หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแปลงค่าและรับรู้กำไรขาดทุนจากฐานะเงินตราต่างประเทศ และการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday November 22, 2004 08:41 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                     22  พฤศจิกายน  2547 
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ที่ ธปท.สนส.(21)ว. 1974/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแปลงค่าและรับรู้กำไรขาดทุนจากฐานะเงินตราต่างประเทศ และการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแปลงค่าฐานะเงินตราต่างประเทศ และการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ และการรับรู้กำไรขาดทุนจากรายการดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีไทย หรือแนวปฏิบัติทางการบัญชีไทย หรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีของต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. ขอบเขตการถือปฏิบัติ
ให้ถือปฏิบัติกับธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
3. เนื้อหา
1. ให้ยกเลิกหนังสือเวียนดังต่อไปนี้
1) หนังสือเวียนที่ งพ.(ว) 974/2536 เรื่อง การแปลงค่าและการรับรู้กำไรขาดทุนจากฐานะเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536
2) หนังสือเวียนที่ ธปท.งพ.(ว) 2930/2540 เรื่องแนวทางปฏิบัติทางด้านบัญชีและการรายงานจากการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ลงวันที่ 19 กันยายน 2540
2. ในการแปลงค่าและการรับรู้กำไรขาดทุนจากฐานะเงินตราต่างประเทศและตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ให้ถือปฏิบัติในการปิดบัญชีทุกสิ้นเดือนดังนี้
(1) ฐานะเงินตราต่างประเทศทันที ให้ธนาคารพาณิชย์ทำการแปลงค่ารายการสินทรัพย์และหนี้สินสกุลเงินต่างประเทศทุกรายการ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศในช่วงเย็นของวันสิ้นเดือนนั้น ๆ
(2) ฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับระยะเวลาคงเหลือของฐานะ/สัญญา ดังกล่าวในการประเมินมูลค่าของฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันหรือไม่ก็ได้
ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นในการคำนวณฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าให้ใช้วิธีการ Premium/Discount Amortization ส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross Currency Swap) สำหรับฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใน Banking book ได้ตามมาตรฐานการบัญชี หรือแนวปฏิบัติทางการบัญชี ที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกำหนด โดยระหว่างนี้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการอนุโลมปฏิบัติควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะใช้วิธีการทางบัญชีใหม่ที่จะออกบังคับใช้ในอนาคตด้วย
ตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นที่กล่าวในข้อ 2 (2) ให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินหามูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
(ก) ใช้ราคาตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทเดียวกัน คุณลักษณะเหมือนกัน สกุลเงินเดียวกัน และมีอายุสัญญาเท่ากับระยะเวลาคงเหลือของตราสารที่ถืออยู่ ที่เผยแพร่โดยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เช่น Bloomberg หรือ Reuters หรือ
(ข) ใช้ราคาที่คู่ค้าเสนอสำหรับตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทเดียวกันคุณลักษณะเหมือนกัน สกุลเงินเดียวกัน และมีอายุสัญญาเท่ากับระยะเวลาคงเหลือของตราสารที่ถืออยู่หรือ
(ค) ใช้ราคาที่คำนวณจากแบบจำลอง (Model) ที่น่าเชื่อถือ โดยแบบจำลองดังกล่าวต้องมีการคำนวณที่สอดคล้องกับหลักวิชาการและได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดย ผู้เชี่ยวชาญอิสระ รวมทั้ง arameters ที่ใช้ต้องสอดคล้องกับข้อมูลในตลาดที่มีการซื้อขายคล่องและเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์อาจเลือกใช้ผู้เชี่ยวชาญภายในเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง ได้ หากธนาคารพาณิชย์มีการจัดองค์กรที่เป็นอิสระระหว่างหน่วยงาน/บุคคล ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ/กำกับความเสี่ยง (เช่น Risk management committee/unit) และหน่วยงานที่เป็นผู้พัฒนา/ผู้ทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยง สำหรับกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หากแบบจำลองที่ใช้เป็นแบบจำลองเดียวกับธนาคารแม่หรือสาขาต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศที่ธนาคารแม่ตั้งอยู่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุโลมให้ใช้แบบจำลองดังกล่าวได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ
(4) ผลกำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าฐานะเงินตราต่างประเทศ หรือจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่คำนวณได้ตามข้อ (1) - (3) ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือแนวปฏิบัติทางการบัญชีไทย หรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีของต่างประเทศซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล
4. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ
หนังสือฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์
โทร. 0-2283-5843, 0-2283-5302
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะมีการจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....ณ...................
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว10-กส52001-25471123 ด
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ