให้                    ร้อยละ          25.9
มีการใช้ผ่านฟู้ดเดลิเวอรี่ แอปฯ ได้          ร้อยละ          9.5
อื่นๆ อาทิเช่น ร้านค้ามีน้อยลงเพราะเสียภาษี          ร้อยละ          1.0
3. ข้อคำถาม ?โครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยกระตุ้นยอดขาย ทำให้ร้านค้าขายของได้เพิ่มขึ้นหรือไม่?

ช่วยได้          ร้อยละ          84.1
ไม่ค่อยช่วย                    ร้อยละ          12.9
ไม่ช่วยเลย          ร้อยละ          3.0
4. ในภาพรวมคิดว่าโครงการคนละครึ่งตั้งแต่เฟส 1 - 5 ที่ผ่านมาทำให้กิจการของท่านเป็นอย่างไร

ทำให้กิจการดีขึ้น          ร้อยละ          85.6
            โดย                    ขายได้เพิ่มขึ้น สามารถกระตุ้นยอดการซื้อ          ร้อยละ 68.7
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)          มีลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น                              ร้อยละ 56.2
                              สร้างโอกาสให้คนรู้จักร้านมากขึ้น          ร้อยละ 31.3
                              มีการขยายกิจการ เพิ่มสาขา                    ร้อยละ  1.0
กิจการเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง          ร้อยละ          13.4
ทำให้กิจการแย่ลงกว่าเดิม          ร้อยละ          1.0
5. ข้อคำถาม ?คิดว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ยังควรมีต่อไปหรือไม่อย่างไร  ?
ควรมีต่อไป เพราะช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย          ร้อยละ          95.5
ไม่ควรมี เพราะไม่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจได้                    ร้อยละ          4.5

6. ข้อคำถาม ?จากข่าวจะมีโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ในช่วงปลายปี ท่านจะเข้าร่วมหรือไม่?

เข้าร่วม                    ร้อยละ          90.0
ไม่เข้าร่วม          ร้อยละ          2.0
ไม่แน่ใจ                    ร้อยละ          8.0
กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
1)          เพื่อสะท้อนความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5 กับการออกมาจับจ่ายของประชาชน
2)          เพื่อสะท้อนความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5 กับการกระตุ้นยอดขาย ให้กับร้านค้า
3)          เพื่อสะท้อนความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 6

ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 6 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ ดินแดง บางกอกน้อย บางซื่อ วังทองหลาง สายไหม หนองแขม และปริมณฑล 2 จังหวัดได้แก่ นนทบุรีและปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 200 ร้านค้า

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ? 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล   :  21 - 25 ตุลาคม 2565

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ   :  29 ตุลาคม 2565



ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          52          25.9
            หญิง          149          74.1
รวม          201          100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          20          10.0
            31 ? 40 ปี          38          18.9
            41 ? 50 ปี          69          34.2
            51 ? 60 ปี          58          28.9
            61 ปีขึ้นไป           16          8.0
รวม          201          100.0

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ